อิทธิพลของการเพิ่มแสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ต่ออัตราการสังเคราะห์แสงของปทุมมา

Main Article Content

พัชรี สิริตระกูลศักดิ์
สาวิตร มีจุ้ย
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

ผลของการเพิ่มแสงไฟคั่นช่วงกลางคืนต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของปทุมมา ดำเนินการโดยปลูก ปทุมมา เมื่อ 8 มิถุนายน 2550 ในสภาพอุณหภูมิเฉลี่ย 25 - 34 C ความชื้นสัมพัทธ์ (RH) 57.73 % ความยาววัน 12 ชั่วโมง เมื่อต้นพืชเริ่มงอกประมาณ 1 นิ้ว จึงย้ายต้นกล้ามาให้ได้รับกรรมวิธีทดลอง 2 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1) ปลูกพืชโดยให้แสงธรรมชาติ (กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2) การปลูกโดยให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืน (night break) ในช่วงเวลา 20.00 - 22.00 น. นาน 2 ชั่วโมง ด้วยหลอดอินแคนเดสเซนต์ (incandescent) 100 วัตต์  เป็นแหล่งให้แสงไฟ จากการทดลองพบว่า การให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืนมีผลต่อความสูงของต้นปทุมมา ทำให้มีความสูงมากกว่ากรรมวิธีควบคุม     โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำนวนใบต่อต้น จำนวนต้นต่อกอ จำนวนวันที่ดอกจริงดอกแรกบาน และ  สีใบ ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ การให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ทำให้ความยาวก้านดอกดีกว่ากรรมวิธีควบคุม แต่ความยาวช่อดอก จำนวนกลีบประดับชมพูและกลีบประดับเขียว ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ส่วนอัตราการสังเคราะห์แสงของปทุมมา พบว่า มีค่าสูงสุดในช่วง 10.00 น. ของระยะการเจริญเติบโตเมื่อใบ 3 ใบคลี่เต็มที่ในทั้งสองกรรมวิธี คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทั้งสองกรรมวิธี ส่วนค่าปริมาณความเข้มแสงบนผิว   ใบพืช (PAR) มีค่าสูงสุดในช่วง 14.00 น. โดยกรรมวิธีให้แสงไฟคั่นช่วงกลางคืน ช่วยให้มีอัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเมื่อเวลา 21.00 น. โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2550. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตปทุมมาGood Agricultural Practice (GAP) For Curcuma. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/gap/gap_ Curcuma.html (10 มิถุนายน 2552).
ดารณี เกียรติสกุล และตระกูล ตันสุวรรณ. 2545. ผลของโปแตสเซียมคลอเรตต่ออัตราการสังเคราะห์แสง ปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจนในลำไย. วารสารเกษตร 18(3):180-189.
นิวัติ เรืองพานิช. 2535. วิทยาศาสตร์ทุ่งหญ้า. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 260 หน้า.
พูนพิภพ เกษมทรัพย์. 2549. ชีววิทยา 2 : สมดุลของน้ำในพืช ธาตุอาหารพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง นิเวศสรีรวิทยาของการสังเคราะห์แสง การหายใจและเมแทบอลิซึมของไขมัน การเคลื่อนย้ายสารอาหารในพืช การเจริญเติบโตของพืช การเคลื่อนไหวของพืชและสรีรวิทยา การตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก ออกซินควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนา ไซโตไคนินควบคุมการแบ่งเซล จิบเบอเรลลินควบคุมความสูงของพืช เอธิลีนฮอร์โมนที่เป็นแก๊ส Abscissic acid สรีรวิทยาของการควบคุมการออกดอก สรีรวิทยาการตอบสนองต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม. มูลนิธิ สอวน., กรุงเทพ ฯ. 440 หน้า.
พูนพิภพ เกษมทรัพย์ เจษฎา ภัทรเลอพงษ์ เจริญศักดิ์ โรจฤทธิ์พิเชษฐ์ และเพ็น สายขุนทด. 2536. รายงานเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งใบและอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิของใบมันสำปะหลัง 3 พันธุ์. คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 105-113 หน้า.
สุนทรี ยิ่งชัชวาล และพรรณี ชื่นนคร. 2550. ข้อมูล พื้นฐานทางสรีรวิทยาของมังคุดของจันทบุรี. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน. 60 หน้า.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 252 หน้า.
อภิชาติ ชิดบุรี ฉันทนา สุวรรณธาดา วีณัน บัณฑิตย์ ทากูจิ โอยามา และโสระยา ร่วมรังษี. 2550. ผลของความยาววันต่อการเติบโต การสังเคราะห์แสง และการสะสมอาหารในปทุมมา. วารสารเกษตร 23(2) : 105 - 113.
อรวรรณ วิชัยลักษณ์. 2548. ปทุมมา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 136 หน้า.
Chang, C. S. 2000. Dormancy in curcuma (Curcuma alismatifolia). [Online]. Available: http://www. tndais.gov.tw/RBulletin/paper34.3.html. May 20, 2009).
Chidburee, A., W. Bundittaya, C. Suwanthada, N. Ohtake, K. Sueyoshi, T. Ohyama and S. Ruamrungsri. 2007. Effects of red light on growth, photosynthesis and food reserves in curcuma alismatifolia Gagnep. Thai Journal of Agricultural Science 40(1-2) : 57 - 63.
Gosselin, A., H. L. Xu and M. Dafiri. 1996. Effects of supplemental lighting and fruit thinning on fruit yield and source- sink relations of greenhouse tomato plants. Journal of the Japanese Society for Horticultural Science 65 (3) : 595-601.
Hagiladi, A., N. Umiel, X. H. Yang and Z. Gilad. 1997a. Curcuma alismatifolia. I. Plant morphology and effect of tuberous root number on flowering date and yield of inflorescences. Acta Horticulturae 747 - 753.
Hagiladi, A., N. Umiel and X.H. Yang. 1997b. Curcuma alismatifolia. II. Effects of temperature and day length on the development of flower propagules. Acta Horticulturae 430: 755-761.
Inamullah, A. and A. Isoda. 2005. Adaptive changes in soybean and cotton to water stress I. Transpiration changes in relation to stomatal area and stomatal conductance. Plant Production Science 8 : 16-26.
Krause, G.H. and E. Weis. 1991. Chlorophyll fluorescence and photosynthesis: The Basics. Annual review of plant physiology and plant molecular biology 42 : 313 - 349.
Kuehny, J. S., M. Sarmiento, M. P. Paz, and P.C. Branch. 2006. Effect of light intensity, photoperiod and plant growth retardants on production of Zingiberaceae as pot plants. Acta Horticulturae International Symposium on New Floricultural Crops. [Online]. Available: http://www.actahort.org/books/ 683/683_14.htm.7 (August 22, 2007).
Ruamrungsri, S., J. Uthai-butra, O. Wichailux, N. Ohtake, K. Sueyoshi and T. Ohyama. 2005. Effect of night break treatments on off-season flowering of Curcuma alismatifolia Gagnep. pp. 37 - 38. In: The 1st International Symposium on Food Production and Environmental Conservation in East Asia. Niigata University, Niigata. Japan.
Stirling, K. J., R. J. Clark, P. H. Brown and S. J. Wilson. 2002. Effect of photoperiod on flower bud initiation and development in myoga (Zingiber mioga Roacoe). Scientia Horticulturae 95(3) : 261-268.