ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเติบโตทางกิ่งใบของมะเกี๋ยง

Main Article Content

ธัญวรัตน์ วงเวียน
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

มะเกี๋ยง (Cleistocalyx nervosum var. paniala) เป็นไม้ผลพื้นเมืองที่เจริญเติบโตและพบมากในภาคเหนือของประเทศไทย ผลของมะเกี๋ยงสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เนื้อผลมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ในปัจจุบันการปลูกมะเกี๋ยงเชิงการค้ายังมีไม่มากนัก เนื่องจากต้นมะเกี๋ยงส่วนใหญ่ปลูกจากเมล็ด มีการเจริญเติบโตทางกิ่งใบดี ลำต้นสูง ยากต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต งานวิจัยนี้จึงทำเพื่อศึกษาผลของ    สารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งใบของต้นมะเกี๋ยง โดยเลือกต้นมะเกี๋ยงที่มีการเสียบยอดขนาดต้นสม่ำเสมอกัน อายุ 3 ปี ในแปลงปลูก ณ ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตร แม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ได้แก่การราดพาโคลบิวทราโซลทางดิน อัตรา 0 (กรรมวิธีควบคุม), 1.50, 2.50, และ 3.50 กรัมของสารออกฤทธิ์ต่อต้น ผลการทดลองพบว่าสารพาโคลบิวทราโซลทุกอัตรา ทำให้การเจริญเติบโตทางกิ่งใบของต้นมะเกี๋ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสารพาโคลบิวทราโซลอัตราสูงสุด คือ 3.50 กรัมของสารออกฤทธิ์ ทำให้ความสูงของต้นมะเกี๋ยงลดลงได้ประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม แต่ไม่ต่างจากการให้สารพาโคลบิวทราโซลอัตราอื่น ทั้งนี้ยังมีแนวโน้มทำให้ความยาวยอดใหม่ ความยาวปล้องและขนาดใบลดลงตามความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซลที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังการราดสารพาโคลบิวทราโซล แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ดังนั้นการใช้สารพาโคลบิวทราโซลสามารถควบคุมการเจริญเติบโตทางกิ่งใบของต้นมะเกี๋ยงและลดความสูงต้น ช่วยให้เกิดความสะดวกในการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของมะเกี๋ยงเชิงการค้าต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิศร์ วานิชกุล ประภาพร ตั้งกิจโชติ และ ยศกร สายสร้อย. 2553. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเติบโตทางกิ่งใบของมะละกอพันธุ์เม็กซิโก-เกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1) (พิเศษ): 537-540.

กฤษณา กฤษณพุกต์ และ ลพ ภวภูตานนท์. 2554. การชักนำการออกดอกของส้มโอพันธุ์ทองดีและขาวน้ำผึ้งด้วยสารพาโคลบิวทราโซล. รายงานฉบับสมบูรณ์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,นครปฐม. 47 หน้า.

เฉลิม จันทร์สม สุธาทิพย์ ภมรประวัติ และ อรุณพร อิฐรัตน์. 2551. แอนโทไซยานินหลักในผลมะเกี๋ยงสุก. ธรรมศาสตร์เวชสาร 8(3): 360-370.

เฉลิมชัย แสงอรุณ พาวิน มะโนชัย เสกสันต์ อุสสหตานนท์ จิรนันท์ เสนานาญ และ มนัส กัมพุกูล. 2553. การควบคุมทรงพุ่มลำไยที่ปลูกระยะชิดโดยการตัดแต่งกิ่งและการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 27(3): 1-10.

นิติพัฒน์ พัฒนฉัตรชัย. 2557. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อพัฒนาการของใบชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์-มิสไทยแลนด์. สาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 31(1): 1-12.

พีรเดช ทองอำไพ. 2537. ฮอร์โมนและสารสังเคราะห์. วิชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 196 หน้า.

ภาณุพล หงส์ภักดี. 2557. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการใช้น้ำและการเติบโตของดาวเรืองกระถาง. วารสารเกษตร 30(3): 281-289.

สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง. 2544. มะเกี๋ยงพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช. ศิลปะการพิมพ์, ลำปาง. 17 หน้า.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 หน้า.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาของพืช. จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ. 251 หน้า.

