สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน

วารสารเกษตรฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ของปีที่ 26 มีบทความวิจัยนำเสนอท่านผู้อ่าน 10 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของนักวิจัยในแวดวงมหาวิทยาลัย

งานวิจัยประยุกต์ทางด้านการเกษตรมีหลายลักษณะ บางแบบผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้งานได้ทันที  โดยไม่ต้องมีการสร้างเครื่องมือที่ซับซ้อนขึ้นรองรับ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่อง “การเพิ่มแสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ต่ออัตราการสังเคราะห์แสงของปทุมมา” ผลการวิจัยคือ กระบวนการควบคุมแสง ที่ใช้เครื่องมือง่ายๆ ทำเองได้ในบ้านเรา จึงอาจนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย

เมื่อเทียบกับงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งคือ “ผลของคลื่นความถี่วิทยุต่อคุณภาพการสีของข้าว” ตัวเทคโนโลยีที่ใช้ คือเครื่องกำเนิดคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบในระดับห้องทดลอง ทำงานได้ทีละตัวอย่าง ดังนั้นถ้าจะนำผลวิจัยไปใช้จริง ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องกำเนิดคลื่นที่ทำงานได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึง ต้องมีงานวิจัยระดับที่ 2 มารองรับ จึงจะเกิดรูปธรรมในการนำผลการวิจัยไปใช้จริงในวงกว้าง

งานวิจัยที่มีประโยชน์หลายชิ้น ต้อง ”ขึ้นหิ้ง” ก็เนื่องจากขาดงานวิจัยระดับที่ 2 มาเสริม ดังนั้นถ้านักวิจัย  ในแวดวงการเกษตร ทำงานวิจัยให้ไปถึงระดับที่ 2 (ขั้นใช้งานได้จริงนอกห้องทดลอง) กันได้มากๆ ก็จะเป็นบาทฐานให้กับงานวิจัยระดับที่ 3 ซึ่งผลวิจัยสามารถนำไปใช้งานได้เชิงพาณิชย์ ประเทศก็จะพึ่งตนเองได้ในที่สุด

พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ

เผยแพร่แล้ว: 2020-08-14

ผลของคลื่นความถี่วิทยุต่อคุณภาพการสีของข้าว

พลากร สำรีราษฎร์ , สุชาดา เวียรศิลป์ , ณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ , Dieter von Hörsten, Wolfgang Lücke, สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์

101-106

Yield and Rotenone Content in Derris Root as Affected by Plant Age and Growing Conditions

อรุณ โสตถิกุล, พิทยา สรวมศิริ

119-126

อิทธิพลของการเพิ่มแสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ต่ออัตราการสังเคราะห์แสงของปทุมมา

พัชรี สิริตระกูลศักดิ์, สาวิตร มีจุ้ย, โสระยา ร่วมรังษี

127-135

ความผันแปรทางพันธุกรรมของยีน MC5R ต่ออัตรา การเจริญเติบโตในไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำ)

วิทย์ธพงษ์ เปี้ยวงค์ , ปุณเรศวร์ รัตนประดิษฐ์ , สัญชัย จตุรสิทธา

163-172

สภาวะทางโภชนาการและค่าโลหิตวิทยาในฤดูกาลต่าง ๆ ของม้าแกลบในจังหวัดลำปาง

สุนทร วิทยาคุณ , เจริญ แสงดี, นิรันดร กองเงิน , ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์

179-188