ผลของกากเอทานอลแห้งในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนมในโคให้นม

Main Article Content

ฉลอง วชิราภากร
จันทิรา วงศ์เณร
อนุสรณ์ เชิดทอง
กันยา พลแสน

บทคัดย่อ

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กากเอทานอลแห้งเป็นแหล่งวัตถุดิบในอาหารผสมสำเร็จ (total mixed ration, TMR) ต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ ผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบน้ำนมในโคให้นมโดยทำการศึกษาในโคนมพันธุ์ลูกผสมโฮสไตน์ฟรีเชี่ยน น้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 407 ±32 กิโลกรัม จำนวนวันให้นมเฉลี่ย 77 ±21วัน จำนวน 4 ตัว ตามแผนงานทดลองแบบ 4x4 ลาตินสแควร์ โดยโคนมได้รับสูตรอาหารผสมสำเร็จที่ใช้กากเอทานอลแห้ง 4 ระดับดังนี้  0,10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างเต็มที่ โดยสูตรอาหารผสมสำเร็จคำนวณให้มีระดับพลังงาน (2.2 เมกะแคลลอรี/กก.วัตถุแห้ง) และโปรตีน (12 เปอร์เซ็นต์) ที่เท่ากันผลการทดลองพบว่า โคนมที่ได้รับสูตรอาหารผสมสำเร็จทั้ง 4 สูตรมีปริมาณการกินได้ของอาหารในโคนมมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ และคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เยื่อใย (non-fiber carbohydrate, NFC) มีค่าลดลงเป็นเส้นตรงและแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.01) อย่างไรก็ตาม สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของไขมันมีค่าเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของกากเอทานอลแห้งในสูตรอาหารผสมสำเร็จที่เพิ่มสูงขึ้น (P<0.01) ผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบน้ำนม (โปรตีนนม น้ำตาลแลคโตส ของแข็งไม่รวมไขมันและของแข็งทั้งหมด) ของโคนมที่ได้รับสูตรอาหารผสมสำเร็จทั้ง 4 สูตร มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ไขมันนมเพิ่มสูงขึ้นเป็นเส้นตรงเมื่อระดับของกากเอทานอลแห้งในสูตรอาหารผสมสำเร็จเพิ่มสูงขึ้น (P<0.01) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สามารถใช้กากเอทานอลแห้งในสูตรอาหารผสมสำเร็จได้ในระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตน้ำนม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กล้าณรงค์ ศรีรอต และเกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ. 2550.เทคโนโลยีแป้ง.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพ. 303 หน้า.
ฉลอง วชิราภากร. 2541. โภชนะศาสตร์และการให้อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องเบื้องต้น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.
ฉลอง วชิราภากร นิโรจน์ ศรสูงเนิน อนุสรณ์ เชิดทอง กันยา พลแสน และจันทิรา วงศ์เณร. 2557. การใช้ประโยชน์ของกากเอทานอลแห้งจากมันสำปะหลังจากโรงงานผลิตเอทานอลในสูตรอาหารสำหรับโคนม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณรกมล เลาร์รอดพันธ์ โชค มิเกล็ด ณัฐพล จงกสิกิจ จิรวัฒน์พัสระ เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ วิสูตร ศิริณุพงษษนันท์ และอำพล วริทธรรม. 2556. ผลของระดับการให้กากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพะ. วารสารเกษตร 29(1): 89-98.
ณิฐิมา เฉลิมแสน ประวีร์ วิชชุลตา พรศรี ชัยรัตนายุทธ์ สมจิต สุรพัฒน์ สิรินทร์พร สินธุวณิชย์ และอรุณี อิงศากุล. 2546. อิทธิพลของวัตถุกันเสียต่อผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและจำนวนโซมาติคเซลล์ในน้ำนมดิบ.การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 41. คณะเกษตรศาสตร์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
เทอดศักดิ์ ปุระมงคล. 2541. ผลของอาหารหยาบและวิธีการให้อาหารผสมสำเร็จรูปต่อปริมาณน้ำนมและองค์ประกอบของน้ำนมในโคนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาขอนแก่น.
ปิ่น จันจุฬา พัชรินทร์ ภักดีฉนวน และสธุา วัฒนสิทธิ์. 2558. ผลของระดับกลีเซอรีนดิบในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถภาพ การผลิต องค์ประกอบทางเคมี และปริมาณกรดไขมัน ในกล้ามเนื้อของแพะขุน. วารสารเกษตร 31(2): 121-134.
ปิ่น จันจุฬา และเมธา วรรณพัฒน์. 2546. บทบาทของอาหารเยื่อใยต่อกระบวนการหมักในรูเมนปริมาณการกินได้ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนมในโครีดนม. วารสารโคนม 20(1): 8-22.
ประวีร์ วิชชุลตา. 2546. สถานภาพองค์ประกอบน้ำนมดิบในประเทศไทย. ในจันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, (บรรณาธิการ).น้ำนมโคคุณภาพสู่ผู้บริโภค. เอกสารสรุปการประชุมวิชาการโคนม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.
พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ ปิตุนาถ หนูแสน และวิศิษฐิพร สุขสมบัติ. 2549. ผลการใช้กากมันสำปะหลังต่อผลผลิตโคนม. ใน: ประชุมวิชาการโคนม 21-22 สิงหาคม พ.ศ. 2549. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พีระพร เส่งถิน ฉลอง วชิราภากร นิโรจน์ ศรสูงเนิน และสุภาพร แซ่เตียว. 2551. ผลของระดับของกากมันจากการผลิตกรดซิตริคร่วมกับฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตของโคนม. ใน:การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 4 การรุกคืบของการผลิตพลังงานทดแทนต่อการผลิตปศุสัตว์; 31 ม.ค. 2551 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; หน้า 63-67.
