การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเป็นการค้า ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี

Main Article Content

เรือนแก้ว ประพฤติ
ปรีชา รัตนัง

บทคัดย่อ

เห็ดหอมสายพันธุ์ที่เพาะเป็นการค้าจำนวน 43 ตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปางและลำพูน ได้ถูกนำมาศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์และจำแนกความแตกต่างของสายพันธุ์ด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี โดยการ   นำตัวอย่างดอกเห็ดสดมาสกัดดีเอ็นเอและเพิ่มปริมาณด้วยไพรเมอร์แบบสุ่มขนาด 10 นิวคลีโอไทด์ จำนวน 27 ไพรเมอร์ พบว่ามี 21 ไพรเมอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ให้แถบดีเอ็นทั้งหมด 178 เป็นแถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน 99 แถบ   คิดเป็น 55.62 เปอร์เซ็นต์  มี 10 ไพรเมอร์ ให้แถบดีเอ็นเอที่พบเฉพาะในบางสายพันธุ์เท่านั้น สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลในการแยกชนิดของสายพันธุ์เห็ดหอม 4 สายพันธุ์ออกจากตัวอย่างอื่นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ สายพันธุ์ของโครงการหลวงหมอกจ๋าม สายพันธุ์ของผู้ใหญ่มิตร สายพันธุ์ของคุณวิไลวรรณและสายพันธุ์จากคุณอนุชิต การวิเคราะห์ค่าความดัชนีเหมือนทางพันธุกรรมพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.311 – 0.963 เมื่อสร้างเป็นแผนภูมิแสดงความใกล้ชิดทางพันธุกรรมด้วยวิธี UPGMA  สามารถแยกสายพันธุ์เห็ดหอมได้เป็น 6 กลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์ และศิริพงษ์ ศิริวานิชกุล. 2537. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 421 หน้า.

Albert, H.E. 1993. Breeding for mushroom product in Lentinus edodes. pp.111-122. In : S.T. Chang, J.A. Buswell and P.G. Miles (eds.). Genetics and Breeding of Edible Mushroom. Gordon and Breach, Philadelphia.

Chiu, S.W., A.M. Ma, F.C. Lin and D. Moore. 1996. Genetic homogeneity of cultivated strain of shiitake (Lentinus edodes) used in China as revealed by the polymerase chain reaction. Mycol Res. 100: 1393-1399.

Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue. Phytochemistry Bull. 19: 11-15.

Ito, Y., T. Fushimi and O.Y. Sonoe. 1998. Discrimination of species and strains of basidiomycete genus Coprinus by random amplified polymorphic DNA (RAPD) analysis. Mycosci. 39: 361-365.

Kwan, H.S., S.W. Chiu, K.M. Pang and S.C. Cheng. 1992. Strain typing in Lentinula edodes by polymerase chain reaction. Exp. Mycol. 16: 163-166.

Ohmasa, M. and H. Furukawa. 1986. Analysis of esterase and malate dehydrogenase isozymes of Lentinula edodes by isoelectric focusing for the identification and discrimination of stocks. Trans. Mycol. Soc.Jap. 27: 79-90.

Ramirez, L., V.Muez and M. Alfonso. 2001. Use of Molecular Markers to Differentiate between Commercial Strains of the Button Mushroom Agaricus bisporus. FEMS Microbiol. Lett. 198: 45-48.

Rohlf, F.J. 1998. NTSYS-pc Numerical taxonomic and multivariate analysis system. Version 2.01. Applied Biostatistics, Inc., New York. 78 p.

Royse, D.J., M.C. Spear and B. May. 1983. Single and joint segregation of marker loci in the shiitake mushroom, Lentinus edodes. J. Gen. Appl. Microbiol. 29: 217-222.

Terashima, K. and T. Matsumoto. 2004. Strain typing of shiitake (Lentinus edodes) cultivars by AFLP analysis, focus on heated-dried fruiting body. Mycosci. 45: 79-82.

Vos, P., R. Hogers, M. Bleeker, M. Reijans, T. van de Lee, M. Hornes, A. Frijters, J. Pot, J. Peleman, M. Kuiper and M. Zabeau. 1995. AFLP : A new technique for DNA fingerprinting. Nucleic Acids Res. 23: 4407-4414.

Zhang, Y. and F.I. Molina. 1995. Strain typing of Lentinula edodes by random amplified polymorphic DNA assay. FEMS Microbiol. Lett. 131: 17-20.