ความหลากหลายของแมลงและแมงมุม ในนาข้าวเขตชลประทานจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

วีรยุทธ สร้อยนาค
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
สมชาย ธนสินชยกุล
วิชัย สรพงษ์ไพศาล
คณิตา เกิดสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายของแมลงและแมงมุมในพื้นที่นาข้าวเขตชลประทานจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงกันยายน พ.ศ. 2555 ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างแมลงและแมงมุม ด้วยแผนการสุ่มแบบสุ่มธรรมดา โดยใช้สวิงโฉบ 30 ครั้งต่อจุด จำนวน 3 จุด จากพื้นที่แปลงนาเกษตรกร ในข้าวระยะแตกกอ จำแนกชนิด ความสำคัญ และตรวจนับจำนวน เปรียบเทียบสัดส่วนแมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูธรรมชาติ และแมงมุมศัตรูธรรมชาติ วิเคราะห์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการกระจายตัว ของ Shannon-Wiener ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของแมลงและแมงมุมที่สำรวจพบกับปัจจัยทางกายภาพ คือ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และปริมาณน้ำฝน และปัจจัยทางชีวภาพคือ ศัตรูธรรมชาติ ผลการศึกษาพบแมลงและแมงมุมที่สำคัญ จำนวน 78 ชนิด จำแนกได้เป็นแมลงศัตรูข้าว จำนวน 6 อันดับ 12 วงศ์ จำนวน 24 ชนิด แมลงศัตรูธรรมชาติ 6 อันดับ 27 วงศ์ จำนวน 47 ชนิด และแมงมุมศัตรูธรรมชาติ 1 อันดับ 4 วงศ์ จำนวน 7 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H) และดัชนีการกระจายตัว (EH) ของ Shannon-Wiener ของแมลงและแมงมุมทั้งหมด เท่ากับ 2.53 และ 0.58 ตามลำดับ โดยในส่วนของแมลงศัตรูข้าวมีค่าเท่ากับ 1.47 และ 0.46 ตามลำดับ ในขณะที่แมลงศัตรูธรรมชาติและแมงมุมมีค่าเท่ากับ 2.24 และ 0.56 ตามลำดับ จำนวนแมลงศัตรูข้าวไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางกายภาพ แต่มีความสัมพันธ์ (r) กับ จำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติสูงถึงร้อยละ 65.9

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรีชา วังศิลาบัตร. 2542. การระบาดเพิ่ม (resurgence) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหลังการใช้สารฆ่าแมลง. วารสารกีฏและสัตววิทยา 21(4): 266-275.
พิทักษ์ เจริญผล. 2551. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน. สำนักงานเกษตรอำเภอห้วยแถลง, นครราชสีมา. 10 หน้า.
พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2551. โรคและแมลงของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 379 หน้า.
วนิช ยาคล้าย ปรีชา วังศิลาบัตร สุวัฒน์ รวยอารีย์ เฉลิม สินธุเสก และเฉลิมวงศ์ ถิระวัฒน์. 2540. สำรวจการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าว. หน้า 241-249. ใน: เอกสารวิชาการ: การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน. กองกีฏและ สัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ สุกัญญา อรัญมิตร และจินตนา ไชยวงศ์. 2554. สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทย. วารสารวิชาการข้าว 5(1): 79-89.
วันทนา ศรีรัตนศักดิ์. 2553. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล: ศัตรูข้าวตัวฉกาจของการปลูกข้าวนาชลประทานและมิติใหม่ของการจัดการ. วารสารวิชาการข้าว 4(1): 72-82.
วิกันดา รัตนพันธ์. 2555. ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงประชากรของแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติในนาข้าวจังหวัดพัทลุง. ใน: เอกสารประกอบรายงานการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10. 22-24 กุมภาพันธ์ 2555. ณ โรงแรมคุ้มภูคำ เรสซิ-เดนซ์, เชียงใหม่.
วิชัย สรพงษ์ไพศาล สมชาย ธนสินชยกุล วงค์พันธ์ พรหมวงค์ ภราดร ดอกจันทร์ และฉัตรมณี วุฒิสาร. 2554. ความหลากหลายชนิดของแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในระบบการผลิตข้าวแบบอินทรีย์. วารสารเกษตร 27(1): 39-48.
วีรยุทธ สร้อยนาค วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และ สมชาย ธนสินชยกุล. 2556. ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 29(3): 231-238.
สำนวน ฉิมพกา และ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.
สำนักชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก. 2552. ประวัติเขื่อนนเรศวร. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://irrigation3.wordpress.com/2009/01/29/ประวัติเขื่อนนเรศวร (11 พฤศจิกายน 2557).
สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2554. การจัดการแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 262 หน้า.
Abrams, P. A. 2000. The evolution of predator-prey interactions: theory and evidence. Annual Review of Ecology, Evolution, and Systematics 31: 79-105.
Asahina, S. 1993. A List of Odonata from Thailand. Bosco Offset, Bangkok. 106 p.
Berryman, A. A. 1981. Population Systems: A General Introduction. Plenum Press, New York. 222 p.
Finklestein, L. and E. R. Carson. 1985. Mathematical Modeling of Dynamic Biological Systems. John Wiley & Sons, New York. 355 p.
Heong, K. L. and K. Sogawa. 1994. Management strategies for insect pests of rice: critical issues. pp. 3-14. In: P.S. Teng, K. L. Heong and K. Moody (eds.). Rice Pest Science and Management. IRRI. Los Banos. Laguna.
Heong, K. L., G. B. Aquino and A. T. Barrion. 1991. Arthropod community structures of rice ecosystems in the Philippines. Bulletin of Entomological Research 81: 407-416.
Hill, D. S. 1996. The Economic Importance of Insects. Chapman & Hall, London. 395 p.
Huffaker, C. B. and R. L. Rabb. 1984. Ecological Entomology. John Wiley & Sons, New York. 844 p.
Hutacharern, C., N. Tubtim and C. Dokmai. 2007. Checklists of Insects and Mites in Thailand. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. 319 p.
Liss, W. J., L. J. Gut, P. H. Westigard and C. E. Warren. 1986. Perspectives on arthropod community structure, organization, and development in agricultural crops. Annual Review of Entomology 31: 455-478.
Odum, H. T. 1983. Systems Ecology. John Wiley & Sons, New York. 510 p.
Ooi, P. A. C. and B. M. Shepard. 1994. Predators and parasitoids of rice insect pests. pp. 585-612. In: E. A. Heinrich (ed). Biology and Management of Rice Insect Pests, Wiley Eastern Ltd., New Delhi.
Price, P. P. 1997. Insect Ecology. John Wiley & Sons, New York. 874 p.