คุณค่าทางโภชนะและระดับที่เหมาะสมของฝุ่นข้าวโพด จากกระบวนการสีเมล็ดในอาหารโคเนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแบ่งเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาคุณค่าทางโภชนะของฝุ่นข้าวโพดและอาหารข้นที่มีฝุ่นข้าวโพดเป็นส่วนผสมระดับต่างกัน 4 ระดับคือ 0, 20, 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยทุกสูตรมี 16 เปอร์เซ็นต์ CP (DM basis) พบว่าฝุ่นข้าวโพดประกอบด้วย DM 88.13 เปอร์เซ็นต์ และมีโภชนะคิดเป็นร้อยละของวัตถุแห้งดังนี้คือ CP 10.93, CF 12.52, EE 4.59, Ash 3.54, NDF 57.79, ADF 15.26 และ ADL 7.86 อีกทั้งการเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหาร ทำให้ DM, EE และ ADL ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ NDF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาการย่อยสลายของวัตถุแห้งในกระเพาะหมัก โดยใช้ Nylon bag technique พบว่าการเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหาร ทำให้ปริมาณการย่อยสลายของวัตถุแห้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การทดลองที่ 3 การประเมินค่าการย่อยได้และพลังงาน โดยใช้เทคนิคการวัดแก๊ส พบว่าอาหารข้นที่มีฝุ่นข้าวโพดผสมระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่าปริมาตรแก๊สสุทธิ ณ ชั่วโมง 24 และการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ ต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้การเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหารทำให้ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้และพลังงานสุทธิเพื่อการให้นม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 4 ศึกษาด้านสมรรถภาพการผลิตและต้นทุนการผลิต ของโครุ่นลูกผสมบราห์มัน × พื้นเมือง เพศผู้ ที่ไม่ได้ตอน น้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 150 กิโลกรัม จำนวน 16 ตัว โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ให้โคได้รับฟางข้าวเป็นอาหารหยาบแล้วเสริมด้วยอาหารข้นที่มีฝุ่นข้าวโพดในระดับ 0, 20, 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในอัตรา 1.25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ใช้ระยะเวลาทดลอง 90 วัน พบว่าโคที่ได้รับอาหารข้นที่มีการเพิ่มระดับของฝุ่นข้าวโพดในสูตรอาหาร ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของการเจริญเติบโต (ADG = 0.21, 0.21, 0.20 และ 0.23 กิโลกรัม ตามลำดับ) อัตราการแลกน้ำหนัก (FCR = 18.49, 19.10, 20.00 และ 17.61 ตามลำดับ) และปริมาณการกินได้คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัว (2.70, 2.75, 2.72 และ 2.70 ตามลำดับ) แต่ต้นทุนอาหารต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม (FCG = 67.32, 60.18, 51.69 และ 38.09 บาท ตามลำดับ) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่าสามารถนำเอาฝุ่นข้าวโพดมาเป็นส่วนผสมในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงโคเนื้อ ได้สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
Article Details
References
คณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องของประเทศไทย. 2551. ความต้องการโภชนะของโคเนื้อในประเทศไทย.กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 193 หน้า.
ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร และเทอดชัย เวียรศิลป์. 2530. การผ่าตัดใส่ท่อ Rumen Fistula ในวัวนม โดยวิธีการผ่าตัดครั้งเดียว (on-stage operation). เวชสารสัตวแพทย์ 17(4): 349-355.
นฤมล สุมาลี. 2541. การหาค่าการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุและค่าพลังงานใช้ประโยชน์ในอาหารโคนม โดยใช้เทคนิคการวัดแก๊สแบบโฮเฮนไฮม์. วิทยา นิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 115 หน้า.
นิรุจน์ มณีสว่าง. 2554. การย่อยได้ปรากฏและการเสริมในอาหารของเปลือกเมล็ดและคัพภะข้าวโพดต่อสมรรถภาพการผลิตแพะรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 หน้า.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis (17th Ed.) Association of Official Analytical Chemists, Gaithersberg, Md. 2,200 p.
Menke, K. H., and H. Steingass. 1988. Estimation of the energetic feed value obtained from chemical analysis and in vitro gas production using rumen fluid. Anim. Res. Dev. 28: 7-55.
Montgomery, S. P., J. S. Drouillard, J. J. Sindt, M. A. Greenquist, B. E. Depenbusch, E. J. Good, E. R. Loe, M. J. Sulpizio, T. J. Kessen and R. T. Ethington. 2005. Effects of dried full-fat corn germ and vitamin E on growth performance and carcass characteristics of finishing cattle. J. Anim. Sci., 83: 2440-2447.
Ørskov E. R. and I. McDonald. 1979. The estimation of protein degradability in the rumen from incubation measurement weighted according to rate of passage. J. Agri. Sci. (Camb), 92(02): 499-503.
Steel, R. G. D. and J. H. Torrie. 1980. Principle and Procedures of Statistic. 2nd ed., McGrew-Hill Book Company, Inc., New York. 481 p.
Van Soest, P. J. 1982. Nutrition Ecology of the Ruminant. O&B Book, Inc., Corvallis, Oregon. 337 p.