ปัจจัยที่มีผลต่อสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้ จากเมล็ดแห้งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด

Main Article Content

รัตนา ม่วงรัตน์
กรรณิการ์ เรือนหล้า
ธัญชนก กันทวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการสกัดสารแอนโธไซยานินทั้งหมดจากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติพบว่าปัจจัยในการสกัดได้แก่ อัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำ (1:2, 1:3, 1:5, 1:6 และ 1:9) อุณหภูมิในการสกัด (65, 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส)  และเวลาในการสกัด (15, 30, 45 และ 60 นาที) มีผลต่อความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง  เมื่ออัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเปลี่ยนจาก 1:2 เป็น 1:3  และอุณหภูมิการสกัดเพิ่มจาก 65 เป็น 100 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จะมีค่าสูงขึ้นและสูงกว่าที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:5, 1:6 1:9 ตามลำดับ และสูงกว่าเมื่ออุณหภูมิการสกัดเท่ากับ 120 องศาเซลเซียส สำหรับเวลาในการสกัด 15, 30 และ 45 นาที ความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดเหล่านี้มีค่าสูงกว่าความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้ที่เวลาสกัด 60 นาที  งานวิจัยนี้พบว่าความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงโดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 374.70 ± 6.96 มิลลิกรัมสมมูลย์ของไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ต่อลิตร เมื่อสกัดที่อัตราส่วนน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และเวลาในการสกัด 15 นาที นอกจากนี้สภาวะความเป็นกรดด่าง และเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อความคงตัวของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้   เมื่อสภาวะความเป็นกรดสูง (ค่า pH ต่ำ) และเวลาในการเก็บรักษาสั้น สารแอนโธไซยานินจะมีความคงตัวมากกว่าที่สภาวะความเป็นกรดต่ำ  (ค่า pH สูง)  และเวลาในการเก็บรักษานาน  โดยความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่สภาวะการสกัดที่อัตราส่วนน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิและเวลาในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และ 15 นาที ตามลำดับ ที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระดีพีพีเอซ  ที่ร้อยละ 50 (IC50) มีค่าประมาณ 10.9 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรของสารสกัด ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำกว่าสารละลายมาตรฐานกรดแอสคอร์บิกประมาณ 7.27 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุภาภรณ์ ญะเมืองมอญ และ ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานินและ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่าพันธุ์พื้นเมืองของไทย. วารสารเกษตร 32(2): 191-199.

Abdel-Aal, E.M., H. Akhtar, I. Rabalski and M. Bryan. 2014. Accelerated, microwave-assisted, andconventional solvent extraction methods affect anthocyanin composition from colored grains. Journal of Food Science 79(2): 138-146.

Delfanian, M., R.E. Kenari and M.A. Sahari. 2015. Influence of extraction techniques on antioxidant properties and bioactive compounds of loquat fruit (Eriobotrya japonica Lindl.) skin and pulp extracts. Food Science and Nutrition 3(3): 179-187.

Demirdoven, A., K. Ozdogan and K. Erdogan-Tokatli. 2015. Extraction of anthocyanins from red cabbage by ultrasonic and conventional methods: optimization and evaluation. Journal of Food Biochemistry 39(5): 491-500.

Harakotr, B., B. Suriharn, R. Tangwongchai, M.P. Scott and K. Lertrat. 2014. Anthocyanins and antioxidant activity in coloured waxy corn at different maturation stages. Journal of Functional Foods 9: 109-118.

Laleh, G.H., H. Frydoonfar, R. Heidary, R. Jameei and S. Zare. 2006. The effect of light, temperature, pH and species on stability of anthocyanin pigments in four berberis species. Pakistan Journal of Nutrition 5(1): 90-92.

Lee, J., R.W. Durst and R.E. Wrolstad. 2005. Determination of total monomeric anthocyanin pigment content of fruit juices, beverages, natural colorants, and wines by the pH differential method: collaborative study. Journal of AOAC International 88(5): 1269-1278.

Liu, J., M. Sandahl, P.J.R. Sjoberg and C. Turner. 2014. Pressurised hot water extraction in continuous flow mode for thermolabile compounds: extraction of polyphenols in red onions. Analytical and Bioanalytical Chemistry 406(2): 441-445.

Ochoa, M.R., A.G. Kesseler, M.B. Vullioud and J.E. Lozano. 1999. Physical and chemical characteristics of raspberry pulp; storage effect on composition and color. LWT-Food Science and Technology 32: 149-153.

Patras, A., N.P. Brunton, C.O. Donnell and B.K. Tiwari. 2010. Effect of thermal processing on anthocyanin stability in foods; mechanisms and kinetics of degradation. Trends in Food Science and Technology 21: 3-11.

Plaza, M. and C. Turner. 2015. Pressurized hot water extraction of bioactives. Trends in Analytical Chemistry 71: 39-54.

Ramos-Escudero, F., M.L. Gonzalez-Miret and A. Garcia-Asuero. 2012. Effect of various extraction systems on the antioxidant activity kinetic and color of extracts from purple corn. Vitae, Revista de La Facultad de Química Farmacéutica. 19(1): 41-48.

Ravber, M., Ž. Knez and M. Škerget. 2015. Simultaneous extraction of oil- and water soluble phase from sunflower seeds with subcritical water. Food Chemistry 166: 316-323.

Santos, D.T., R.N. Cavalcanti, M.A. Rostagno, C.L. Queiroga, M.N. Eberlin and M.A.M. Meireles. 2013. Extraction of polyphenols and anthocyanins from the Jambul (Syzygium cumini) fruit peels. Food and Public Health 3(1): 12-20.

Shipp, J. and E.S.M. Abdel-Aal. 2010. Food applications and physiological effects of anthocyanins as functional food ingredients. The Open Food Science Journal 4: 7-22.

Tananuwong, K. and W. Tewaruth. 2010. Extraction and application of antioxidants from black glutinous rice. LWT - Food Science and Technology 43(3): 476-481.