ผลของวัสดุหลบซ่อนต่ออัตราการรอดตายของกุ้งก้ามกราม

Main Article Content

เมธาวี รอตมงคลดี
วัฒนะ ลีลาภัทร
นันทพร สุทธิ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้วัสดุหลบซ่อนต่ออัตราการรอดตายของกุ้งก้ามกราม วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด โดยเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบรวมเพศในถังที่ใส่วัสดุหลบซ่อนแตกต่างกัน 5 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ คือ ไม่ใส่วัสดุหลบซ่อน (ชุดควบคุม) ใส่วัสดุหลบซ่อนรังเทียมทำด้วยเชือกฟาง ใส่วัสดุหลบซ่อนตาข่าย PVC.ใส่วัสดุหลบซ่อนกระเบื้องทำเป็นจั่วหลังคา.และใส่วัสดุหลบซ่อนขวดพลาสติกทึบแสง ใช้ระยะเวลา 120 วัน.เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า กุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในถังใส่กระเบื้องทำเป็นจั่วหลังคามีอัตราการรอดตายสูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในถังที่ใส่รังเทียมทำด้วยเชือกฟางมีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05).ความยาวสุดท้ายของกุ้งก้ามกรามแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) และผลของคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง พบว่า อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนละลาย และความเป็นด่างในน้ำทุกชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษาครั้งนี้แนะนำให้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยใช้วัสดุหลบซ่อนกระเบื้องทำเป็นจั่วหลังคาเพื่อให้ได้อัตราการรอดตายสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. 2558. สถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปี 2556. เอกสารฉบับที่ 5/2558. กรมประมง, กรุงเทพฯ. 65 หน้า.

ณาตยา ศรีจันทึก และวชิราภรณ์ ไกรอ่ำ. 2542. ความเคลื่อนไหวราคาสัตว์น้ำ ณ สะพานปลากรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2542. จุลสารเศรษฐกิจการประมง 5(1): 25-34.

ประจวบ หลำอุบล. 2532. กุ้ง. ฝ่ายสื่อการศึกษาสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 หน้า.

ปัญญา สุวรรณสมุทร. 2536. กุ้งก้ามกราม. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 119 หน้า.

ยนต์ มุสิก. 2529. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 146 หน้า.

ยุทธนา อีรัสคาน ณรงค์ พลวารี วิทยา หะวานนท์ มนทกานติ ท้ามติ้น และ สุพิศ ทองรอด. 2555. ผลของอาหารต่อการลอกคราบ การเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของปูทะเล (Scylla olivacea, Herbst 1796) ในการผลิตปูนิ่ม. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 7/2555. กรมประมง, กรุงเทพฯ. 22 หน้า.

ยุพินท์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์ และ รัชนีบูลย์ ทิพย์เนตร. ม.ป.ป. การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม. สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง กรมประมง, กรุงเทพฯ. 25 หน้า.

วรศิริ จอมวรวงศ์ ไสว พูลเกษ และ ชัยสงคราม ภูกิ่งเงิน. 2549. การศึกษาเทคนิคการขุนกุ้งก้ามกรามเพศผู้โดยสร้างที่หลบซ่อนแตกต่างกัน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์, กาฬสินธุ์. 35 หน้า.

วิเชียร มากตุ่น. 2518. การศึกษาชนิดที่หลบซ่อนของกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในบ่ออนุบาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 48 หน้า.

วีร์ กี่จนา และ ฐากร ทิพย์สุนทรศักดิ์. 2555. การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยใช้วัสดุหลบซ่อนจำนวนต่างกัน. หน้า 43-62. ใน: รายงานประจำปี 2555. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอ่างทอง, อ่างทอง.

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม วาสนา อากรรัตน์ และ เทพบุตร เวชกามา. 2555. การประเมินอัตราการกินอาหาร และการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน. วารสารเกษตร 28(1): 83-91.

สุขลัคน์ นาเนกรังสรรค์. 2550. คู่มือการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ. กลุ่มงานเคมี ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์. สำนักวิจัยและพัฒนากรมชลประทาน, กรุงเทพฯ. 125 หน้า.

