การวิจัยตนเองกับการประกันคุณภาพระบบการดำเนินงานขององค์กร

ในยุคสมัยปัจจุบัน คำยอดฮิตที่ติดปากผู้บริหารองค์กร และเป็นคำที่นำยุคเข็ญมาสู่บรรดาสมาชิกขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน คือคำว่า “การประกันคุณภาพระบบการดำเนินงานขององค์กร” ซึ่งถ้าเป็นมหาวิทยาลัยก็ ได้แก่ “การประกันคุณภาพระบบการศึกษา” ถ้าเป็นระบบการผลิตผักอินทรีย์ก็ ได้แก่ “การประกันคุณภาพระบบการผลิตผักอินทรีย์”   หรือถ้าเป็นสถาบันตำรวจ ก็อาจจะ ได้แก่ “การประกันคุณภาพระบบการให้บริการและการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน” เป็นต้น  คำที่ต้องเน้นคือ “การประกันคุณภาพของระบบ” ไม่ใช่ “การประกันคุณภาพของผลงาน” ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้สมาชิกขององค์กรต้องเข็ญใจเพราะต้องเตรียมเอกสารมากมาย เพื่อยืนยันว่าระบบของตนเองดี ตั้งแต่ การมีวิสัยทัศน์ มีแผนงาน ไปจนถึงมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าคุ้มทุน โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล  

ที่กล่าวนำมาทั้งหมด ไม่ได้ต้องการเขียนถึงการประกันคุณภาพ แต่อยากจะนำว่า การที่องค์กรจะมีระบบการทำงานที่ดีจริงๆ ส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก และเรามักจะมองข้ามกันตลอดคือ “การกำหนดเป้าหมายการทำงานบนจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร” ประเด็นนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ กับทุกองค์กรในสภาวะที่รัฐบาลมีนโยบายลดขนาดองค์กร และจะให้งบประมาณบนฐานของ Output -Outcome หรือแม้กระทั่งการผลักภาระด้านงบประมาณในการให้พึ่งพาตนเองได้ในบางเรื่อง  ภายใต้เงื่อนไขแบบนี้องค์กรไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้งหมด  ต้องเลือกเอาเฉพาะที่ตนเองเก่ง  มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต้องมุ่งหาเอกลักษณ์ หาความเป็นเลิศ  เพื่อดึงดูดนักศึกษา  ดึงดูดงบประมาณโครงการวิจัย  ดึงดูดความร่วมมือจากภาคเอกชน  ในขณะที่สถาบันวิจัยหรือศูนย์วิจัยต่างๆคงต้องมุ่งตอบคำถามของพื้นที่ หรือคำถามของเกษตรกร  ของผู้ประกอบการ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจระดับการส่งออก หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์

การตรวจสอบจุดอ่อน-จุดแข็งขององค์กรจะได้มาอย่างไร ก็ต้องอาศัยระบบการวิจัยนั่นแหละ เป็นเครื่องมือ ซึ่งปัจจุบันมักพูดถึงคำว่า “การวิจัยสถาบัน” แต่วลีนี้คงยังไม่เพียงพอ ถ้าไม่สามารถนำผลการวิจัยเหล่านั้นมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาองค์กรโดยรวม  หรือกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาองค์กร กลยุทธ์การปรับปรุงวิธีประกันคุณภาพระบบการดำเนินงานขององค์กรให้ได้

เพราะฉะนั้น “หัวข้อวิจัย” ที่เราไม่ควรลืมและควรจะต้องกำหนดไว้ในการจัดสรรค์งบประมาณขององค์กรด้วยคือ “การวิจัยองค์กรของตนเอง

เผยแพร่แล้ว: 2020-09-29

การพัฒนาพันธุ์อังกาบ

มนต์ระวี พีราวัชร , อดิศร กระแสชัย

12-17

การศึกษาการใช้น้ำของปทุมมา

รุ่งนภา โพธิ์รักษา, สัญชัย พันธโชติ , สันติ ช่างเจรจา

18-23

ผลของการใช้น้ำร้อนต่อเชื้อรา Macrophoning phaseolina และความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

แชมซูร รอฮอมาน , สุชาดา เวียรศิลป์ , สมบัติศรี ชูวงศ์

40-45

การทดแทนน้ำมะพร้าวด้วยน้ำสับปะรดในการผลิตวันมะพร้าวสับปะรด

พันธ์ณรงค์ จันทร์แสงศรี , ปาริชาติ ศรีคำสุข , วิไลวรรณ แป้นขาว

46-55