สมพร ณ นคร. 2549. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant growth regulators). คณะวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นครศรีธรรมราช. 265 หน้า.

สมพร ณ นคร. 2555. การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการชักนำการออกดอกนอกฤดูของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเงาะในอำเภอชะอวด. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่, นครศรีธรรมราช. 44 หน้า.

สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2544. สรีรวิทยาการพัฒนาการพืช. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, กรุงเทพฯ. 665 หน้า.

Abdollahi, M., S. Eshghi and E. Tafazoli. 2010. Interaction of paclobutrazol, boron and zinc on vegetative growth, yield and fruit quality of strawberry (Fragaria x Ananassa Duch. cv. Selva). Journal of Biodiversity and Environmental Sciences 4(11): 67-75.

Adato, I. 1990. Effects of paclobutrazol on avocado (Persea americana Mill.) cv. ‘Fuerte’. Scientia Hortic. 45(1-2): 105-115.

Arzani, K. and H.R. Roosta. 2004. Effects of paclobutrazol on vegetative and reproductive growth and leaf mineral content of mature apricot (Prunus armeniaca L.) Trees. Journal of Agricultural Science and Technology 6: 43-55.

Asin, L., S. Alegre and R. Montserrat. 2007. Effect of paclobutrazol, prohexadione-Ca, deficit irrigation, summer pruning and root pruning on shoot growth, yield, and return bloom, in a ‘Blanquilla’ pear orchard. Scientia Horticulturae 113(2): 142-148.

Calixto, M.P., D.B. Restituto, Q. Julita, M. Gina and P. Gerry. 2000. Regulation of flowering in ‘Carabao’ trees by paclobutrazol. Philippine Journal of Crop Science 25(1): 27-33.

Cohen,Y., D.A. Dagen, U. Adur, H. Hila and D.K. Joshua. 2013. Characterization of growth retardant effects on vegetative growth of date palm seedlings. Journal of Plant Growth Regulation 32: 533-541.

de Moraes, P.J., J.A.S. Grossi, S. de A. Tinoco, D.J.H. da Silva, P.R. Cecon and J.G. Barbosa. 2005. Ornamental tomato growth and fruiting response to paclobutrazol. (Online). Available: http://www.actahort.org/books/683/683_40. htm (March 19, 2011).

Kumar, S., S. Ghatty, J. Satyanarayana, A. Guha, B.S.K. Chaitanya and A.R. Reddy. 2012. Paclobutrazol treatment as a potential strategy for higher seed and oil yield in field-grown Camelima sativa L. Crantz. (Online). Available: http//www. biomedcentral.com/1756-0500/5/137.htm (March 13, 2012).

Lolaei. A., B. Kaviani, M.K. Raad, M.A. Rezaei and M. Maghsoudi. 2012. Effect of paclobutrazol and salinity on vegetative and sexual growth and fruit quality of strawberry (Fragaria x Ananassa Duch. cv. Selva). Annals of Biological Research 3(10): 4663-4667.

Medina-Urrutia, V. 1995. Effect of paclobutrazol and severe pruning on mango tree cv. Tommy Atkins at high densities. Proc. Florida State Horticultural Society 108: 364-368.

Rademacher, W. 2000. Growth retardants: Effect on gibberellin biosynthesis and other metabolic pathways. Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology 51: 501-31.

Rodrigue, M.C. and V. Galan. 1995. Preliminary study of paclobutrazol (PP333) effects on greenhouse papaya (Carica papaya L.) in the canary islands. Acta Horticulturae. 370: 167-171.

Saker, B.C. and M.A. Rahim. 2012. Vegetative growth, harvesting time, yield and quality of mango (Mangifera indica L.) as influenced by soil drench application of paclobutrazol. Bangladesh Journal of Agricultural Research 37(2): 335-348.

Symons, P.R.R., P.J. Hofman and B.N. Wolstenholme. 1990. Response to paclobutrazol of potted ‘Hass’ avocado trees. (Online). Available: http://www.actahort.Org/books/275/275_21.htm. (April 16, 2011).

Taya, S., C. Punvittayagul, T. Chewonarin and R. Wongpoomchai. 2009. Effect of aqueous extract from Cleistocalyx nervosum on oxidative status in rat liver. Thai Journal of Toxicology 24(2): 10-105.