อิทธิพลของรูปแบบการให้อาหารต่อปริมาณ และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมแพะ

Main Article Content

สุภาณี ด่านวิริยะกุล
สุเมธี กิตติพงศ์ไพศาล
สมเกียรติ ศีลสุทธิ์
นงเยาว์ จันทราช

บทคัดย่อ

ผลจากการสำรวจและวิเคราะห์ชนิดของอาหารของฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมในเขตภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดนนทบุรี  ปทุมธานี  สิงห์บุรี  สุพรรณบุรี  สระบุรี  ลพบุรี  อ่างทอง  ชัยนาท  พระนครศรีอยุธยา และชานเมืองกรุงเทพมหานคร  พบว่า ชนิดของอาหารหยาบที่มีการใช้ในการเลี้ยงแพะทั่วไป ประกอบด้วย หญ้าสด และต้นข้าวโพดทั้งชนิดสดและหมัก บางฟาร์มอาจมีการใช้หญ้าแห้ง ฟางข้าว กระถิน และกากสับปะรด หรือปล่อยให้แพะแทะเล็มในแปลงหญ้า หญ้าแพงโกลามีปริมาณของวัตถุแห้งที่สูง (31.72 เปอร์เซ็นต์) แต่มีโปรตีน (6.94 เปอร์เซ็นต์) ต่ำกว่าหญ้าขน (18.52 - 22.05 และ 11.62 - 20.82 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ในขณะที่ต้นข้าวโพดหมักมีปริมาณ CP (8.48 เปอร์เซ็นต์) สูง แต่มี ADF และ NDF ต่ำกว่าเปลือกข้าวโพดหมักเล็กน้อย ส่วนการให้อาหารข้นนิยมใช้จมูกถั่วเหลือง และเปลือกผิวถั่วเหลืองซึ่งนอกจากใช้เป็นแหล่งของโปรตีนแล้วสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งของอาหารหยาบได้อีกด้วย เนื่องจากมีส่วนประกอบของ DM, NDF และ ADF ในปริมาณที่สูง คิดเป็น 89.92, 60.88 และ 45.95 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วน แป้งข้าวและจมูกข้าว กากน้ำเต้าหู้ กากวุ้นเส้น และกากข้าวสาลีหมัก มีการใช้บ้างขึ้นอยู่กับการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ ซึ่งอาจมีการเสริมอาหารข้นสำเร็จรูป จากการเปรียบเทียบปริมาณของสารอาหารที่แพะได้รับ พบว่า อัตราส่วนของวัตถุแห้งจากอาหารหยาบต่ออาหารข้น (R:C) ของอาหารรวมซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 22:78 - 86:14 โดยมีปริมาณสารอาหารที่แพะได้รับในรูปของ DM, CP, EE, CF, NDF, ADF และ NFC ในช่วง 4.00 - 5.84% BW, 10.50 -2 0.35% DMI, 1.26 - 3.78% DMI, 21.70 - 29.42% DMI, 34.31 - 40.04% DMI, 51.50 - 68.55% DMI และ 14.05 - 20.00% ตามลำดับ ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างขององค์ประกอบของน้ำนมแพะ (P>0.05) ซึ่งมีปริมาณไขมัน โปรตีน แลกโทส เถ้า ของแข็งทั้งหมด และของแข็งไม่รวมมันเนยอยู่ในช่วง 3.05 - 4.27, 2.96 - 3.70, 4.39 - 4.86, 0.71 - 0.85, 11.60 - 13.28 และ 8.33 - 9.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แพะที่ได้รับอาหารที่มีสัดส่วนของวัตถุแห้งจากอาหารหยาบในช่วง 40 - 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตน้ำนมสูงกว่าที่ระดับอื่น ๆ (1.33 ±0.32 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน) แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ไม่แสดงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลผลิตที่เกิดจากสัดส่วนของวัตถุแห้งจากอาหารหยาบที่ชัดเจนมากนัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2551. สถิติปศุสัตว์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th/ict/ stat_web/yearly/yearly51/stock51/region/ report5.xls (18 สิงหาคม 2554).

ปริศนา จิตต์ปรารพ. 2543. ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงแพะนม ในฟาร์มขนาดใหญ่: กรณีศึกษา บริษัทสยามแผ่นดินทอง จำกัด. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 83 หน้า.

วิโรจน์ ภัทรจินดา. 2546. โคนม. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 435 หน้า.

สมชัย สวาสดิพันธ์ และ ณิชารัตน์ สวาสดิพันธ์. 2546. นมแพะเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า. หจก. ศิริธรรม ออฟเซ็ท อุบลราชธานี. 66 หน้า.

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed. AOAC International, Maryland. 2,000 p.

Andrighetto, I. and L. Bailoni. 1994. Effect of different animal protein sources on digestive and metabolic parameters and milk production in dairy goats. Small Rumin. Res. 13: 127-132.

Collins, M. 1988. Composition and fibre digestion in morphological components of an alfalfa-timothy sward. Anim. Feed Sci. Tech. 19: 135-143.

Gimenez, D. M. Jr., 1994. Nutrient requirements of sheep and goats. Alabama Cooperative Extension System. Alabama A & M and Auburn Universities. (Online). Available: http://www.aces.edu/ pubs/docs/A/ANR-0812/ANR-0812.pdf (October 9, 2012).

Goering, H. K. and P. J. Van Soet. 1970. Forage fiber analyses (apparatus, reagents, procedures, and some applications) Agric. Handbook No. 379. Washington. D. C.: ARS-USDA. 20 p.

ISO. 2005. ISO/DIS 5983-2: Animal Feeding Stuffs - Determination of nitrogen content and calculation of crude protein content-part 2: block digestion/steam distillation method. 14 p.

Lee, M. J., S. Y. Hwang and P. W. S. Chiou. 2000. Metabolizable energy of roughage in Taiwan. Small Rumin. Res. 36: 251-259.

Mertents, D. R. 1987. Predicting intake and digestibility using mathematical model of ruminal function. J. Anim. Sci. 64: 1548.

Min, B. R., S. P. Hart, T. Sahlu and L. D. Satter. 2005. The effect of diets on milk production and composition, and on lactation curves in pastured dairy goats. J. Dairy Sci. 88(7): 2604-2615.

National Research Council. 2001. Nutrient requirements of dairy cattle. 7th rev. ed. National Academy Press, Washington, DC. 381 p.

Rashid, M. 2008. Goats and their nutrition. Manitoba Agriculture, Food and Rural Initiatives. (Online). Available: http://www.gov.mb.ca/ agriculture/livestock/goat/pdf/bta01s08.pdf (October 9, 2012).

Sampelayo, M. R. S., L. Amigo, J. L. Ares, B. Sanz and J. Boza. 1998. The use of diets with different protein sources in lactating goats: composition of milk and its suitability for cheese production. Small Rumin. Res. 31: 37-43.