การถ่ายทอดลักษณะดอกของดาวเรือง

Main Article Content

สิริกัญญา ชมวิศรุตกุล
ณัฐา ควรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของดาวเรือง โดยทำการผสมข้ามพันธุ์และผสมสลับกลับพ่อแม่ของจำนวนทั้งหมด 42 คู่ผสม พบว่า การถ่ายทอดลักษณะสีของกลีบดอก มียีนที่ควบคุมมากกว่า 1 คู่ อาจมีจำนวน 3 คู่ โดยยีนแต่ละคู่แสดงอาการ ข่มไม่สมบูรณ์ ทำปฏิกิริยากันแบบบวกสะสม (additive) การถ่ายทอดลักษณะดอกดาวเรือง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดอกย่อยวงนอก (ray floret) และดอกย่อยกลาง (disc floret) ยีนควบคุมลักษณะดอกย่อยวงนอก อาจมีได้ 1 คู่ แสดงการข่มแบบสมบูรณ์ ส่วนยีนควบคุมลักษณะดอกย่อยกลางอาจมีได้ 1 คู่ แสดงผลแบบบวกสะสม โดยที่แต่ละลักษณะที่ศึกษาเป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาจำนวนโครโมโซมปลายรากพบว่า ดาวเรืองทุกพันธุ์ที่ศึกษามีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน คือ 2n = 24 และเท่ากับลูกผสมของทุกคู่ผสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พูลทรัพย์ สุภา. 2534. การศึกษาลักษณะและการประเมินประชากรดาวเรืองในภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 134 หน้า.
ไมตรี ปทุมวงษ์. 2541. ไม้ดอกเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 160 หน้า.
วัลลภ พรหมทอง. 2541. ไม้ดอกยอดฮิต ตระกูลคอมโพซิเต้. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 115 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2531. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 291 หน้า.