ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองของไทย

Main Article Content

สุภาภรณ์ ญะเมืองมอญ
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย

บทคัดย่อ

ข้าวเหนียวดำหรือข้าวเหนียวก่ำอุดมไปด้วยสารสำคัญที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารรงควัตถุให้สีคือ แอนโทไซยานินที่อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ด ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคสำคัญหลายชนิด ทำให้ปัจจุบันข้าวเหนียวก่ำเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแปรปรวนของผลผลิต ปริมาณแอนโทไซยานินและ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ในข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมือง 19 พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ปลูกข้าวเหนียวก่ำทั้งหมดในสภาพการจัดการเดียวกัน เก็บเกี่ยวเมล็ดในระยะสุกแก่เพื่อประเมินผลผลิตและวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในข้าวกล้อง ผลการทดลองพบว่า มีความแตกต่างของผลผลิต แอนโทไซยานินและ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระระหว่างข้าวเหนียวก่ำทั้ง 19 พันธุ์ โดยมีผลผลิตอยู่ในช่วง 260 - 625 กิโลกรัม/ไร่ ปริมาณแอนโทไซยานินมีค่าอยู่ในช่วง 9.73 - 54.68 มิลลิกรัม/100 กรัม และ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมีค่าอยู่ในช่วง 251.76 - 709.38 มิลลิกรัม Trolox/100 กรัม และ 2304.6 - 6247.0 ไมโครโมล Fe(II)/100 กรัม วัดโดยวิธี DPPH และ FRAP ตามลำดับ โดยพบว่า พันธุ์ก่ำ 7677 เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิต แอนโทไซยินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ยังพบว่า การวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่วัดได้จากทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.71, p < 0.01) ในขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่วัดได้ทั้งสองวิธี แสดงให้เห็นว่า แอนโทไซยานินเป็นสารที่ทำให้เกิดสีดำในข้าวเหนียวก่ำแต่อาจจะไม่ใช่องค์ประกอบหลักของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพียงตัวเดียวในการต้านอนุมูลอิสระที่พบในข้าวเหนียวก่ำที่เป็นข้าวกล้อง น่าจะมีสารชนิดอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูอิสระอีกที่มีบทบาทสำคัญและทำหน้าที่ร่วมกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตามผลการทดลองนี้สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการศึกษากลไกการสะสมสารแอนโทไซยานินที่ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่พบในข้าวเหนียวก่ำ รวมทั้งการคัดเลือกพันธุกรรมข้าวเหนียวก่ำเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวก่ำให้มีปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงเพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ช่อแก้ว อนิลบล ปรเมศ บรรเทิง จิรวัฒน์ สนิทชน และ พัชรินทร์ ส่งศรี. 2554. การศึกษาปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ โดยใช้วิธี HPLC และ spectrophotometric. วารสารแก่นเกษตร 39 (ฉบับพิเศษ): 353-357.
วรรณภา ก๋าถ้วย เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม ศันสนีย์ จำจด และณัฏฐิณี ภัทรกุล. 2556. ผลของการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนและน้ำต่อผลผลิตและปริมาณสารแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวก่ำ 2 พันธุ์. วารสารแก่นเกษตร 41(4): 403-410.
วิทย์พงษ์ เปี้ยวงค์ ปุณเรศวร์ รัตนประดิษฐ์ สัญชัย จตุรสิทธา ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร ดำเนิน กาละดี และ พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2554. ผลของข้าวเหนียวก่ำต่อสมรรถภาพการผลิตปริมาณคอเลสเตอรอลในพลาสมาและคุณภาพซากของสุกรรุ่น-ขุน. วารสารเกษตร 27(2): 101-112.
Abdel-Aal, E-SM and P. A. Hucl. 1999. A rapid method for quantifying total anthocyanins in blue aleurone and purple pericarp wheats. Cereal Chemistry 76: 350-354.
Amarowicz, R., R. B. Pegg, P. Rahimi-Moghaddam, B. Barl and J. A. Weil. 2004. Free-radical scavenging capacity and antioxidant activity of selected plant species from the Canadian prairies. Food Chemistry 84: 51-562.
Benzie, I. F. and J. J. Strain. 1999. Ferric reducing/antioxidant power assay: Direct measure of total antioxidant activity of biological fluids and modified version for simultaneous measurement of total antioxidant power and ascorbic acid concentration. Methods in Enzymology 299: 15-27.
Giusti, M. M. and P. Jing. 2008. Analysis of Anthocyanin. Food Colorants Chemical and Founctional Properties, Boca Raton. pp. 479-497.
Lucioli, S. 2012. Anthocyanins: Mechanism of action and therapeutic efficacy. In: A Capasso (ed) Medicinal Plants as Antioxidant Agents: Understanding Their Mechanism 23 of Action and Therapeutic Efficacy, Research Signpost. India, ISBN: 978-81-308-0509-2.
Pereira-Caro, G., G. Cros, T. Yokota and A. Crozier. 2013. Phytochemical profiles of black, red, brown, and white rice from the Camargue region of France. Journal of Agricultural and Food Chemistry 61: 7976-7986.
Sompong, R., S. Siebenhandl-Ehn, G. Linsberger-Martin and E. Berghofer. 2011. Physicochemical and antioxidative properties of red and black rice varieties from Thailand, China and Sri Lanka. Food Chemistry 124: 132-140.
Somsana, P., P. Wattana, B. Suriharn and J. Sanitchon. 2013. Stability and genotype by environment interactions for grain anthocyanin content of Thai black glutinous upland rice (Oryza sativa) SABRAO Journal of Breeding and Genetics 45: 523-532.
Sutharut, J. and J. Sudarat. 2012. Total anthocyanin content and antioxidant activity of germinated colored rice. International Food Research Journal 19: 215-221.
Wang, Q., P. Han, M. Zhang, M. Xia, H. Zhu, J. Ma, M. Hou, Z. Tang and W. Ling. 2007. Supplementation of black rice pigment fraction improves antioxidant and anti-inflammatory status in patients with coronary heart disease. Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition 16: 295-301.