Yield and Rotenone Content in Derris Root as Affected by Plant Age and Growing Conditions

Main Article Content

อรุณ โสตถิกุล
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

ในกรณีของรากหางไหลที่มีอายุ 6 เดือน ซึ่งปลูกในภาชนะต่าง ๆ ได้แก่ ถุงพลาสติกดำ ขนาด 10 x 20 นิ้ว และ 13 x 26 นิ้ว  ถังพลาสติกดำขนาด 15 x 15 นิ้ว และปลูกในแปลง พบว่ารากฝอย มีปริมาณโรทีโนน 1.38, 1.42ม 0.93 และ 3.09% ตามลำดับ สำหรับรากแขนง มีปริมาณโรทีโนนเพิ่มขึ้นเป็น 2.06, 3.05, 3.05 และ 4.24% ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักรากสดที่ได้จากทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน รากหางไหลที่มีอายุ 9 เดือน ปริมาณโรทีโนนที่พบในรากฝอยมีค่าเท่ากับ 1.31, 3.05, 1.85 และ 3.15% ตามลำดับ และรากแขนงมีค่าเท่ากับ 2.70, 4.16, 3.74 และ 4.55% ตามลำดับ ต้นหางไหลที่ปลูกในถุงพลาสติกดำ ขนาด 13 x 26 นิ้ว มีน้ำหนักรากสด (101.80 กรัม/ต้น) และน้ำหนักรากแห้ง (47.20 กรัม/ต้น) ซึ่งมากที่สุดและมากกว่าน้ำหนักรากสด (53.20 กรัม/ต้น) และน้ำหนักรากแห้ง (24.55 กรัม/ต้น) ที่ได้จากต้นหางไหลที่ปลูกในแปลง สำหรับรากหางไหลที่มีอายุ 12 เดือน ปริมาณโรทีโนนที่พบในรากฝอยมีค่าเท่ากับ 1.51, 3.29, 2.02 และ 3.86% ตามลำดับ และในรากแขนงมีค่าเท่ากับ 3.18, 4.88, 4.09 และ 5.00% ตามลำดับ และน้ำหนักรากสด (145.00 กรัม/ต้น) และน้ำหนักรากแห้ง (65.53 กรัม/ต้น) ของต้นหางไหลที่ปลูกในถุงพลาสติกดำ ขนาด 13 x 26 นิ้ว ยังคงมีค่ามากที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างจากต้นหางไหลที่ปลูกในภาชนะอื่น ส่วนน้ำหนักรากสด (76.68 กรัม/ต้น) และน้ำหนักรากแห้ง (34.68 กรัม/ต้น) ของต้นหางไหลที่ปลูกในแปลงมีค่าน้อยที่สุด แตกต่างจากทุกกรรมวิธี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

EPA, 2002. Controlling pests with rotenone. (Online). Environment Protection Agency. Fact Sheets, Office of Pesticide Programs, U.S.A. Available:http://www.epa.gov/ oppsrrd1/REDs/facsheets/rotenone_fs.pdf (November 17, 2007)
Pitiyont, V. and A. Sangwanich. 1997. Extraction, isolation and identification of pesticidal compounds from D. elliptica. The Second Conference of Agricultural Toxic Substance Division, Department of Agriculture, Bangkok. pp. 84-92.
Sangmaneedet, S., K. Kanistanon, P. Papirom, and T. Tessiri. 2005. Uses of Thai medicinal herb (Derris elliptica (Roxb.) Benth) in control of fly larva population and its application in the treatment of cutaneous myiasis in animals. KKU. Res. J. 10(1): 22-30.
Srijukavan, S., A. Kasampasart, P. Kaidsiri and N. Yudjan. 1988. Growth and rotenone content in various age of derris. Kasetsart Sci. J. 21(3): 166 – 175.
Tongma, S., A. Sottikul, Y. Kaosumain, and N. Tiengburanaturm. 2004. Appropriate cultural practice for derris root production. LARTC. Rajamongala Institute of Technology. Report. 48 p.