การอุดตันของท่อลำเลียงในก้านดอกกล้วยไม้ บัวหลวง และพุทธรักษา

Main Article Content

ปรียาภรณ์ ลี้ธิติ
ลพ ภวภูตานนท์
วชิรญา อิ่มสบาย

บทคัดย่อ

ปัญหาสำคัญของไม้ตัดดอก คือ มีอายุปักแจกันสั้นและเสื่อมคุณภาพเร็ว อาจเนื่องจากดอกไม้เกิดการขาดน้ำ โดยเกิดจากการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำ ซึ่งมีด้วยกันหลายสาเหตุ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำในไม้ดอกสามชนิด ได้แก่ ดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์ขาวสนาน ดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์และดอกพุทธรักษา พบว่าจากการตัดก้านดอกในอากาศหรือใต้น้ำ หรือทิ้งให้ขาดน้ำ 1 ชั่วโมง ก่อนปักแจกันในน้ำกลั่น ไม่ได้ทำให้ดอกไม้มีอัตราการดูดน้ำแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าฟองอากาศไม่ได้เป็นสาเหตุของการอุดตันท่อลำเลียงในดอกไม้เหล่านี้ เมื่อปักแจกันในสารละลาย 8-hydroxyquinoline sulfate (HQS; 200 mg/L)  พบว่าดอกกล้วยไม้มีอัตราการดูดน้ำสูงกว่าการปักแจกันในน้ำกลั่น  ขณะที่ดอกบัวหลวงและดอกพุทธรักษามีอัตราการดูดน้ำและอายุปักแจกันไม่แตกต่างกัน ส่วนการปักแจกันดอกไม้ทั้งสามชนิดในสารละลายที่มีสารยับยั้งการสร้างสารประกอบฟีนอล ได้แก่ S-carvone (0.032-0.636 mM), tropolone (0.25 และ 0.5 mM) และ 4-hexylresorcinol (4-400 µM) และ amitol (1, 2, 3, 5 และ 10 mM)  พบว่าดอกไม้ทั้งสามชนิดมีอัตราการดูดน้ำและอายุปักแจกันไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น ยกเว้นดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในสารละลาย 4-hexylresorcinol และ amitol ที่มีอายุปักแจกันนานกว่าการปักแจกันในน้ำกลั่น แสดงให้เห็นว่าการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำในดอกกล้วยไม้อาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับการสร้างสารประกอบฟีนอล ขณะที่การอุดตันของท่อลำเลียงน้ำของดอกบัวหลวงและดอกพุทธรักษาอาจไม่ได้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ และการสร้างสารประกอบฟีนอลบริเวณ รอยตัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญเกื้อ หาราชัย. 2537. การเปรียบเทียบสูตรสารละลายปักแจกันเพื่อยืดอายุการใช้งานดอกบัว. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 29 หน้า.
เพชรรัตน์ เนตรลักษณ์. 2550. การลดน้ำยางและลดการคายน้ำของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 37 หน้า.
ผานันท์ กลัดภาษี และ สุธารัตน์ ประภารัตน์. 2540. การใช้เทคนิคพิเศษลดน้ำยางที่ก้านดอกบัวหลวงพันธุ์บุณฑริก (Nelumbo nucifera Gaerth.). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. สาขาวิชาพืชสวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
สายชล เกตุษา. 2531. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้. บริษัทสารมวลชน จำกัด, กรุงเทพฯ. 291 หน้า.
อุบล ชินวัง และ สุนทรี สังกะเพศ. 2554. อายุการปักแจกัน และการอุดตันของท่อลำเลียงน้ำในก้านดอกกุหลาบพันธุ์เรดมาสเตอร์พีช. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (พิเศษ) มกราคม-เมษายน 54. 333-336 หน้า.
Damunupola, J. W., T. Quin, R. Muusers, D. C. Joyce, D. E. Irving, U. V. Meeteren. 2010. Effect of S-carvone on vase life parameters of selected cut flower and foliage species. Postharvest Biology and Technology 55: 66-69.
Evans, R. Y., J. Zheng and M. S. Reid. 1996. Structural and environmental factors affecting the postharvest life of cut roses. Acta Horticulturae 424: 169-173.
He, S., D. C. Joyce, D. E. Irving, J. D. Faragher. 2006. Stem end blockage in cut Grevillea ‘Crimson Yul-lo’ inflorescences. Postharvest Biology and Technology 41: 78-84.
Imsabai, W., P. Leethiti, P. Netlak and W. G. van Doorn. 2013. Petal blackening and lack of bud opening in cut lotus flowers (Nelumbo nucifera): Role of adverse water relations. Postharvest Biology and Technology 79: 32-38.
Loubaud, M. and W. G. van Doorn. 2004. Wound-induced and bacteria-induced xylem blockage in roses, Astilbe and Viburnum. Postharvest Biology and Technology 34: 281-288.
Ketsa, S. and N. Kosonmethakul. 2001. Prolonging vase life of Dendrobium flowers: The substitution of aluminum sulfate and cobalt chloride for silver nitrate holding solution. Acta Horticulturae 534: 41-44.
van Doorn, W. G. 1997. Water relation of cut flowers. Horticultural Reviews 18: 1-85.
van Doorn, W. G. and N. Vaslier. 2002. Wounding-induced xylem occlusion in stems of cut Chrysanthemum flowers: roles of peroxides and cathechol oxidase. Postharvest Biology and Technology 26: 275-284.
Vaslier, N. and W. G. van Doorn. 2003. Xylem occlusion in bouvardia flowers: evidence for a role of peroxidase and cathechol oxidase. Postharvest Biology and Technology 28: 231-237.