งานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์: ความสมดุลที่ต้องการความพอดี
ด้วยระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัยของรัฐบาลที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ของชาติไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออก การแก้ปัญหาความยากจนของ ขุมชนรากหญ้า ล้วนทำให้น้ำหนักของงานวิจัยของประเทศในปัจจุบันนี้ กำลังมุ่งไปสู่งานวิจัยประยุกต์หรืองานวิจัยเชิงพัฒนามากกว่างานวิจัยพื้นฐาน ในสัดส่วนที่เทียบกันไม่ได้ พัฒนาการของ
ทิศทางการวิจัยลักษณะนี้จะส่งผลเสียหรือผลดีต่อประเทศชาติอย่างไรบ้าง เป็นสิ่งที่ผู้ดูแลนโยนายการวิจัยของประเทศและของสถาบันการศึกษาต่างเฝ้ามองด้วยใจจดจ่อ
ถ้าพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลาง และศึกษาผลกระทบในหลายมิติพร้อมๆ กัน นโยบายสนับสนุนงบประมาณการวิจัยชิงบูรณการเป็นหลักอย่างในปัจจุบันน่าจะส่งผลดีกับประทศเพียงแต่การทุ่มเทงบประมาณวิจัย ทิศทางเดียวแบบนี้ควรจะเป็นไปเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 5 ปี หลังจากนั้นการแบ่งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยแบบพื้นฐานหรืองานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่จะต้องเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่พอเหมาะ ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีทุนองค์ความรู้พื้นฐานจากการวิจัยอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ค่อนข้างเพียงพอ สำหรับประยุกต์สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออกของประเทศบนฐานเทคโนโลยีระดับปานกลางที่ยังต้องผสมผสานเทคโนโลยีกับแรงงานแต่ยังไม่เพียงพอที่จะผลิตสินค้าที่ต้องการฐานข้อมูลและเทคโนโลยีระดับที่เทียบเคียงกับประเทศอุตสาหกรรมอย่างยุโรปและอเมริกา ที่ใช้เทคโนโลยีอวกาศ หรือเทคโนโลยีระดับนาโนต่างๆ
ในสถานการณ์ปังจุบันการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและสร้างรายได้กลับสู่ประเทศในทันที เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเพิ่มฐาน GDP ของประเทศและแก้ปัญหาความยากจน หลังจากนั้นเมื่อฐาน GDP ใหญ่ขึ้นการแบ่งสัดส่วนงบประมาณเพื่อการวิจัยบนฐาน GDP จะทำให้มีตัวเลขงบประมาณรวมเพื่อการวิจัยเพิ่มขึ้นได้อีกมาก เมื่อถึงเวลานั้นการแบ่งสัดส่วน งบประมาณเพื่อการวิจัยพื้นฐานจะไม่ส่งผลกระทบต่องานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและการเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศแต่อย่างใด
มีข้อที่ควรจะระวังอยู่เพียงอย่างเดียว คือ เมื่อถึงเวลานั้นจะเหลือนักวิจัยของประเทศที่มีศักภาพในการวิจัยองค์ความรู้เชิงลึกสักกี่คน ครุกัณฑ์เพื่อการวิจัยจะยังทันสมัยอยู่หรือไม่ ถ้าราจะต้องหันกลับมาสร้างบุคลากรเพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์เชิงลึกกันใหม่ คงไม่ทันการอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุความสมดุลย์ของงวิจัยของประเทศด้านวิจัยพื้นฐานและด้านวิจัยประยุกต์จึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลนโยบายของชาติจะต้องคำนึงถึง และต้องมีแผนงานที่ชัดเจนตั้งแต่ปัจจุบัน
เผยแพร่แล้ว: 2020-09-25