ผลของการลดอุณหภูมิโดยวิธีผ่านอากาศเย็นต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลสตรอเบอรีพันธุ์พระราชทาน 72

Main Article Content

กิตติศักดิ์ เรือนมา
พิชญา บุญประสม
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการลดอุณหภูมิโดยวิธีผ่านอากาศเย็นต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 72 ได้ถูกทำการศึกษา โดยการลดอุณหภูมิผลสตรอเบอรีให้เหลือ 4 องศาเซลเซียส แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0, 5, 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง (25±1 องศาเซลเซียส) พร้อมกับคำนวนหาค่า cooling parameters จากข้อมูลของการทดลอง พบว่า lag factor มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.9396 ค่า half cooling time, seven-eighths cooling time และค่า cooling coefficients มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.83, 35.33 นาที และ 0.07 ต่อนาที ตามลำดับ และเมื่อเก็บรักษานาน 2 วัน พบว่า ผลสตรอเบอรีที่ผ่านการลดอุณหภูมิมีความแน่นเนื้อ และปริมาณวิตามินซีมากกว่า ผลสตรอเบอรีที่ไม่ผ่านการลดอุณหภูมิ แต่มีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้น้อยกว่า และการลดอุณหภูมิไม่มีผลต่ออายุการเก็บรักษา หารสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณแอนโธไซยานิน ผลสตรอเบอรีที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องมีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด มีปริมาณแอนโธไซยานินสูงที่สุด มีความแน่นเนื้อน้อยที่สุด ผลสตรอเบอรีซึ่งเก็บรักษาที่อุฯหภูมิ 0 องศาเซลเซียส มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด คือ 14 วันและมีปริมาณวิตามินซีมากที่สุดอุณหภูมิที่ใช้เก็บรักษาไม่มีผลต่อปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ อัตราการหายใจของผลสตรอเบอรีที่ผ่านกระบวนการลดอุณหภูมิ และไม่ผ่านกระบวนการลดอุณหภูมิ มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2544. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.

นิธิยา รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุณยเกียรติ. 2533. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้เศรษฐกิจ. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 213 หน้า.

สังคม เตชะวงค์เสถียร. 2532. สตรอเบอรี่. เอกสารประกอบการสอนวิชา 113422 การผลิตไม้ผลเขตกึ่งร้อน. คณะเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี. 33 หน้า.

สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม. 364 หน้า.

Agar, T,. S. Paydas, O. Ozkaya, O. Buyukalaca and F. Ekinci. 2006. Effect of harvest dates and forced air cooling on postharvest quality of apricot cv. Precoce de Tyrinthe. Acta Hort. (ISHS) 701: 577-580.

DeEll, J.R. 2006. Postharvest handling and storage of strawberries. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่ข้อมูล: http://www.omafra.gov.on.ca/hort/news/hortmatt/2006/13hrt06a4.htm (17 สิงหาคม 2549).

Nunes, M.C.N., J.K. Brecht, A.M.M.B. Morias and S.A. Sargent 1995a. Physical and quality characteristics of strawberries after storage are reduced by a short delay to cooling. Postharvest Biology and Technology 6: 17-28.

Nunes, M.C.N., J.K. Brecht, S.A. Saegent and A.M.M.B. Morias. 1995b. Effects of delays to cooling and wrapping on strawberry quality (cv. Sweet Charlie). Food Control, 6(6): 323-328.

Ranganna, S. 1986. Handbook of Analysis and Quality Control for Fruit and Vegetable Products. Tata McGraw-Hill Publishing Company Inc., New Delhi. 1112 pp.

Smith, L. 1995. Calculations for Research Experiments Using Stored Fruits Volume l. Queensland Department of Postharvest Industries Horticulture Group, Hamilton, Queensland, Australia. 34 pp.