อิทธิพลของวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตข้าว และการเปลี่ยนแปลงแอมโมเนียมและไนเตรตในดิน

Main Article Content

วีณา นิลวงศ์
ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา

บทคัดย่อ

การศึกษาประกอบด้วยสองการทดลอง กระทำพร้อมกันที่ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (MCC) และที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ (MH) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2544-2545 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของวิธีการแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (split-application) (อัตรา 20 กก. ไนโตรเจนต่อไร่)  ต่อผลผลิตของข้าวนาดำพันธุ์คลองหลวง 1 ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของ NH4+ และ NO3- ในดินชั้นบน (0-20 ซม.) และชั้นล่าง (30-70 ซม.) จากกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยดังกล่าว


            ผลการทดลองพบว่า การแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ระยะเวลาต่างๆ กันที่แปลงทดลอง MH ซึ่งมีอินทรียวัตถุและ total N ในดินค่อนข้างสูงไม่ทำให้ผลผลิตของข้าวแตกต่างกันในทางสถิติ แต่ในแปลงทดลองที่ MCC ซึ่งมีอินทรียวัตถุและ total N ในดินต่ำ พบว่าการแบ่งใส่ปุ๋ยครั้งละเท่า ๆ กัน 3 ครั้ง คือ ก่อนการปักดำและ 3 และ 6 สัปดาห์หลังการย้ายกล้าทำให้ได้ผลผลิตเมล็ดสูงสุด


            ทั้งในแปลงทดลองของ MH และ MCC ในทุกกรรมวิธีของการใส่ปุ๋ย ความเข้มข้นของ NH4+ และ NO3- ในดินชั้นบนและชั้นล่างมีแนวโน้มลดลงในช่วง 1-3 เดือนหลังจากการปักดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มข้นของ NO3 ลดลงอย่างรวดเร็วถึงใกล้ 0 มก. ไนโตรเจนต่อ กก. ภายในเดือนแรกหลังการปักดำ (สภาพน้ำขัง) อย่างไรก็ตามเมื่อมีการระบายน้ำออก ความเข้มข้นของทั้ง NH4+ และ NO3- มีแนวโน้มสูงขึ้น 1-2 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อคำนึงถึงความเข้มข้นที่ต่ำมากของ NH4+ (0.03-3.42 มก. ไนโตรเจนต่อกก.) และ NO3 (0.00-1.94 มก. ในโตรเจนต่อกก.) ทั้งในน้ำเหนือผิวดินและในดินชั้นล่าง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนด้วยกรรมวิธีต่างๆตามอัตราที่ใช้ในการทดลอง ไม่น่าจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์. 2543. ดินที่ใช้ปลูกข้าวภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 356 น.
De Datta, S.R .1981. Principle and practice of rice production. John Wiley & Sons, Inc., N.Y. p.89-110 Inko, A., F. Peter, and C. Ralf .1998. Denitrification coupled to nitrification in the rhizosphere of rice. Soil Biology& Biochemistry. 30: 509-515.
Mae, Tadahiko. 1986. Partitiening and utilization of nitrogen in rice plant. JARQ.20 (2): 115-119. Milkkelsen, D.S., S.K. De Datta, and W.N.Obcemea 1995.Ammonia volatilization losses from flooded rice soil. Soil. Sci. Soc. Amer. J. 42: 725-730.
Mitsushi, M. 1974. Characters of humus formed under rice cultivation. Soil Science and Plant Nutrition 20: 249-259.
Malvany, R. L. 1996. Nirtogen-inorganic form .p. 1123 – 1184. In D.L. Spark et al. (ed). Methods of soil analyses. Part 3-Chemical methods 3rd. SSSA Book Series : 5. Soil rd Science Society of America Inc. & American Society of Agronomy Inc.Madison, WI., USA.
Norman, R. J., D. Guindo. B, R. Wells, and G. E. Wilson. 1992. Seasonal accumulation and partitioning of nitrogen-15 in rice. Soil Sci. Soc. Am. J. 56: 1521-1527.
Ponnamaperuma, F.N. 1978. Electrochemical changes in submerged soils and the growth of rice. Soil and Rice Int. Rice. Res. Inst., Los Banos, Laguna, Philippines. p. 825.
Patrick, W. H. Jr. and K. R. Reddy .1976. Fate of fertilizer nitrogen in flooded rice. Soil Sci. Soc. Am. J. 40: 679-681.
Sim, J.T. 2000. Soil fertility evaluation .p.D 113-153. In M.E. Sumner (ed.). Handbook of soil science CRC Press LLC.Boca Raton, Fl., USA.