อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ของประเทศไทย นับว่าก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจากนานาชาติ อีกทั้งได้ทำรายได้จากการส่งออกเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ ซึ่งประเทศไทยมีความสามารถแข่งขันได้ 5 อันดับแรกของโลกส่วนสุกรรวมทั้งผลิตภัณฑ์ ก็สามารถส่งออกเนื้อปรุงสุกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีมาตรฐานสูงประเทศหนึ่งดังนั้นการผลิตปศุสัตว์ของไทยในระดับอุตสาหกรรมนั้นกำลังก้าวไกลเป็นอย่างดี แต่เราคงต้องไม่มองข้ามผู้ผลิตรายย่อยหรือรายเล็กที่ทำการเลี้ยงสัตว์ตามชนบทที่ถือว่ามีจำนวนผู้ผลิตมากราย แต่ผลผลิตที่ได้ไม่สูงมากนัก แต่สามารถใช้บริโภคในครัวเรือนหรือจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น ดังนั้นวารสารฉบับนี้จึงมีบทความวิจัยที่ผู้ผลิตรายย่อยและรายใหญ่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

วารสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ของปีที่ 29 มีบทความวิจัยที่หลากหลายจำนวน 10 เรื่องคือสัตวศาสตร์ 4 เรื่องประมง 1 เรื่องกีฏวิทยา 2 เรื่องพืชสวน 2 เรื่อง และพืชไร่ 1 เรื่อง ซึ่งบทความเหล่านี้ทางกองบรรณาธิการต้องขอขอบคุณคณะผู้วิจัยทุกท่าน ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ตั้งใจนำเสนอผลงานที่สามารถรับใช้ชุมชนหรือสังคมได้ทุกระดับ

พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

เผยแพร่แล้ว: 2020-08-06

คุณภาพซากและเนื้อไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก

ถนอม ทาทอง, สันติสุข วรวัฒนธรรม, พนมกร ลุนลาน

99-105

อิทธิพลของรูปแบบการให้อาหารต่อปริมาณ และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมแพะ

สุภาณี ด่านวิริยะกุล, สุเมธี กิตติพงศ์ไพศาล, สมเกียรติ ศีลสุทธิ์, นงเยาว์ จันทราช

107-116

การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิล ที่เลี้ยงในจังหวัดพะเยา

เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, รุ่งกานต์ กล้าหาญ, พงศ์นรินทร์ เมฆขุนทด, ทองอยู่ อุดเลิศ

137-144

อัตราส่วนที่เหมาะสมของสารฟีโรโมนเพศสังเคราะห์ เพื่อดึงดูดผีเสื้อหนอนใยผัก

อนุสรณ์ พงษ์มี, จิราพร กุลสาริน, อภิวัฒน์ ธีรวุฒิกุลรักษ์

145-153

การลดกลิ่นของทุเรียนโดยใช้น้ำมันหอมระเหย ที่กลั่นได้จากใบกะเพรา

ยุวรัตน์ เงินเย็น, วิจิตรา เดชวีระพานิชย์, กนกพร ภาราดามิตร, วรัญญา ขาวผ่อง, พิมพิลาศ แก่นมั่น

163-168

ผลของ 2,4-D และไคเนตินต่อการเกิดเอ็มบริโอเจนิกแคลลัสในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

จุฑาทิพย์ ทนันไชย, สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์, สุชาดา เวียรศิลป์

177-185