ผลของการเคลือบผิวด้วยสารอิมัลชันและไคโตแซน ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของสาลี่

Main Article Content

เสาวคนธ์ นุสติ
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การเคลือบผิวผลสาลี่พันธุ์ Yokoyama Wase ด้วยน้ำมันปาล์ม และสารอิมัลชัน (น้ำมันในน้ำ) ของน้ำมันปาล์มและน้ำในอัตราส่วน 1: 4, 1: 9 และ 1:19 โดยใช้ไข่แดงเป็นอิมัลซิไฟเออร์และสารละลายไคโตแซน 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์ บรรจุในกล่องกระดาษแล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง (30±2 องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ 85 เปอร์เซ็นต์ ผลสาลี่ที่เคลือบผิวด้วยไคโตแซน 1 เปอร์เซ็นต์ มีอายุการเก็บรักษานาน 12.7 วัน ส่วนผลสาลี่ที่เคลือบด้วยสารอิมัลชันอัตราส่วน 1: 4 น้ำมันปาล์ม และไคโตแซน 1.5 เปอร์เซ็นต์มีอายุการเก็บรักษานาน 11.5, 10.3 และ 10.2 วันตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับผลสาลี่ที่ไม่เคลือบผิวซึ่งเก็บรักษาได้นาน 10.0 วัน ผลสาลีที่เคลือบผิวด้วยสารอิมัลชันอัตรา ส่วน 1: 9, 1: 19 และไคโตแซน 2.0 เปอร์เซ็นต์มีอายุการเก็บรักษาลดลงเหลือ 9.0 วัน การเคลือบผิวด้วยไคโตแซน 1.0 เปอร์เซ็นต์ ลดการสูญเสีย น้ำหนักความแน่นเนื้อ ส่วนการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ วิตามินซี กรดที่ไตเตรทได้ และการยอมรับของผู้ทดสอบชิมไม่แตกต่างกับสาลี่ที่ไม่เคลือบผิวผลสาลี่ที่เคลือบผิวด้วยน้ำมันปาล์ม และสารอิมัลชันอัตราส่วน 1: 4 มีเนื้อภายในผลสีน้ำตาลและมีกลิ่นหมัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร รักษ์งาร. 2541. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารเนื้อสีน้ำตาลของสาลี่เอเชีย. งานวิจัยมูลนิธิโครงการหลวง. จุล สารไม้ผล. 1(3) : 16.
จริงแท้ ศิริพานิช. 2538. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและ ฝึกอบรมแห่งชาติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 396 น.
ชลิต เขาวงศ์ทอง. 2540. ผลของสารเคลือบผิวที่บริโภคได้และอุณหภูมิต่อคุณภาพกล้วยไข่หลังการเก็บเกี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.118 น.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 224 น.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2543. สารเคลือบผิวผักและผลไม้ที่บริโภคได้. เคหะการเกษตร. 24 (7): 182-185.
นิภา คุณทรงเกียรติ. 2540. การเก็บรักษาผลิตผลพืชสวน. วารสารเกษตรก้าวหน้า. 12(4): 21-31.
ปวิณ ปุณศรี, โอฬาร ตัณฑวิวุฬห์, ธีระ จารุจินดา, นุชนารถ จงเลขา, จิตติ ปิ่นทอง, พูนสุขธั ญญาภา, สมโภชน์ ป้านสุวรรณ์ และอัจฉรา วาสิกานนท์. 2537. คู่มือการปลูกไม้ผลเขตหนาวที่สำคัญ 5 ชนิด บ๊วย ท้อพลัม สาลี พลับ. วิสคอมเซนเตอร์, กรุงเทพมหานคร. 85 น.
ภานุมาศ อัสดร. 2530. การยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย (Mangjara indica L. cv. Keaw Sawoey) โดยใช้พลาสติกฟิล์มและสภาพความดันต่ำ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 86 น.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึก อบรมแห่งชาติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 365 น.
AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. Association of Official Analytical Chemists. 15th ed Arlington, Virginia.
Ben-Yehoshua, S., S.P.Burg and R. Young, 1985. Resistance of citrus fruit to mass transport of water vapor and other gasses. Plant Physiol. 79 : 1048-1053.
Chu, C.L. 1986. Poststorage application of TAL Prolong on apples from controlled atmosphere storage. HortScience. 21 (2) : 267-268.
EL-Ghaouth, A., J. Arul, R. Ponnampalam and M. Boulet. 1991. Chitosan coating effect on storability and quality of fresh strawberries. J. Food Sci. 56(6): 1618-1620.
Ke, D., H.V. Gorsel and A.A. Kader. 1990. Physiological and quality response of Bartlett pears to reduced O2 and enhanced CO2 levels and storage temperature. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 115: 435-439,
Krishnamurthy, S. and H. Subramanyam. 1970. Pre and post-harvest physiology of fruit. Trop. Sci. 15 : 167-194.
Matto, A.K., T. Murata, E.B. Pantastico, K. Charchin, K.Ogata and C.T. Phan. 1975. Chemical Changes during Ripenning and Senescence. p. 103-107. In Pantastico, Er.B. (ed.). Postharvest Physiology, Handling and Utilization of Tropical and Subtropical Fruit and Vegetables. AVI Publishing Company Inc., Wesport. Connecticut.
Savage, P.J. and G.P. Savage. 1994. “The effect of coating apples on the quality of stored apples.” [Online]. Available. http//www.book.co.th/databases/cabonline. (25 September 2000).
Sornsrivichai, J., K. Boontham and N. Pipattanawong. 1990a. Storage behavior of five Asian pear (Pyrus pyriforia) cultivars produced in Northern Thailand. Acta Hort. 279: 533-539.
Sumemnue, G. and L. Bayindirli. 1994. Effects of semperfresh registered and johnfresh registered fruit coating on post storage quality of Ankara pears. J. Food Proc. and Preserv. 18(3): 189- 199.
Thompson, B. D. 1955. A Progress Report on Handling and Storage of Fresh Lychees. Proc. Fla. Lychee Growers Assoc. 3rd Ann. Meeting, Winter Haven Florida. p. 27-28.
Vettman, R. and A.V. Schaik. 1997. “Membrane damage in fruit perhaps the explanation of hollow core and flesh browning.” [Online]. Available. http://www.book.co.th/database/cabonline. (25 September 2000).
Westwood, M.N. 1978. Temperature-Zone Pomology. W.H. Freeman and Company, San Francisco. 405 p.
Yang, S.F. 1985. Biosyntheses and action of ethylene. HortScience. 24: 41-45.
Yu, H.W. and L.Z. Dong. 1998. Effect of coating chitosan on storage of apple. Plant Physiolo. 34 (1): 17-19.