การตรวจสอบคุณภาพโปรตีนในสูตรอาหารและการตรวจหมูป่วยด้วยโรคไตด้วยตนเอง

Main Article Content

ศยามล นิติพงศ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาว่าจะตรวจสอบคุณภาพโปรตีนในสูตรอาหารและหมูป่วยด้วยโรคไตเอง    ทำอย่างไรโดยการนำอาหารสำเร็จรูปในท้องตลาด 5 สูตร (โปรตีน 16.71, 20.43, 21.83, 19.64 และ 18.29% ตามลำดับ) มาเลี้ยงลูกสุกรหย่านมจำนวน 150 ตัว เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เริ่มต้นเก็บตัวอย่างเลือดหลังการเลี้ยง 3 วัน จากนั้นเก็บตัวอย่างเลือดทุกสัปดาห์หลังงดทั้งน้ำและอาหาร 5 ชั่วโมง แล้ววิเคราะห์ค่ายูเรีย และค่าครีเอตินินในเลือด ผลการทดลองพบว่าค่า Urea-Creatinine Ratio ของทรีตเมนต์ที่ 5 ต่ำสุดคือ 9.80? 2.92 และให้ค่า ADS สูงสุด (ต่างจากทรีตเมนท์ที่ 1 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญ) คือ 371.25 กรัม/วัน (P<0.05) ในทางตรงกันข้ามค่า Urea-Creatinine Ratio ของทรีตเมนต์ที่ 1 ต่ำเป็นอันดับที่ 2 คือ 10.51x2.81 แต่ให้ค่า ADG ต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญคือ 245.82 กรัม/วัน (P<0.05) อย่างไรก็ตามค่า Urea-Creatinine Ratio ของทั้ง 5 ทรีตเมนท์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2538. หลักการอาหารสัตว์เล่ม 2 : หลักโภชนศาสตร์สัตว์ และการประยุกต์. โอเดียน สโตร์, กรุงเทพฯ. 575 น.
Chen, H. Y., A. Lewis, and P. Miller. 1996. Plasma urea index to protein requirement Feed Mix ; Vol.4 No.5: 31-34.
Eggum, B.O. 1970. Blood urea measurement as a technique for assessing protein quality. Br.J.Nutr.; 24: 983.
Kaneko, J.J. 1989. Clinical biochemistry of domestic animals. 4th ed. Academic Press, California. 932 p.
National Research Council. 1988. Nutrient requirements of swine. 9th revised ed. National Academy Sci., Washington. DC.p.51.
Sauberlich, H.E., J.H. Skala, R.P. Dowdey. 1974. Laboratory tests for the assessment of nutrition status. CRC Press Inc. Boca Raton, Florida. 431 p.