การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิล ที่เลี้ยงในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

เกตุนภัส ศรีไพโรจน์
รุ่งกานต์ กล้าหาญ
พงศ์นรินทร์ เมฆขุนทด
ทองอยู่ อุดเลิศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบสายพันธุ์ปลานิลที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยเป็นการทดลองเลี้ยงปลานิลสามสายพันธุ์ ได้แก่ จิตรลดา 1  จิตรลดา 3  และปลานิลแดง เป็นระยะเวลา 122 วัน ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึง เมษายน 2555 อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดการเลี้ยงอยู่ระหว่าง 19 - 25 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) เลี้ยงปลาในกระชังขนาด 3.5 x 2.4 x 1.5 เมตร จำนวน 9 กระชัง อัตราปล่อย 24 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ให้อาหาร 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนวันละ 2 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน (average daily gain; ADG) ของปลานิลจิตรลดา 1  ปลานิลจิตรลดา 3  และปลานิลแดง เท่ากับ 0.87 ±0.07, 1.37 ±0.13 และ 1.66 ±0.05 กรัมต่อวัน ตามลำดับ โดยปลานิลแดงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันมากที่สุด อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (specific growth rate; SGR) ของปลานิลจิตรลดา 1 ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลแดง เท่ากับ 1.30 ±0.06, 1.35 ±0.11 และ 1.58 ±0.14 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ปลานิลจิตรลดาทั้ง 2 สายพันธุ์ มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะต่ำกว่าปลานิลแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก (feed conversion ratio; FCR) ของปลานิลจิตรลดา 1  ปลานิลจิตรลดา 3  และปลานิลแดง เท่ากับ 0.87 ±0.08, 0.60 ±0.07 และ 0.52 ± 0.04 ตามลำดับ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักของปลานิลแดง และปลานิลจิตรลดา 3 มีค่าต่ำที่สุด (P<0.05) อัตรารอดของปลาทั้งสามสายพันธุ์มีค่าอยู่ระหว่าง 94.22 - 96.11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอัตรารอดของปลาทั้ง 3 สายพันธุ์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. 2550. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย. ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง. 91 หน้า.
เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์ สุเทพ ปั๋นธิวงศ์ สมบูรณ์ ใจปินตา ประจวบ ฉายบุ สุดปราณี มณีศรี และ รุ่งกานต์ อำไพพงษ์. 2545. แนวทางการจัดการปัญหาการผลิตและการตลาดปลาน้ำจืดจังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 85 หน้า.
เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว สุภัทรา อุไรวรรณ์ และ อาภรณ์ โพธิ์พงศ์วิวัฒน์. 2551. การรวบรวมความรู้และประสบการณ์ระบบตลาดข้อตกลง (Contract farming) ในประเทศไทย: กรณีศึกษาปลานิล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 142 หน้า.
มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์ และ ไพพรรณ พรประภา. 2538. การจัดการคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ. 319 หน้า.
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. 2555. เอกสารประกอบการสอนวิชาคุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิยาลัยพะเยา. 219 หน้า.
สุทัศน์ เผือกจีน และ ยงยุทธ ทักษิญ. 2544. การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ 3 สายพันธุ์ในบ่อดิน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 24. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอุตรดิตถ์. กรมประมง. 14 หน้า.
สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง. 2549. ปลานิล: ปลาพระราชทานเพื่อปวงชนชาวไทย. ส่วนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ, สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง. 134 หน้า.
อิสระ สุวิทยาภรณ์ สุทัศน์ เผือกจีน และ ทองอยู่ อุดเลิศ. 2548ก. ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะสำคัญเชิงเพาะเลี้ยงระหว่างปลานิลแดงเพศผู้ 4 สายพันธุ์ที่เลี้ยงในกระชัง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 7/2548. สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรม สัตว์น้ำ กรมประมง. 16 หน้า.
อิสระ สุวิทยาภรณ์ สุทัศน์ เผือกจีน และ ทองอยู่ อุดเลิศ. 2548ข. ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะสำคัญเชิงเพาะเลี้ยงระหว่างปลานิลแดง 4 สายพันธุ์ที่เลี้ยงในกระชัง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 8/2548. สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง. 18 หน้า.
อุทัยรัตน์ ณ นคร. 2543. พันธุศาสตร์สัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 203 หน้า.
Azaza, M. S., M. N. Dhraïef and M. M. Kraïem. 2008. Effects of water temperature on growth and sex ratio of juvenile Nile tilapia Oreochromis niloticus (Linnaeus) reared in geothermal waters in southern Tunisia. J. Therm. Biol. 33: 98-105.
Ballarin, J. D. and J. D. Hatton. 1979. Tilapia: A guide to their biology and culture in Africa. Stirling University, 174 p.
Behrends, L. L., J. B. Kingsley and M. J. Bulls. 1990. Cold tolerance in maternal mounthbrooding tilapias: phenotypic variation among species and hybrids. Aquaculture 85: 271-280.
Bentsen, H. B., A. E. Eknath, M. S. Palada-de Vera, J. C. Danting, H. L. Bolivar, R. A. Reyes, E. E. Dionisio, F. M. Longalong, A. V. Circa, M. M. Tayamen and B. Gjerde. 1998. Genetic improvement of farmed tilapias: growth performance in a complete diallel cross experiment with eight strains of Oreochromis niloticus. Aquaculture 160: 145-173.
Caulton, M. S. 1982. Feeding, metabolism and growth of tilapias: some quantitative considerations. In: Pullin, R.S.V., R.H. Lowe-McConnell, eds. The biology and culture of tilapias. ICLARM, Manila, Philippines, pp. 157-180.
McAndrew, B. J. 1981. Electrophoretic analysis of tilapia from the Dusit Palace stock, Thailand. THA/75/012/WP6. Programme for the Development of Pond Management Techniques and Disease Control. National Inland Fisheries Institute, Bangkok. 20 p.
Macaranas, J. M., P. B. Mather, S. N. Lal, T. Vereivalu, M. Lagibalavu and M. F. Capra. 1997. Genotype and environment: A comparative evaluation of four tilapia stocks in Fiji. Aquaculture 150: 11-24.
Pongthana, N., N. H. Nguyen and R. W. Ponzoni. 2010. Comparative performance of four red tilapia strains and their crosses in fresh- andsaline water environments. Aquaculture 308: S109-S114.
Romana-Eguia, M.R.R. and R.V. Eguia. 1999. Growth of five Asian red tilapia strains in saline Environments. Aquaculture 173: 161-170.
Smitherman, R. O. and R. A. Dunham. 1985. Genetics and breeding. In: C.S. Tucker, editor. Channel catfish culture. Elsevier, Amsterdam, Netherlands, pp. 283-316.