ผลของการให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุต่อผีเสื้อข้าวเปลือกและคุณภาพการสีของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

Main Article Content

อัมพร บัวผุด
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
สุชาดา เวียรศิลป์

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ที่ความถี่ 27.12  MHz ในการกำจัดผีเสื้อข้าวเปลือกและผลของคลื่นความถี่วิทยุต่อคุณภาพและการสีของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยให้ความร้อนที่พลังงาน 700 วัตต์ ทดลองกับผีเสื้อข้าวเปลือกในระยะ ไข่ หนอน และดักแด้ เพื่อหาระยะทนทาน โดยนำผีเสื้อข้าวเปลือกระยะ ไข่ หนอน และดักแด้ ที่อยู่ในเมล็ดข้าวเปลือก มาบรรจุถุงกระสอบป่านขนาด 20 x 25 เซนติเมตร พร้อมกับข้าวเปลือกที่มีความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 800 กรัม โดยให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ที่ระดับพลังงาน 700 วัตต์ เวลา 120 วินาที พบว่า ระยะไข่ หนอน และดักแด้  มีอัตราการตายแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) เท่ากับ 80.04, 88.82 และ 68.7  เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อใช้ระยะดักแด้ซึ่งเป็นระยะที่ทนทานต่อคลื่นความถี่วิทยุ  เป็นตัวแทนของระยะต่าง ๆ ไปผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ที่ระยะ เวลา 140, 160, 180, 200 และ 220 วินาที พบว่า ดักแด้มีอัตราการตายอย่างสมบูรณ์ ที่ระยะเวลา 220 วินาที ด้านคุณภาพหลังการสี โดยการให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ที่ 220 วินาที พบว่า เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวเพิ่มขึ้น สีของข้าวสารมีสีเหลืองเพิ่มขึ้น (b*) และค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์ข้าวกล้อง ข้าวขาว ค่าความสว่าง (L*) และปริมาณอะไมโลสไม่เปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ บัวลอย. 2552. การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการควบคุมมอดแป้ง Tribolium castaneum (Herbst) ในอาหารสัตว์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 49 หน้า.

กฤษณา สุเมธะ. 2552. ผลของการใช้คลื่นความถี่วิทยุต่อมอดหัวป้อม Rhyzopertha dominica (F.) และคุณภาพของข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 69 หน้า.

กุสุมา นวลวัฒน์ พรทิพย์ วิสารทานนท์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และจิราภรณ์ ทองพันธ์. 2548. แมลงศัตรูข้าวเปลือกและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว, สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร, กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 80 หน้า.

ณคณิณ ลือชัย วิชา สะอาดสุด เยาวลักษณ์ จันทร์บาง และณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ. 2551. การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการควบคุมผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica (Stainton) และผลต่อคุณภาพของข้าวสารดอกมะลิ 105. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39:3(พิเศษ): 347-350.

พลากร สำรีราษฎร์ สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ และสุชาดา เวียรศิลป์. 2551. การดัดแปลงคุณภาพการหุงต้มของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39:3(พิเศษ): 354-358.

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อเป็นทาง เลือกใหม่ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.phtnet.org /download/phtic-research/110.pdf. (July 1, 2011).

อีนดา แวดาลอ ละมุล วิเศษ และ ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. 2550. ผลของการอบแห้งแบบสองขั้นตอนและอุณหภูมิการเก็บรักษาต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 37:6(พิเศษ): 326-330.

Abbott, W.S. 1925. A method for computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology 18: 256-267.

Birla, S.L., S. Wang, J. Tang and G. Hallman. 2004. Improving heating uniformity of fresh fruit in radio frequency treatments for pest control. Postharvest Biology and Technology 33: 205-217.

Chapman, R.F. 1998. Reproductive system: male. pp. 268-294. In: R. F. Chapman (ed.). The Insects: Structure and Function. Cambridge University, Cambridge.

Nelson, S.O. 1996. Review and assessment of radio-frequency and microwave energy for stored-grain insect control. Transactions of the ASAE 39(4): 1475-1484.

Tirawanichakul, S., S. Prachayawarakorn, W. Varanyanond, P. Tungtrakul and S. Soponronnarit. 2004. Effect of fluidized bed drying temperature on various quality attributes of paddy. Drying Technology 22(7): 1731-1754.