ผลของระดับแคลเซียมและแมกนีเซียมต่อการเจริญเติบโต ของคะน้าจีนที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์

Main Article Content

สุภกิจ ไชยพุฒ
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของระดับแคลเซียมและแมกนีเซียมในสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบของคะน้าจีนที่ปลูกโดยระบบไฮโดรโพนิกส์ ดำเนินการโดยให้พืชได้รับความเข้มข้นของแคลเซียม และแมกนีเซียมแตกต่างกัน ดังนี้ 1) แมกนีเซียม 3 ระดับ คือ 63 (ความเข้มข้นในสารละลายสูตร CMU#2 ใช้เป็นกรรมวิธีควบคุม), 94.5 และ 126 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 2) แคลเซียม 2 ระดับ คือ 85 (ความเข้มข้นในสารละลายสูตร CMU#2 กรรมวิธีควบคุม) และ 127 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของแคลเซียมและแมกนีเซียมที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางความสูงของลำต้น จำนวนใบ และ น้ำหนักสด เมื่อเก็บเกี่ยว ระดับแคลเซียมไม่มีผลต่อความเข้มของสีใบแต่การให้แมกนีเซียมเพิ่มขึ้นที่ระดับ 94.5 และ 126 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ใบมีสีเขียวเพิ่มขึ้นกว่าคะน้าที่ได้รับแมกนีเซียมที่ระดับ 63 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียม เนื้อใบมีสีเหลือง ขณะที่เส้นใบยังมีสีเขียว วัดความเข้มสีใบได้ 34.25 SPAD unit ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบพบว่าระดับแคลเซียมที่มากขึ้น ส่งผลให้ความเข้มข้นของแมกนีเซียมในใบลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางกลับกัน เมื่อระดับแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นส่งผลให้แนวโน้มของแคลเซียมในใบลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไฉน ยอดเพชร. 2542. พืชผักในตระกูลครูซิเฟอร์. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 195 หน้า.

ดิเรก ทองอร่าม. 2547. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ธรรมรักษ์การพิมพ์, ราชบุรี. 724 หน้า.

เมืองทอง ทวนทวี และสุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ. 2532. สวนผัก. โรงพิมพ์กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ. 325 หน้า.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.

โสระยา ร่วมรังษี. 2548. การผลิตพืชสวนแบบไม่ใช้ดิน. ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 122 หน้า.

อัญชัญ วิรัชลาภ. 2544. การเพาะเลี้ยงอับละอองเรณูและการรวมโปรโตพลาสต์คะน้าจีนและบร็อคโคลี่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 หน้า.

Asemaneh, T. and S.M. Ghaderian. 2007. Responses to Mg/Ca balance in an Iranian serpentine endemic plant, Cleome heratensis (Capparaceae) and a related non-serpentine species, C.foliolosa. Plant Soil 293: 49-59.

Marschner, H. 1997. Mineral nutrition of higher plants. Academic press, London. 889 p.

Supanjani, A.R.M. Tawaha, M.S. Yang, H.-S. Han and K.D. Lee. 2005. Calcium effects on yield, mineral uptake and terpene components of hydroponic Chrysanthemum coronarium L. J. Agric. & Biol. Sci. 1(2): 146-151.

Udding, J., J. Gelang-Alfredsson, K. Piikki and H. Pleijel. 2007. Evaluating the relationship between leaf chlorophyll concentration and SPAD-502 chlorophyll meter readings. Photosynth Res. 91: 37–46.