ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาวปกาเกอะญอในโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยแบแล อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พงศ์วิชญ์ กันทะวงศ์
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาวปกาเกอะญอกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนชาวปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในหมูบ้านขุนอมแฮด หมู่ที่ 5 ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 219 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสูด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนชาวปกาเกอะญอส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 73.1) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 32.9) ไม่ได้เรียนหนังสือ (ร้อยละ84.5) มีความรู้ความเข้าใจในภาษาระดับปานกลาง ส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 61.2 เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ทำการเกษตรจำนวน 1-2 คน ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ (ร้อยละ 48.4) แหล่งที่มาของรายได้หลักคือเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 87.7 มีรายได้เฉลี่ย 3,001-4,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 72.6)  มีขนาดพื้นที่ถือครองมากที่สุด 1 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.9 การศึกษาด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาวปกาเกอะญอทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การปลูกป่า การป้องกันรักษาป่า การป้องกันไฟป่าและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาวปกาเกอะญอพบว่าโดยภาพรวมในด้านการปลูกป่าการป้องกันรักษาป่าและการป้องกันไฟป่ามีส่วนร่วมในระดับปานกลาง ในด้านการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พบว่า ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับน้อยเนื่องจาก มีการศึกษาน้อยและมีความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ป่าน้อย ความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยมีไม่มากทำให้การสื่อสารลำบาก จึงทำให้ประเด็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีระดับการมีส่วนร่วมน้อย ผลการทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม พบว่า อายุ ตำแหน่งทางสังคมและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศแก้ว เจริญวิริยะภาพ. 2545. รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาคมในการสร้างเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 171 หน้า.
กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. 2535. สถิติวิจัยและประเมินผลการศึกษา. สำนักเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ. 287 หน้า.
จำเนียร โกมลวานิช. 2553. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานในเขตจัดรูปที่ดิน ด้านการบริหารจัดการการใช้น้ำ: ศึกษากรณี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี วิทยานิพนธ์สาขาสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 150 หน้า.
ชุมพล ชัยชนะ. 2544. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารทรัพยากรป่าไม้.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.151 หน้า.
ชูเกียรติ ลีสุวรรณ. 2531. การให้ความรู้ความเข้าใจแบบมีส่วนร่วมในระดับตำบลในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดลำปาง. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 24-30.
ไพบูลย์ สุทธสุภา วรทัศน์ อินทรัคคัมพร และกฐิน ศรีมงคล. 2546. ส่วนร่วมของเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้งและกะเหรี่ยงในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 19(3) : 259-266.
มงคล จันทร์ส่อง. 2544. การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์.กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารทรัพยากรป่าไม้. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 87 หน้า.
วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์. 2536. สิทธิชุมชน: การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากร. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพฯ. 502 หน้า
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546 ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12 เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง. กรุงเทพฯ. 681หน้า.