การเปรียบเทียบความหลากหลายของแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติในแปลงผักคะน้าที่ควบคุมด้วยสารเคมีฆ่าแมลงและสารชีวภาพ

Main Article Content

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การควบคุมแมลงศัตรูพืชผักในปัจจุบันมีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปจากการใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่มีพิษสูงไปเป็นสารชีวภาพ เช่น เชื้อโรคแมลง และสารสกัดจากพืชสมุนไพรในการควบคุมแทน เนื่องจากความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีฆ่าแมลงที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีสูงขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยของการใช้สารชีวภาพเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชในระดับเกษตรกรมีอยู่น้อยมาก  ดังนั้น จึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบจำนวนชนิดและปริมาณแมลงของศัตรูผักและศัตรูธรรมชาติที่พบจากแปลงผักคะน้า 2 ประเภท  คือแปลงผักที่ใช้สารเคมีฆ่าแมลงและแปลงผักที่ใช้สารชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชขึ้น  โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วงฤดู คือฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ของฤดูปลูกประจำปี พ.ศ. 2544-2545 ณ ตำบลบึงพระ  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก โดยทำการตรวจนับจำนวนชนิดและปริมาณของแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติที่พบจากแปลงทั้ง 2 ประเภท ตลอดฤดูปลูกในแต่ละช่วงและนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินถึงความปลอดภัยของการใช้สารชีวภาพ โดยอาศัยความหลากหลายของแมลงเป็นเครื่องบ่งชี้


จำนวนชนิดของแมลงทั้งหมดที่พบทั้งแมลงศัตรูพืชผักและศัตรูธรรมชาติจากแปลงพ่นสารชีวภาพมีจำนวนสูงกว่าแปลงที่พ่นสารเคมีฆ่าแมลงราว 2.00-5.25 เท่า ในขณะที่จำนวนปริมาณของแมลงที่พบก็สูงกว่าราว 1.96-4.12 เท่า เช่นกัน แมลงศัตรูผักที่พบมากคือ หนอนใยผัก (Plutella pylostella L. ) และด้วงหมัดกระโดด (Phyllotreta sp.) แมลงตัวห้ำที่พบมากที่สุดและมีแนวโน้มที่น่าสนใจคือ มดคันไฟ (Solenopsis geminata (F.) ในขณะที่แตนเบียนที่พบสูงสุด คือ แตนเบียนหนอนใยผัก Cotesia plutellae (Kurdjumov)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2540), สถิติการเพาะปลูกและการส่งออกพืชผักต่าง ๆ. กองแผนงาน, กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ. (2542). แมลงศัตรูผัก. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตว-วิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
กองกีฏและสัตววิทยา. (2543). คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี 2543. กองกีฏและสัตว- วิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
กองวัตถุมีพิษการเกษตร. (2538). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรและความสนใจในโครงการ ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร. กองวัตถุมีพิษการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
จักรพงศ์ พิริยพล ปิยรัตน์ เขียนมีสุข และลัดดาวัลย์ งามวงศ์ธรรม. (2540). การเลี้ยงขยายแตนเบียนหนอนใยผัก. วารสารกีฏและสัตววิทยา 19(1): 42-45.
ชัยพัฒน์ จิรธรรมจารี บงกชรัตน์ ปิติยนต์ วินัย ปีติยนต์ สุรพล วิเศษสรรค์ และอารมย์ แสงวนิชย์. (2535). สูตรผสมในการผลิตวัตถุมีพิษจากสะเดา. รายงานผลการวิจัย. กองวัตถุมีพิษการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
นุชรีย์ ศิริ ทัศนีย์ แจ่มจรรยา และจิราภรณ์ เสวนา. (2544). การควบคุมแมลงศัตรูพักวงศ์กะหล่ำด้วยแมลงศัตรูธรรมชาติ. รายงานผลงานวิชาการประจำปี. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ/ หาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
มารศรี อุดมโชค และอารมย์ แสงวนิชย์. (2530). การใช้สารสกัดจากสะเดาเพื่อป้องกันกำจัดหนอนใยผักและหนอนกระทู้ผักในผักคะน้า. รายงานผลการค้นคว้าวิจัย. กองวัตถุมีพิษการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
มาลี ชวนะพงศ์ วิภาดา ปลอดครบุรี อรนุช กองกาญจนะ ดำรง เวชกิจ จีรนุช เอกอำนวย กอบเกียรติ์ บันสิทธิ์ อุทัย เกตุนุติ อัจฉรา ตันติโชดก อรพรรณ วิเศษสังข์ จุมพล สาระนาค เสริมศิริ คงแสงดาว สุปราณีอิ่มพิทักษ์ จินตนา ภู่มงกุฏชัย และสมเกียรติ ขำเอี่ยม. (2543). การป้องกันกำจัดศัตรูคะน้าโดยวิธีผสมผสาน. ใน: รายงานผลการดำเนินงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานครั้งที่ 3 โรงแรมโนโวเทล ริมแพรีสอร์ท จังหวัดระยอง, 29-31 สิงหาคม 2543. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
วัชรี สมสุข. (2544). ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง. ใน: เอกสารวิชาการ เรื่องการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อเกษตรยังยืน. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
วินัย รัชตปกรณ์ชัย. (2533). การศึกษาประสิทธิภาพสมุนไพรบางชนิดในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผักใน: รายงานการค้นคว้าและวิจัยปี 2533. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
วินัย รัชตปกรณ์ชัย. (2535). แมลงศัตรูพืชผักตระกูลกะหล่ำและแนวทางการบริหาร. หน้า 143-152. ใน: แมลง และสัตว์ศัตรูที่สำที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจและการบริหาร. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สมปอง ทองดีแท้ วรวิทย์ สุจิรธรรม และธัญญา ขำเลิศ (2535). ทดสอบการใช้เมล็ดสะเดาทดแทนสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชผักอนามัย. รายงานผลการวิจัย. กองวัตถุมีพิษการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สุภาณี พิมพ์สมาน นุชรีย์ ศิริทัศนีย์ แจ่มจรรยา และยนต์ สุตภักดี. (2532). แนวทางการใช้สารสกัดจากสะเดาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Colwell, R. K., and D. J. Futuyma. (1971). On the measurement of niche breadth and overlap. Ecology 52:567-576.
Holldobler, B., and E.O. Wilson. (1990). The Ants. The Belknap Press of Harvard University Press, Cambridge.
Lofgren, C.S., and R.K. Vander Meer. (1986). Fire Ants and Leaf-Cutting Ants: Biology and Management. Westview Press, Boulder.
Mitchell, E. R., F. C. Tingle, R. C. Navasero-Ward, and M. Kehat. (1997). Diamondback moth (Lepidoptera: Plutellidae): Parasitism by Cotesia plutellae (Hymenoptera: Braconidae) in cabbage. Florida Entomologist 80(4): 477-489.