ผลของเชื้อแอกติโนไมซีสจากดินต่อการเจริญของเชื้อรา <I>Colletotrichum gloeosporioides</I> สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของสตรอว์เบอร์รีที่ต้านทานต่อคาร์เบนดาซิม

Main Article Content

วรุตม์ ใจปิน
สรัญยา ณ ลำปาง

บทคัดย่อ

เก็บรวบรวมเชื้อรา Colletotrichum sp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของสตรอว์เบอร์รีจากแปลงปลูกในเขตอำเภอ   สะเมิง อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จำนวน 63 ไอโซเลท เมื่อทดสอบความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม พบเชื้อราที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราระดับสูง (HR) ระดับต่ำ (WR) และอ่อนแอต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (S) จำนวน 31, 5 และ 27 ไอโซเลท ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสจำนวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ซึ่งเป็นเชื้อแอกติโนไมซีสที่แยกจากดินบริเวณป่าอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ไอโซเลท Cg_MCL8 ซึ่งเป็นตัวแทนของเชื้อราในกลุ่มสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมระดับสูง (HR) โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อแอกติโนไมซีสทั้ง 6 ไอโซเลท มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราอยู่ในช่วง 76.18-79.52 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ  แอกติโนไมซีสที่เลี้ยงในอาหารเหลวในรูปของ cell suspensions และ culture filtrate ในการยับยั้งการงอกสปอร์ของ เชื้อราด้วยวิธี slide culture พบว่าเมื่อผ่านไป 6 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราอยู่ในช่วง 52.38-67.16 และ 51.10-61.69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยังพบว่าเชื้อแอกติโนไมซีสที่เลี้ยงในอาหารเหลวในรูปของ cell suspensions และ culture filtrate มีผลในการช่วยชะลอการงอกของ germ tube ซึ่งความยาวของ germ tube ในชุดทดสอบมีความยาวเท่ากับ 117.66 และ 133.90 µm ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุมซึ่งมีความยาว germ tube เท่ากับ 261.90 µm อีกทั้งยังมีผลทำให้การงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุโรคมีลักษณะผิดปกติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2541. สตรอเบอรี่. กองเกษตรสัมพันธ์ กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 36 หน้า.
เกษม สร้อยทอง. 2532. การควบคุมโรคโดยชีววิธี. คณะเกษตรและเทคโนโลยีการอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 326 หน้า.
ชิงชัย ไชยศิริ. 2553. ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนมัยซีสในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. capsici สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 81 หน้า.
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงค์. 2543. สตรอเบอรี่: พืชเศรษฐกิจใหม่. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 158 หน้า.
ณัฐพงษ์ นวลดี. 2553. การวิเคราะห์พันธุกรรมและควบคุมเชื้อรา Cercospora spp. ที่ต้านทานสารคาร์เบนดาซิมโดยใช้เชื้อแอคติโนมัยซีส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 164 หน้า.
ธรรมศักดิ์ สมมาตย์. 2543. สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. 371 หน้า.
พรนภา โทตรี ชาติชาย โขนงนุช และสรัญยา ณ ลำปาง. 2554. ประสิทธิภาพของน้ำเลี้ยงเชื้อแอกติโนมัยซีสในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum sp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร(พิเศษ) 42: 163-166.
พรประพา คงตระกูล และสรัญยา ณ ลำปาง. 2553. ลักษณะของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ที่ต้านทานสารคาร์เบนดาซิม. วารสารเกษตร 26(3): 203-212.
วรรษมน บุญยิ่ง. 2553. การวิเคราะห์ลักษณะและควบคุมเชื้อรา Colletotrichum spp. ที่ต้านทานสารป้องกันกำจัด เชื้อราคาร์เบนดาซิมในพริก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 180 หน้า.
El-tarabily, K. A., M. H. Soliman, A. H. Nassar, H. A. Al-Hassani, K. Sivasithamparam, F. McLenna and G. E. St. J. Hardy. 2000. Biological control of Sclerotinia minor using a chitinolytic bacterium and actinomycetes. Plant Pathology 49: 573-583.
Koenraadt, K., S. C. Somerville and A. L. Jones. 1992. Characterization of mutations in the beta-tubalin gene of benomyl-resistance field isolation of Venturia inaequqlis and other plant pathogenic fungi. Phytopathology 82(11): 1342-1354.
Ma, Z. and T. J. Michailides. 2005. Advance in understanding molecular mechanism of fungicides resistance and molecular detection of resistance genotype in phytopathogenic fungi. Crop Protection 24: 853-864.
Mass, J. K. 1988. A Compendium of Strawberry Disease. The American Phytopathological Socity. St. Pual, Minnesota. 98 p.
Peres, N. A. R., N. L. Souza, T. L. Peever and L. W. Timmer. 2004. Benomyl sensitivity of isolation of Colletotrichum acutatum and C. gloeosporioides from citrus. Plant Disease 88(2): 125-130.
Soares, A. C. F., C. S. Soua, M. S. Garriodo, J. O. Perea and N.S. Almeida. 2006. Soil Streptomycetes with in vitro activity against the yam pathogen Curvularia eragrostides and Colletotrichum gloeosporioides. Journal of Brazilian of Microbiology 37: 451-461.
Sutton, B. C. 1980. The Coelomycetes: Fungi Imperfecti with Pycnidia Acervuli and Stromata. Commonwealth Mycological Institute. Kew, UK. 696 p.
Suwan, N., W. Boonying and S. Nalumpang. 2012. Antifungal activity of soil actionomycetes to control chilli anthracnose caused by Colletotrichum gloeosporioides. Journal of Agricultural Technology 8(2): 725-737.
Takizawa, M., R. R. Colwell and R. T. Hill. 1993. Isolation and diversity of actinomycetes in the Chesapeake Bay. Applied and Environmental Microbiology 59: 997-1002.
Tashiro, N., K. Manabe and Y. Ide. 2012. Emergence and frequency of highly benzimidazole-resistance Colletotrichum gloeosporioides, pathogen of Japanese pear anthracnose, after discontinued use of benzimidazole. Journal of General Plant Pathology 78: 221-226.