ชนิดของตัวทำละลาย สภาวะในการสกัดและสมบัติของน้ำมันจากดักแด้ไหมอีรี่

Main Article Content

ธนกิจ ถาหมี
พนิดา รัตนปิติกร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เปรียบเทียบดักแด้ไหมอีรี่ (Samia ricini) ที่เลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลังกับชนิดที่เลี้ยงด้วยใบละหุ่ง ทำการสกัดโดยใช้ตัวทำละลายคือ เฮกเซน และปิโตรเลียมอีเทอร์ พบว่า การใช้ดักแด้ไหมอีรี่ที่เลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลังจะให้น้ำมันดิบในปริมาณที่มากกว่าดักแด้ที่เลี้ยงด้วยใบละหุ่ง (p ≤ 0.05) และเฮกเซนสามารถสกัดน้ำมันออกจากดักแด้ได้มากกว่าปิโตรเลียมอีเทอร์อย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) สภาวะที่เหมาะในการสกัดน้ำมัน คือใช้อัตราส่วนเฮกเซนต่อดักแด้ ที่ 7.8 : 1 ปริมาตร/น้ำหนัก อุณหภูมิ 56 ºซ และเวลาในการสกัด 16 นาที น้ำมันดักแด้ไหมอีรี่มีสมบัติทางกายภาพดังนี้ ดัชนีหักเหที่ 25 ºซ 1.473 ± 0.001 ความหนาแน่นสัมพัทธ์ 0.88 ± 0.02 กรัม/มิลลิลิตร มีค่าความสว่าง (L) 51.73 ± 0.38 ค่าสีแดง (a*) 10.09 ± 0.19 ค่าสีเหลือง (b*) 61.81 ± 0.62 สมบัติทางเคมีดังนี้ ค่าของกรดเท่ากับ 16.00 ± 0.00 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์/กรัมน้ำมันดิบ และ 0.55 ± 0.01 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์/กรัมน้ำมันผ่านกรรมวิธีทำให้บริสุทธิ์ ค่าไอโอดีน 28 ± 2 กรัม/น้ำมัน 100 กรัม ค่าเพอร์ออกไซด์ 0.55 ± 0.12 มิลลิสมมูล/กิโลกรัมน้ำมัน ค่าซาพอนิฟิเคชั่น190.54 ± 4.46 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์/กรัมน้ำมัน สารที่ซาพอนิไฟด์ไม่ได้ 3.22 ± 0.15 กรัม/กิโลกรัมน้ำมัน น้ำและสารที่ระเหยได้ที่อุณหภูมิ 105ºซ ร้อยละ 0.14 ± 0.01 โดยน้ำหนัก สารที่ไม่ละลาย ร้อยละ 0.08 ± 0.01 โดยน้ำหนัก และ pH 7.42 ± 0.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอบกุล แสนนามวงษ์, บุษรา ระวินู, ประชาชาติ นพเสนีย์, ภัควิภา เพชรวิชิต, เยาวภา สุกฤตานนท์, รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์, วรพจน์ รักสังข์, สมาน วิไล, สุชาติ จุลพูล และสุทธจิตติมา สุทธชนะ. 2549. โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาไหมป่าอีรี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานผลวิจัยเรื่องเต็ม กรมวิชาการเกษตร. 53 หน้า
ทิพย์วดี อรรถธรรม, นภาภรณ์ พรหมมา, ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ และวราพิชญ์ พัฒนเศรษฐานนท์. 2545. การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตไหมป่าอีรี่เพื่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม. รายงานฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 138 หน้า
นิตยา มหาไชยวงศ์ และกชกร มูลทา. 2550. คู่มือการเลี้ยงไหมอีรี่. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 67 หน้า
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. วิทยาศาสตร์การอาหารของไขมันและน้ำมัน. โอเดียนสโตร์. เชียงใหม่. 244 หน้า
อมรรัตน์ พรหมบุญ, สุนันทา ศักดิ์สูง และทิพย์มนต์ ภัทราคร. 2550. ปริมาณไซยาไนด์ตกค้างและเลซิตินจากไหมป่าอีรี่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 42 หน้า
อรทัย คุ้มใหญ่โต. 2541. องค์ประกอบทางเคมีและอายุการเก็บของน้ำมันสกัดจากหนอนไหมผ่านกรรมวิธี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 117 หน้า
วิภาสิริ เสภารัตนานันท์, อุทัย คันโธ, สุกัญญา จัตตุพรพงษ์, อรุณี อิงคากุล. 2548. การใช้มันเส้น และใบมันสำปะหลังในสูตรอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพ และปริมาณโปรตีนในไข่ไก่. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43 : สาขาสัตว์ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ. หน้า 43-52
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2005. Official Methods of Analysis. Association of Official Analytical Chemists, Inc., Washington, D.C.
Manoharan T., S. Chockalingam, and A. Noorjahan, 1982. Consumption and utilization of food plants by Euproctis fraterna; Indian. J. Ecol. 9: 88-92
Oya, O. and K. Ahmet, 2007. Storage stability of butter oils produced from sheep’s non-pasteurized and pasteurized milk. J. Food Chemistry.100:1026-1031
Pike, O.A. 1994. Fat Characteristic. Introduction to the Chemical Analysis of foods. Jones and Bartlett Publishers, London. 355 pp.
Sunarya H., H. Michael, and K.D. Taylor, 1995. Methods of extraction composition and stability of vitamin A and other components in dogfish (Squalus acanthias) liver oil. J. Food Chemistry.55:215-220