ผลกระทบของการเปิดเขตการค้าเสรี ไทย-จีน ต่อเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ธนสิน เด่นเจริญกุล
รุจ ศิริสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และสภาพการผลิตกระเทียมของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ผลกระทบของการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน ต่อเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจำนวน 142 ราย จากการศึกษาผลกระทบของการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน ต่อเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในแต่ละด้านพบว่าด้านกระบวนการผลิต ได้รับผลกระทบคือ พื้นที่เพาะปลูกกระเทียมในแต่ละฤดูกาลลดน้อยลง จำนวนผลผลิตกระเทียมที่ได้ลดน้อยลง เนื่องจากการลดปริมาณพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร  เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงมากขึ้นและการแปรรูปกระเทียมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการจำหน่ายมีการปรับตัวลดน้อยลง เพราะเกษตรกรมุ่งให้ความสำคัญกับการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพื่อเพิ่มน้ำหนักกระเทียมจึงไม่ให้ความสำคัญกับการแปรรูปกระเทียมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการจำหน่าย ด้านการตลาดได้รับผลกระทบในด้านราคารับซื้อกระเทียมสดในตลาด พบว่าราคารับซื้อกระเทียมแห้งในตลาด และราคากระเทียมภายหลังจากที่กระเทียมจีนเข้ามาตีตลาด มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการลักลอบนำเข้ากระเทียมจีนเข้ามายังตลาดในประเทศ ทำให้ราคากระเทียมมีความผันผวน เพราะต้นทุนการผลิตกระเทียมจีนต่ำกว่าต้นทุนการผลิตกระเทียมไทยมาก ด้านเศรษฐกิจ พบว่ารายได้จากการเพาะปลูกกระเทียมของเกษตรกรลดลงและการชดเชยเงินของภาครัฐมีเพียงครั้งเดียวในปีแรกที่มีการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน เท่านั้น เกษตรกรให้ความเห็นว่าการลดปริมาณพื้นที่เพาะปลูกส่งผลให้รายได้ลดน้อยลง ส่วนด้านคุณภาพชีวิตพบว่าเกษตรกรมีความเครียดทางด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรายได้จากการเพาะปลูกกระเทียมที่ลดลงสำหรับด้านสังคมนั้นพบว่าเกษตรกรได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีนในระดับน้อยถึงไม่ส่งผลกระทบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร แก้วศักดา. 2547. ผลกระทบจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีนต่อรูปแบบการค้าสินค้าผัก-ผลไม้ของไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร. 99 หน้า.
กรมการค้าภายใน. 2556. คาดกระเทียมลักลอบนำเข้าทั่วประเทศมีกว่า 3 แสนตัน. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.thaigov.go.th/en/ news-ministry/item/18152-.html. (27 มิถุนายน 2556).
กลุ่มศึกษาข้อตกลงการค้าเสรี. 2547. การค้าเสรีไทย-จีน ใครเก็บเกี่ยวผลประโยชน์.(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ftawatch.org/all/ article/17945. (8 มิถุนายน 2556).
ชูเพ็ญศรี วงศ์พุทธา. 2548. สถิติประยุกต์เพื่องานวิจัย: วิเคราะห์สถิติแยกกลุ่มหลายตัวแปร เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ห้องปฏิบัติการวิจัยประชากรฯ. 212 หน้า.
ตลาดไท ตลาดกลางสินค้าเกษตรแห่งประเทศไทย. 2556. ราคาขายส่งสินค้า. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.talaadthai.com/ price/default.php?gettid=5. (8 มิถุนายน 2556).
ธนกร ช่วยค้ำชู. 2549. ผลการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน ที่มีต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดหอม ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่.105 หน้า.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ และ สยมชัย สิงหรา ณ อยุธยา. 2541. การใช้สารกำจัดวัชพืช Haloxyfop-R-methyl Ester ในไร่กระเทียม. วารสารเกษตร 14(1): 10-18.
รัชนีกร ปัญญา. 2544. ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกกระเทียมของเกษตรกร ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 94 หน้า.
โลจิสติกส์ไดเจสต์. FTA ไทย-จีนสุดแย่!เสียเปรียบอีกนาน-วอนคนไทยซื้อของไทย.2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.logisticsdigest.com/index.php?option=com_content&task=view&id=954. (27 มิถุนายน 2556).
วรวิทย์ พิลัยหล้า. 2554. การจัดการฝายต้นน้ำของเกษตรกรหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัด เชียงใหม่. วารสารเกษตร 27(3): 275-281.
ศิริลักษณ์ ขัตตะนัน. 2550. ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมหลังจากได้รับค่าชดเชยกรณีลดพื้นที่การปลูกกระเทียม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 113 หน้า.
ศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุน จังหวัดเชียงใหม่. 2556. ต้นทุนการผลิตกระเทียม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tisc.feu.ac.th/content.aspx?file_upload_id=1853. (27 มิถุนายน 2556).
สำนักงานเกษตรจังหวัด แม่ฮ่องสอน. 2553. ข้อมูลจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมที่จดทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัด แม่ฮ่องสอน.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_web/main.php?filename=sitemap (27 มิถุนายน 2556).
อารี วิบูลย์พงศ์. 2550. ผลกระทบจากนโยบายการค้าเสรี: กรณีกระเทียม. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.agri.cmu.ac.th/upload/download/50010002.pdf (13 มิถุนายน 2556).