ชีววิทยาและความจำเพาะเจาะจงต่อพืชอาหารของด้วงถั่ว <I> Callosobruchus imitator </I> Kingsolver
Main Article Content
บทคัดย่อ
ด้วงถั่ว Callosobruchus imitator Kingsolver เป็นด้วงถั่วชนิดใหม่ที่เข้าทำลายถั่วในโรงเก็บซึ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ โดยข้อมูลเบื้องต้นของด้วงชนิดนี้ยังไม่มีการศึกษามากนัก การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาและความจำเพาะเจาะจงต่อพืชอาหารของด้วงถั่วชนิดนี้ในสภาพห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่าวงจรชีวิตของด้วงถั่ว C. imitator เมื่อเลี้ยงด้วยถั่วอะซูกิ มีดังนี้ คือ ระยะไข่ 5.33 ±0.49 วัน ระยะตัวหนอน 14.57 ±1.98 วัน และระยะดักแด้ 5.67 ±0.51 วัน เพศผู้มีอายุเฉลี่ย 62.5 ±24.63 วัน เพศเมียมีอายุเฉลี่ย 73.50 ±28.64 วัน ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาทั้งหมด 25.74 ±3.49 วัน และจากผลการศึกษาความจำเพาะเจาะจงของด้วงถั่ว C. Imitator ต่อพืชอาหารจำนวน 12 ชนิด พบว่าด้วงถั่วเพศเมียสามารถวางไข่บนเมล็ดถั่วนิ้วนางแดงหรือถั่วแดง ถั่วอะซูกิ ถั่วพุ่ม ถั่วแดงหลวง ถั่วเขียว ถั่วขาว ถั่วดำ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วเหลือง และถั่วลันเตา ยกเว้นถั่วลิสง อย่างไรก็ตามด้วงถั่ว C. imitator สามารถเจริญครบวงจรชีวิตเป็นตัวเต็มวัยได้บนถั่วเพียง 5 ชนิด เท่านั้น คือ ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วอะซูกิ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว และถั่วฝักยาว โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 30.75, 31.55, 31.27, 32.84 และ 30.28 วัน ตามลำดับ
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร. 2554. ด้วงถั่วเขียว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://ait.nisit.kps.ku.ac.th/ dbfieldcrop/pest/mungbean/dung.htm (7 กรกฎาคม 2554).
ไชยา เพ็งอุ่น. 2539. ถั่วและพืชคลุมดิน. พิมพ์ดี, นนทบุรี. 87 หน้า.
ทรงเชาว์ อินสมพันธ์. 2545. ถั่วเขียว (mungbean). เอกสารประกอบการสอนวิชาพืชไร่ที่สำคัญของประเทศไทย. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 18 หน้า.
มยุรา ภูริพันธุ์ภิญโญ. 2532. การศึกษานิเวศวิทยาของด้วงถั่วเหลือง Callosobruchus chinensis L. ด้วงถั่วเขียว Callosobruchus maculatus F. และการป้องกันกำจัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 106 หน้า.
สุทัศน์ จุลศรีไกวัล. 2547. งานปรับปรุงพันธุ์ถั่วอะซูกิ. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 91 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/ download/journal/trade%20statistics53.pdf (4 กันยายน 2555).
Beck, C. W. and L. S. Blumer. 2013. Life cycle of bean beetles, Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Chrysomelidae). (Online). Available: http://www.carolina.com/teacher-resources/Interactive/life-cycle-of-bean-beetles/tr25103.tr (April 4, 2013).
Kingsolver, J. M. 1999. A new species of Callosobruchus (Coleoptera: Bruchidae) from Thailand and China. Entomological News 110: 209-213.
Takashi, M. 2008. Azuki bean in Thailand: Research for production and marketing. pp. 21-22. In: Proceedings of Azuki Bean: Research and Production in Thailand. 28-29 January 2008. Green Lake Resort, Chiang Mai.
Tuda, M., L. -Y. Chou, C. Niyomdham, S. Buranapanichpan and Y. Tateishi. 2005. Ecological factors associated with pest status in Callosobruchus (Coleoptera: Bruchidae): high host specificity of nonpests to Cajaninae (Fabaceae). Journal of Stored Products Research 41(1): 31-45.