การวิเคราะห์จำแนกประเภทเพื่อการจำแนกกลุ่ม ของขนาดฟาร์มโดยใช้ข้อมูลการจัดการฟาร์ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรฟาร์มโคนมในเขตพื้นภาคกลางตอนล่างจำนวน 120 ฟาร์ม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 4 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการฟาร์มด้วยวิธี Discriminanant analysis with proportional priors เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลทำให้การจัดการฟาร์มของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่แตกต่างกัน โดยขนาดของฟาร์มแบ่งตามจำนวนโครีดนม คือ จำนวนโครีดนมภายในฟาร์มน้อยกว่า 15 ตัว (8 ฟาร์ม) ตั้งแต่ 15 ถึง 30 ตัว (54 ฟาร์ม) และตั้งแต่ 30 ตัว ขึ้นไป (58 ฟาร์ม) ตามลำดับ จากผลการศึกษาทั้งหมด 8 ตัวแปร พบว่ามีอยู่ 7 ตัวแปร คือ เพศของเกษตรกร อายุของเกษตรกร ขนาดสมาชิกครอบครัว ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ระดับเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน ปริมาณอาหารข้น ปริมาณอาหารหยาบ ที่มีผลทำให้การจัดการฟาร์มทั้ง 3 ขนาด แตกต่างกัน (P<0.20) ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างของตัวแปรเปอร์เซ็นต์อาหารข้น (P=0.225) ในการวิเคราะห์หาสมการในการจำแนกกลุ่มด้วยวิธี Discriminanant analysis with proportional priors พบว่าสมการมีความสามารถในการจำแนกกลุ่มได้ (P<0.20) ด้วยค่า Wilks'Lambda = 0.697, Chi-Square = 37.378, df = 20, P = 0.011 และ Canonical Correlation = 0.465 จากค่า Standardized Canonical Discriminant Function Coefficient สรุปได้ว่าตัวแปรที่มีน้ำหนักในการจำแนกสูงสุดเรียงตามลำดับ คือ ระดับเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน (0.836) ปริมาณอาหารข้น (0.622) เปอร์เซ็นต์อาหารข้น (0.462) ขนาดสมาชิกครอบครัว (0.450) อายุของเกษตรกร (0.304) ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ (0.279) เพศของเกษตรกร (0.158) และปริมาณอาหารหยาบ (0.158) โดยความผิดพลาดของการใช้สมการในการจำแนกกลุ่มของฟาร์มตามขนาดฟาร์มมีค่าเท่ากับ 39.6 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาครั้งนี้ยังสามารถบอกได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงโคนมลูกผสมที่มีระดับเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 87.5 เปอร์เซ็นต์ ในทุกขนาดฟาร์ม ซึ่งเป็นไปได้ว่าโคนมที่มีระดับเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียนที่ไม่สูงมากนักเป็นระดับเลือดที่เหมาะสมกับการเลี้ยงในสภาวะแวดล้อมในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง
Article Details
References
วลัยกานต์ เจียมเจตจรูญ และ วรรณา อ่างทอง. 2541. รายงานเบื้องต้นสภาพการจัดการด้านอาหาร โคเนื้อและโคนมของเกษตรกรในพื้นที่ 11 จังหวัดภาคกลาง. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2541 กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 295-313.
สมศักดิ์ เภาทอง ประเทศ ปุ้ยพันธวงศ์ และ วิโรจน์ ฤทธิ์ฤาชัย. 2541. การสำรวจสภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกร ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2541 กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 12-32.
Hossain, M., S. Wright and L. A. Petersen. 2002. Comparing performance of multinomial logistic regression and discriminant analysis for monitoring access to care for acute myocardial infarction. Journal of Clinical Epidemiology 55: 400-406.
Millogo, V., G. A. Ouedraogo, S. Agenas and K. Svennersten-Sjaunja. 2008. Survey on dairy cattle milk production and milk quality problems in peri-urban areas in Burkina Faso. African Journal of Agricultural Research 3(3): 215-224.
Montgomery, M. E., M. E. White and S. W. Martin. 1987. A comparison of discriminant analysis and logistic regression for the prediction of coliform mastitis in dairy cows. Canadian Journal of Veterinary Research 51: 495-498.
Mureda, E. and Z. M. Zeleke. 2008. Characteristics and constraints of crossbred dairy cattle production in lowland areas of Eastern Ethiopia. Livestock Research for Rural Development. 20(4): article 57 http://www.lrrd.org/lrrd20/4/mure20057.htm (December 20, 2011).
Riveiro-Valino, J. A., C. J. Alvarez-Lopez and M. Fco. Marey-Perez. 2009. The use of discriminant analysis to validate a methodology for classifying farms based on a combinatorial algorithm. Computers and Electronics in Agriculture 66: 113-120.
Tadesse, M. and T. Dessie. 2003. Milk production performance of zebu, Holstein Friesian and their crosses in Ethiopia. Livestock Research for Rural Delvelopment 3(15).