พีรพจน์ นิติพจน์. 2547. ผลการใช้กากมันสำปะหลังเป็นแหล่งอาหารพลังงานทดแทนมันสำปะหลังเส้นในสูตรอาหารข้นต่อกระบวนการหมักในกระเพาะหมัก ความสามารถในการย่อยได้ และการเจริญเติบโตในโคนมรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วราพันธุ์ จินตณวิชญ์ สุกัญญาจัตตุพรพงษ์ และอุทัย คันโธ. 2551. การศึกษาองค์ประกอบเศษเหลือจากการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลังเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นปุ๋ยสําหรับพืช. ศูนย์ค้นคว้าและ พัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
วิศิษฐิพร สุขสมบัติ. 2542. ผลผลิตโคนมในช่วงกลางระยะให้นมที่ได้รับอาหารรวมต่าง ๆ. ในรายงานการประชุมสัมมนาวิชาการเกษตรภาคเหนือ สาขาวิชาสัตวบาล/สัตวศาสตร์/สัตวแพทย์ ครั้งที่ 2. ณ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2547. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. มกอช. 6001-2547. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555. เอกสารสถิติการเกษตรเลขที่ 401. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
AOAC. 1985. Official Methods of Analysis (15th Ed.). The Association of Official Analytical Chemistry, Washington, D.C. : USA.
Beauchemin, K. A., B. I. Farr, L. M. Rode and G. B. Schaalje. 1994. Optimum of dietary neutral detergent fiber concentration of barley-based diets for lactating dairy cows. Journal of Dairy Science 77:1013.
Chen, X. B., and M. J. Gomes. 1992. Estimation of microbial protein supply to sheep and cattle based on urinary excretion of purine derivatives- an overview of the technical details. International Feed Resources Unit, The Rowett Research Institute. Occational Publication.
Goering, H. K., and P. J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagent, Procedures and some Application). Agric. Handbook. No. 397, ARS, USDA, Washington D.C.
Hino, T., and J. B. Russell. 1986. Relative contributions of ruminal bacteria and protozoa to the degradation of protein in vitro. Journal of Animal Science 64: 261-273.
Jensen, R. G. 2002. The composition of bovine milk lipids: January 1995 to December 2000. Journal of Dairy Science 85: 295-350.
Michel, D., and C. Yves. 1997. Digestion and metabolism of dietary fat in farm animals. British Journal of Nutrition 78: 515-539.
Newbold, C. J., R. J. Wallce, and N. McKian. 1990. Properties of ionophoretetronasin on nitrogen metabolism by ruminal microorganisms in vitro. Journal of Animal Science 68: 1103-1110.
NRC. 2001. Nutrient Requirements for Dairy Cattle. 7th revised edition, National Academic Press, Washington, DC.
Ruppert, L. D., J. K. Drackley, D. R. Bremmer, and J.H. Clark. 2003. Effects of tallow in diets based on corn silage or alfalfa silage on digestion and nutrient use by lactating dairy cows. Journal of Dairy Science 86: 593-609.
Ruiz, T. M., E. Bernal, C. R. Staples, L. E. Sollenberger and R. N. Gallaher. 1995. Effect of neutral detergent fiber concentration and forage source on performance of dairy cows. Journal of Dairy Science 78: 305.
SAS. 1985. User's Guide:Statistic. SAS. Inst Cary, NC.
Schneider, B. H., and W. P. Flatt. 1975. The Evaluation of Feed through Digestibility Experiment. Athens: The University of Georgia Press, Georgia: USA.
Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics. 2nd edition, McGraw-Hill Book Co., New York.
Stokes, S. R., W. H. Hoober, T. K. Miller, and R. P. Manski. 1991. Impact of carbohydrate and protein levels on bacteria metabolism in continuous culture. Journal of Dairy Science 44: 806-811.
Van Keulen, J., and B. A. Young. 1977. Evaluation of acid insoluble ash as a neutral marker in ruminant digestibility studies. Journal of Animal Science 44: 282.
Varga, G. A. and F. Hoover. 1983. Rate and extent of neutral detergent fiber degradation of feedstuffs in situ. Journal of Dairy Science 66: 2109.
Wachirapakorn, C., P. Parmaluk, M. Wanapat, P. Pakdee and A. Cherdthong. 2014. Effects of levels of crude protein and ground corn cobs in total mixed ration on intake, rumen fermentation and milk production in crossbred Holstein Friesian lactating dairy cows. Journal of Applied Animal Research 42: 263-268.
Wallace, R. J. and C. A. McPherson. 1987. Factors affecting the rate of breakdown of bacterial protein in rumen fluid. British Journal of Nutrition 58: 313-323.
Wallace, R. J. and M. A. Cotta. 1988. Metabolism of nitrogen-containing compound. In: Hopson, P. J. (ed.), The Rumen Microbial Ecosystem, London. UK.
Wallace, R. J., R. Onogera and M. A. Cotta. 1997. Metabolism of nitrogen containing compounds. In: Hobson, P. N., and C. S. Stewart. Blackie Academic and Professional (eds.), The Rumen Microbial Ecosystem, London. UK.