ผลของคลื่นความถี่วิทยุต่อคุณภาพการสีของข้าว

Main Article Content

พลากร สำรีราษฎร์
สุชาดา เวียรศิลป์
ณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ
Dieter von Hörsten
Wolfgang Lücke
สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ระดับความถี่ 27.12 MHz ต่อคุณภาพการสีของข้าวปทุมธานี 1 โดยให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่อุณหภูมิ 70, 85 และ 90 °C เป็นระยะเวลา 5, 10 และ 15 นาที หลังจากนั้นตรวจสอบคุณภาพการสี คือ เปอร์เซ็นต์ข้าวกล้อง เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว สีของข้าวสาร (L* และ b*) ความชื้นมาตรฐานเปียก และปริมาณอะไมโลส พบว่าการให้ความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุที่ระดับอุณหภูมิ 70 °C เป็นระยะเวลา 10, 15 นาที และ 85 °C เป็นระยะเวลา 5 นาที ทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวเพิ่มขึ้น ขณะที่สีของข้าวสารมีค่าใกล้เคียงกับที่  ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ แต่การให้ความร้อนด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ระดับมากกว่า 85 °C เป็นระยะเวลา 5 นาที ทำให้เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวและสีของข้าวสารมีสีขาวลดลง ดังนั้นการใช้คลื่นความถี่วิทยุสามารถเพิ่มคุณภาพการสีได้ โดยระดับที่เหมาะสมที่สุดคือการใช้อุณหภูมิ 70 °C เป็นระยะเวลา 10 นาที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ใจทิพย์ วานิชชัง และ ผดุงศักดิ์ วานิชชัง. 2547. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเก่าเพื่อชุมชน. รายงานการวิจัยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, ชลบุรี. 76 หน้า.

พลากร สำรีราษฎร์ สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ และ สุชาดา เวียรศิลป์. 2551. การดัดแปลงคุณภาพการหุงต้มของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39(3 พิเศษ): 354-358.

วินิต ชินสุวรรณ และ ภูมิสิทธิ์ วรรณชารี. 2545. การเร่งความเก่าของข้าวเปลือกหอมมะลิโดยการอบ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 33(6 พิเศษ): 261-267.

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ สมเกียรติ ปรัชญาวรากร และ ชัยยงค์ เตชะไพโรจน์. 2550. การจัดการข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการปรับปรุงคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38(5 พิเศษ):: 291-300.

กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2552. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2550-2554. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www. ricethailand.go.th/rice%20web/Introduce%20Rice/strategy.pdf (26 กรกฎาคม 2552).

อดิเทพ ทวีรัตนพาณิชย์ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ สมบรูณ์ เวชกามา งามชื่น คงเสรี และ สุนันทา วงศ์ปิยชน. 2542. การอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดเซซันเพื่อการเพิ่มปริมาณข้าวเต็มเมล็ด. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ 33: 134-145.

อีนดา แวดาลอ ละมุล วิเศษ และ ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. 2550. ผลของการอบแห้งแบบสองขั้นตอนและอุณหภูมิการเก็บรักษาต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38(6 พิเศษ): 326-330.

AOAC. 2005. Official Methods of Analysis of AOAC International. 18th ed. AOAC International. Gaithersburg, MD.

Birla, S.L., S. Wang, J. Tang and G. Hallman. 2004. Improving heating uniformity of fresh fruit in radio frequency treatments for pest control. Postharvest Biology and Technology 33: 205-217.

Inprasit, C. and A. Noomhorm. 2001. Effect of drying air temperature and grain temperature of different types of dryer and operation on rice quality. Drying Technology 19(2): 389-404.

Juliano, B.O. 1971. A simplified assay for milled-rice amylose. Cereal Science Today 16: 334 -336.

Juliano, B.O. 1985. Rice Chemistry and Technology. 2nd ed. American Association of Cereal Chemists, St. Paul. 774 pp.

Kunze, O. R. 1979. Fissuring of the rice grain after heated air drying. Transactions of the ASAE 22 : 1197-1201.

Nijhuis, H.H., H.M. Torringa, S. Muresan, D. Yuksel, C. Leguijt and W. Kloek. 1998. Approaches to improving the quality of dried fruit and vegetables. Trends in Food Science and Technology 9: 13-20.

Ryynänen, S. 1995. The electromagnetic properties of food materials: A review of the basic principles. Journal of Food Engineering 26: 409–429.

Taweerattanapnish, A., S. Soponronnarit, S. Wetchacama, N. Kongsiri and S. Wongpiyachon. 1999. Effect of drying on head rice yield using fluidization technique. Drying Technology 17: 345-353.

Tirawanichakul, S., S. Prachayawarakorn, W. Varanyanond, P. Tungtrakul and S. Soponronnarit. 2004. Effect of fluidized bed drying temperature on various qualities attributes of paddy. Drying Technology 22(7): 1731-1754.

Wang, S., J. Tang, J.A. Johnson, E. Mitcham, J.D. Hansen, G. Hallman, S.R. Drake and Y. Wang. 2003. Dielectric properties of fruits and insect pests as related to radio frequency and microwave treatments. Biosystems Engineering 85(2): 201-212.

Wiset, L., G. Srzednicki, M. Wootton, R. H. Driscoll and A.B. Blakeney. 2005. Effects of high-temperature drying on physicochemical properties of various cultivars of rice. Drying Technology 23: 2227-2237

Yap, A. B., B. O. Juliano and C. M. Perez. 1990. Artificial yellowing of rice at 60 °C. In: Proceedings of the 11th ASEAN Technical Seminar on Grain Postharvest Technology, Kuala Lumpur, Malaysia.