ผลของรังสีอัลตราไวโอเลตซี (UV-C) ต่อ การกลายพันธุ์ของกล็อกซิเนีย

Main Article Content

ยุพาภรณ์ ศิริโสม
สมปอง เตชะโต

บทคัดย่อ

จากการนำชิ้นส่วนใบกล็อกซิเนีย (Sinningia speciosa) มาฉายรังสี UV-C ปริมาณ 0 - 9 kJ/m2 จากนั้นนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตรชักนำยอดรวม Murashige and Skoog (MS) เติม indole acetic acid (IAA) 1 มล./ล. ร่วมกับ kinetin (KN) 5 มล./ล. หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 28 วัน พบว่า ที่ระดับรังสี UV-C 4.52 kJ/m2 ให้อัตราการรอดชีวิตของชิ้นส่วนใบลดลงครึ่งหนึ่ง (LD50) โดยความสามารถในการสร้างยอดรวมในแต่ละชุดทดลองมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบการสร้างดอกในหลอดทดลองจากชิ้นส่วนก้านใบที่ฉายรังสี UV-C ปริมาณ 5.4 kJ/m2 แต่ดอกพัฒนาไม่สมบูรณ์  ในขณะที่ชิ้นส่วนใบพัฒนาเป็นยอดรวมตามปกติ เมื่อตัดยอดที่ได้จากการฉายรังสี UV-C ปริมาณต่างๆ มาชักนำรากบนอาหารสูตร ½ MS เป็นเวลา 14 วัน แล้วย้ายลงแปลงปลูกเป็นเวลา 60 วัน ศึกษาลักษณะทางสัณฐานของต้น พบว่า ต้นที่ได้รับการฉายรังสี UV-C มีความกว้างทรงพุ่ม  ความยาวและความกว้างใบ  เส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวดอกมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ  แต่ความสูงของลำต้นไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  สำหรับผลของรังสี UV-C ต่อลักษณะดอกนั้น พบว่า มีลักษณะดอกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สีดอกเข้มขึ้นหรืออ่อนลง กลีบดอกหนาสีแดงคล้ายกำมะหยี่  เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนวัฒน์ แก่นศักดิ์ศิริ และ เตือนใจ โก้สกุล. 2549. ผลของรังสีแกมมาต่อกล็อกซิเนีย (Sinningia speciosa). วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ 5(1): 13-23.
ปรัชพรรณ หนูจีน. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญ และการออกดอกของกล้วยไม้เหลืองจันทบูร (Dendrobium friedericksianum Rchb.f.) ในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 53 หน้า.
ภาณุพงศ์ ศรีอ่อน. 2548. กล็อกซิเนีย. เอกสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 13 หน้า.
อรุณี ม่วงแก้วงาม และ สมปอง เตชะโต. 2535. การขยายพันธุ์กล็อกซิเนียโดยไม่อาศัยเพศในหลอดทดลอง. วารสารแก่นเกษตร 20(6): 336-342.
Al-Safadi, B, Z. Ayyoubi and D. Jawdat. 2000. The effect of gamma irradiation on potato microtuber production in vitro application of chemical mutagen. Indian Journal of Genetics and Plant Breeding 61(3): 183-187.
Charbaji, T. and I. Nabulsi. 1999. Effect of low doses of gamma irradiation on in vitro growth of grapevine. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 57(2): 129-132.
Ibrahim, R., W. Mondelaers and P.C. Debergh. 1998. Effect of X-irradiation on adventitious bud regeneration from in vitro leaf explants of Rosa hybrida. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 54(1): 37-44.
Luis, J.C., R. Matin Perez and F. Valdes Gonzalez. 2007. UV–B radiation effects on foliar concentrations of rosmarinic and carnosic acids in rosemary plants. Food Chemistry 101(3): 1211-1215.
Okamura, M., N. Yasuno, M. Ohtsuka, A. Tanaka, N. Shikazono and Y. Hase. 2003. Wide variety of flower-color and -shape mutants regenerated from leaf cultures irradiated with ion beams. Nuclear Instruments and Methods in Physics Research B 206: 574-578.
Park, J.S., M.G. Choung, J.B Kim, B.S. Hahn, J.B. Kim, S.C. Bae, K.H. Roh, Y.H. Kim, C.I. Cheon, M.K. Sung and K.J. Cho. 2007. Genes up-regulated during red coloration in UV-B irradiated lettuce leaves. Plant Cell Reports 26(4): 507-516.
Pinet-Leblay, C., F.X. Turpin and E. Chevreau. 1992. Effect of gamma and ultraviolet irradiation on adventitious regeneration from in vitro cultured pear leaves. Euphytica 62(3): 225-233.
Sim, G.E., C.S. Loh and C.J. Goh. 2007. High frequency early in vitro flowering of Dendrobium Madame Thong-In (Orchidaceae). Plant Cell Reports 26(4): 383-393.
Whittle, C.A. and M.O. Johnston. 2003. Male-biased transmission of deleterious mutations to the progeny in Arabidopsis thaliana. PNAS 100(7): 4055-4059.
Wongpiyasatid, A. and P. Hormchan. 2000. New mutants of perennial Portulaca grandiflora through gamma radiation. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 34(3): 408-416.