การหาค่าการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุและค่าพลังงานใช้ประโยชน์ในอาหารโคนม โดยใช้เทคนิคการวัดแก๊สแบบโฮเฮนไฮม์

Main Article Content

นฤมล สุมาลี
โชค มิเกล็ด
เทอดชัย เวียรศิลป์
เกรียงศักดิ์ ไชยโรจน์
เอกสิทธิ์ สมคุณา

บทคัดย่อ

การศึกษาการหาค่าการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุ (OMD,%) ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ (ME; MJ/ kgDM) และค่าพลังงานสุทธิเพื่อการให้นม (NEL ; MJ/kgDM) ในอาหารโคนมด้วยเทคนิคการวัดแก๊สโฮเฮนไฮม์  ในอาหารหยาบพบว่า หญ้ารูซี่ หญ้ากินี และหญ้าเนเปียร์มีค่า OMD ใกล้เคียงกัน (64.35, 61.50 และ 61.39 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ; P > 0.05) หญ้าสตาร์กราส หญ้าจัมโบ้ และหญ้าขนมีค่าใกล้เคียงกัน (54.28, 53.92 และ 52.43 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ; P > 0.05) ค่า ME และ NEL ในหญ้ารูซี่และหญ้ากินีมีค่าใกล้เคียงกัน (ME: 8.97 และ 8.64, NEL : 5.21 และ 5.01 MJ/kgDM. ตามลำดับ ; P > 0.05) หญ้าเนเปียร์และหญ้าสตาร์กราส มีค่า ใกล้เคียงกัน (ME: 7.95 และ 7.50, NEL : 4.56 และ 4.23 MJ/kgDM. ตามลำดับ ; P > 0.05) ส่วนหญ้าขน มีค่าต่ำกว่าหญ้ารูซี่ (ME : 6.77 และ 8.97, NEL: 3.70 และ 5.21 MJ/kgDM. ตามลำดับ; P < 0.05) ในวัตถุดิบ อาหารสัตว์ ข้าวโพดบดและกากถั่วเหลืองมีค่า OMD ใกล้เคียงกัน (78.90 และ 76.90 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ; P > 0.05)  ส่วนกากข้าวม้อลท์มีค่าต่ำสุด (38.98 เปอร์เซ็นต์) ค่า ME และ NEL ในข้าวโพดบดและกากถั่วเหลือง มีค่าใกล้เคียงกัน (ME ; 12.81 และ 11.81, NEL ; 8.08, และ 6.85 MJ/kgDM. ตามลำดับ; P > 0.05) กากข้าวม้อลท์ ปลาป่น และใบกระถินป่นมีค่าใกล้เคียงกัน (ME: 7.13, 6.66 และ 5.76, NEL : 3.75, 3.34 และ 2.85 MJ/kgDM. ตามลำดับ ; P > 0.05) ในอาหารข้นสำเร็จรูป สำหรับโคนม พบว่าค่า OMD ของอาหารแต่ละสูตรมีค่าไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) ส่วนค่า ME และ NEL ในอาหาร Supreme มีค่าสูงสุดและใกล้เคียงกับ KT, LEE 795, CP 005-16 และ Purepide (P > 0.05) ในขณะที่ Win-95 มีค่าต่ำกว่าสูตรอื่น ๆ (P < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ จันทลักขณา. 2534. สถิติ : วิธีวิเคราะห์และการวางแผนการวิจัย. สำนักพิมพ์โอเดียลสโตร. กรุงเทพมหานคร. 468 หน้า.
AOAC, 1980. Official methods of analysis. Association of Official Analytical Chemists, 12thedition, Washington, DC.
BlÜmmel, M. and E. R. Ørskov. 1993. Comparison of in vitro gas production and nylon bag degradability of roughage in predicting feed intake in cattle. Anim. Feed Sci. and Tech. 40 : 109-119.
Khazaal, K., M.T. Dentinho, J.M. Ribeiro and E.R. Ø rskov. 1993. A comparison of gas production during incubation with rumen contents in vitro and nylon bag degradability as predictors of the apparent digestibility in vitro and the voluntary intake of hays. Anim. Prod. 57 : 105-112.
Menke, K.H., L. Raab, L.A. Salewski, H. Steingass, D. Fritz and W. Schneider. 1979. The estimation of the digestibility and metabolizable energy content of ruminant feedingstuffs from the gas production when they are incubates with rumen in vitro. J. Agric. Sci., Camb. 93: 217 gas 222.
Menke, K.H. and H. Steingass. 1988. Estimation of the energetic feed value obtains from chemical analysis and in vitro vitro gas production using rumen fluid. Animal Research and Development. 28: 7-55.
Van Soest, P.J. 1994. Nutritional Ecology of the Ruminant. (2 nd. ed). Cornell University : O & B Books, Inc. 476 pp.