ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชตระกูลขิงบางชนิดโดยรูปแบบไอโซไซม์

Main Article Content

พิชัย ใจกล้า
เกศิณี ระมิงค์วงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ทำกับพืชตระกูลขิง 15 ชนิด ได้แก่ กระชาย กระชายดำ กระวานขาว กะทือ ขมิ้นขาวขมิ้นชัน ขมิ้นดำ ขมิ้นอ้อย ข่า ข่าน้ำ ข่าหยวก ข่าใหญ่ ขิง ไพล และไพล ใช้รูปแบบไอโซไซม์ 4 ชนิด ได้แก่ acid phosphatase, esterase, malate dehydrogenase และ peroxidase ปรากฏรูปแบบไอโซไซม์จำนวนแถบ 1-4 แถบ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพืชตระกูลขิงออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม ก มีค่า% similarity อยู่ระหว่าง 0-72% ได้แก่ ข่าน้ำ และ ไพล กลุ่ม ข มีค่า% similarity อยู่ระหว่าง 0-72% ได้แก่ ขมิ้นชัน และ ขมิ้นอ้อย กลุ่ม ค มีค่า% similarity อยู่ระหว่าง 0-32% ได้แก่ ข่า  ข่าหยวก ข่าใหญ่ ขมิ้นขาว กระวานขาว และกระชาย และกลุ่ม ง มีค่า% similarity อยู่ระหว่าง 0-16% ได้แก่ ขมิ้นดำ ขิง ไพลดำ กะทือ และ กระชายดำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวนพิศ อรุณรังสิกุล. 2531. เทคนิคการตรวจสอบและจำแนกพันธุ์พืชโดยใช้ Isozyme pattern. น. 16-30. ในเอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง “การตรวจแยกสายพันธุ์พืชโดยการใช้ Isozyme pattern และ RAPD” ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
ชวลิต นิยมชมรม. 2543. พันธุ์ไม้ในป่าฮาลาบาลา. ฝ่ายโครงการพิเศษกองแผนงาน กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 152 น.
วรรณภา วีระภักดี. 2540. การรวบรวมและศึกษาการเจริญของพืชสกุลกระเจียวบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 92 น.
Anderson, J.W. 1968. Extraction of enzymes and subcellular organelles from plant tissue. Phytochem. 7: 1793.
Larsen, K. 1996. A preliminary checklist of the Zingiberaceae of Thailand. Thai For. Bull. (Bot.). 24: 5-49.
Simpson, M.J.A. and L.A. Withers. 1986. Characterization of Plant Genetic Resources using Isozyme Electrohoresis : A Guide to the Literature. IBPGR, Rome. 120 p.
Sneath, P.H.A. and R.R. Sokal. 1973. Numerical Taxonomy. Freeman, San Francisco. 230 p.