สุพัฒน์ กำลังเอื้อ ปราณี อ่อนแก้ว และ อดิเทพ บุญเจริญ. 2555. การอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea โดยใช้วิธีการต่างกัน. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 38/2555. กรมประมง, กรุงเทพฯ. 26 หน้า.

สุพัตร์ ศรีพัฒน์ และ นิพนธ์ จันทร์ประทัด. 2547. การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามระยะ postlarva โดยใช้พื้นที่วัสดุหลบซ่อนขนาดต่างกัน. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 81/2547. กรมประมง, กรุงเทพฯ. 18 หน้า.

อัมพร บัวที ลิขิต ชูชิต และ เทพบุตร เวชกามา. 2553. ผลของการใช้ท่อพีวีซี และกล่องพลาสติกเป็นวัสดุหลบซ่อนต่ออัตราการรอดตาย และอัตราการเติบโตของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน. หน้า 229-234. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 (สาขาประมง). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Ashby, A.A. 2003. The effects of stocking density, amount of substrate, frequency of feeding, and waste removal on nursery production and the effects of substrate height on pond production of freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii. M.S. Thesis. University of Tennessee, Knoxville. 54 p.

Avault, J.W. 1986. Seven years of pond research with the prawn Macrobrachium rosenbergii in Louisiana. Aquaculture Magazine 12(4): 51-55.

Boyd, C.E. 1998. Water Quality for Pond Aquacultre. Auburn University, Alabama. 37 p.

Cohen, D., Z. Ra’anan and T. Brody. 1981. Population profile development and morphotypic differentiation in the giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii. Journal of World Mariculture Society 2: 213-234.

Cohen, D., Z. Ra’anan, U. Rappaport and Y. Arieli. 1983. The production of the freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii in Israel: Improved conditions for intensive monoculture. Bamidgeh 35: 31-37.

Du Boulay, A.J., M.D. Sayer and D.M. Holdich. 1993. Investigations into intensive culture of the Australian redclaw crayfish Cherax quadricarinatus. Freshwater Crayfish 9: 70-78.

Mariappan, P. and C. Balasundaram. 2004. Effect of shelters and weight groups on survival growth and limb loss in the fresh water prawn Macrobrachium rosenbergii. Journal of Applied Aquaculture 15(3-4): 51-62.

Mariappan, P., C. Balasundaram and B. Schmitz. 2009. Decapod crustacean chelipeds: an overview. Journal of Biosciences 25(3): 301-313.

Murthy, H.S., R. Kumarswamy, K.J. Palaksha, H.R. Sujatha and R. Shankar. 2012. Effect of different types of shelters on survival and growth of giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii. Journal of Marine Science and Technology 20(2): 153-157.

Sandifer, P.A. and T.I.J. Smith. 1977. Intensive rearing of postlarval Malaysian prawns (Macrobrachium rosenbergii) in a closed cycle nursery system. Proceedings of the World Mariculture Society 8: 225-235.

Sandifer, P.A., J.S. Hopskins and A.O. Stokes. 1987. Intensive culture potential of Penaeus vannamei. Journal of the World Aquaculture Society 18: 94-100.

Siddiqui, A.Q., H.M. Alhinty and S.A. Ali. 1995. Effects of harvesting methods on population structure, growth and yield of freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii, cultured at two densities. Journal of Applied Aquaculture 5(3): 9-19.

Tidwell, J. and S. Coyle. 2008. Impact of substrate physical characteristics on grow out of freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii, in ponds and pond microcosm tanks. Journal of The World Aquaculture Society 39(3): 406-453.

Tidwell, J.H., S. Coyle, A. Van Arnum and C. Weibel. 2000. Production response of freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii, to increasing amounts of artificial substrate in ponds. Journal of the World Aquaculture Society 31: 452-458.

Tidwell, J.H., S. Coyle, C. Webel and J. Evans. 1999. Effects and interactions of stocking density and added substrate on production and population structure of freshwater prawns Macrobrachium rosenbergii. Journal of the World Aquaculture Society 30(2): 174-179.

Tuly, D.M., M.S. Islam, M. Hasnahena, M.R. Hasan and M.T. Hasan. 2014. Use of artificial substrate in pond culture of freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii): a new approach regarding growth performance and economic return. Journal of Fisheries 2(1): 53-58.