การมีส่วนร่วมของเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้ง และกะเหรี่ยงในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ไพบูลย์ สุทธสุภา
วรทัศน์ อินทรักอัมพร
กฐิน ศรีมงคล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อหาความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาวเขาเผ่าม้ง และเผ่ากะเหรี่ยง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และสังคมของชาวเขากับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ตลอดจนเพื่อศึกษาความต้องการ  และข้อเสนอแนะของชาวเขาที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ชาวเขาเผ่าม้ง และกะเหรี่ยงใน 2 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านขุนกลางเหนือ และหมู่บ้านท่าส้มป่อย อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ แห่งละ 40 ครัวเรือน รวมเป็น 80 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ t-test, Chi-square test และPearson Product Moment Correlation


            จากการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาวเขาทั้ง 2 เผ่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติในระดับความเชื่อมั่นมั่น 0.01 โดยที่ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีระดับการมีส่วนร่วมสูงกว่าชาวเขาเผ่าม้ง จากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อายุ สมาชิกในครัวเรือนรายได้ การใช้ประโยชน์จากป่า การได้รับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ (หอกระจายข่าว, วิทยุและโทรทัศน์) ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่วนการเป็นสมาชิกองค์การต่าง ๆ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ป่าไม้ และเกษตรป่าไม้ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชาวเขาเผ่าม้ง สำหรับความต้องการของชาวเขานั้น ชาวเขาเผ่าม้งต้องการการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ ต้องการให้ชาวบ้านดูแลป่ากันเอง และต้องการสิทธิทำกิน ส่วนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนั้นต้องการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ ต้องการความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ต้องการปลูกป่า และต้องการให้ชาวบ้านดูแลป่าไม้กันเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. 2534. การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท” วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทัศน์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์
ลีศึก ฤทธิ์เนติกุล. 2540. “การมีส่วนร่วมของชาวเขาเผ่าม้งบ้านคอยปุย-ช่างเคี่ยนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย จังหวัดเชียงใหม่” รายงานการวิจัย