ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อคุณภาพ ของผลพลับพันธุ์พี 2 ในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ

Main Article Content

สราวุธ ศรีวรรณา
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อคุณภาพของผลพลับพันธุ์พี 2 ในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ โดยเก็บเกี่ยวผลพลับที่มีระยะการพัฒนาสีผิวผลเป็นสีเหลือง 80 เปอร์เซ็นต์ นำมาบรรจุในถุงพลาสติกชนิด low density polyethylene (LDPE) และทำให้อยู่ในสภาพสุญญากาศด้วยเครื่องบรรจุหีบห่อแบบสุญญากาศก่อนเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2, 4 และ 8 องศาเซลเซียส นาน 2 เดือน หลังจากการเก็บรักษา นำผลพลับไปวางจำหน่ายที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส พบว่า ผลพลับที่เก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีอายุการวางจำหน่ายนานที่สุด คือ 7 วัน ตามการยอมรับของกลุ่มผู้ทดสอบชิม โดยผลพลับมีความเสียหายจากอาการเนื้อผลนิ่ม ช้ำน้ำ และสีเนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลน้อยที่สุด ส่วนผลพลับที่เก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศที่อุณหภูมิ 2 และ 8 องศาเซลเซียส มีอายุวางจำหน่ายเพียง 4 วัน เนื่องจากผลพลับที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส มีสีเนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และผลพลับที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส มีเนื้อผลนิ่มและรสชาติผิดปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2540. พลับและบ๊วย. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 69 หน้า.
วิลาวัลย์ คำปวน สุระศักดิ์ ชาญชำนิ และ ดนัย บุณยเกียรติ. 2538. เอกสารการวิจัยเรื่อง การยืดอายุการเก็บรักษาและการขจัดความฝาดผลพลับ. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 8 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ สุรศักดิ์ ชาญชำนิ และ มาโนช ปราครุฑ. 2540. คุณภาพของผลพลับพันธุ์ Xichu ที่ขจัดความฝาดโดยสุญญากาศ. วารสารเกษตร 13(2): 117-126.
นิธิยา รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุณยเกียรติ. 2548. การปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 364 หน้า.
สังคม เตชะวงศ์เสถียร. 2532. ไม้ผลเขตหนาว. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 144 หน้า.
AOAC. 2000. Official Method of Analysis of AOAC International. 17th ed., Association of Official Analytical Chemists, Washington D.C. 1018 p.
Arnal, L., M. A. Del Río. 2003. Removing astringency by carbon dioxide and nitrogen enriched atmospheres in persimmon fruit cv. ‘Rojo brillante’. Journal of Food Science 68: 1516-1518.
Ito, S. 1971. The persimmon. pp. 281-301, In: A.C. Hulme (ed.). The Biochemistry of Fruits and their Products. Acadamic Press, New York.
Lee, S. K., I.S. Shin and Y. M. Park. 1993. Factors involved in skin browning of non-astringent ‘Fuyu’ persimmon. Acta Horticulturae 343: 300-303.
Lee, S. K. and A. A. Kader. 2000. Preharvest and postharvest factors influencing vitamin C content of horticultural crops. Postharvest Biology and Technology 20: 207-220.
McRae, E. A. 1987. Development of chilling injury in New Zealand grown Fuyu persimmon during storage. New Zealand Journal of Experimental Agriculture 15: 333-344.
Pesis, E. and R. Ben-Arie. 1984. Involvement of acetaldehyde and ethanol accumulation during induced deastringency of persimmon fruits. Journal of Food Science 49: 896-899.
Ranganna, S. 1986. Handbook of Analysis and Quality Control for Fruit and Vegetable Products. 2nd ed. TataMcGraw-Hill Publishing Company Limited, New Delhi. 1112 p.
Salvador, A., L. Arnal, A. Monterde and J. M. Martínez-Jávega, 2005. Influence of ripening stage at harvest on chilling injury symptoms of persimmon cv. ‘Rojo Brillante’ stored at different temperatures. Food Science and Technology International 11: 359-365.