นโยบายบริหารงานวิจัยยุคคิดใหม่ทำใหม่

ในฐานะนักวิจัยเราคงได้ยินคำว่า “สังคมแห่งการเรียนรู้” หรือ “เศรษฐกิจฐานความรู้” กันอยู่บ่อยๆสองวลีนี้ถือเป็นวลียอดฮิตติดปากผู้บริหารสมัยใหม่ หรือเป็นเป้าหมายของการบริหารยุคใหม่ ทั้งสองวลีนี้ในด้านหนึ่งก็ตอกย้ำถึงความเป็น “ผลงานวิจัยบนหิ้ง” สำหรับผลงานวิจัยจากโครงการที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติหรือการเพิ่มมูลค่าการผลิต หรือส่งเสริมมูลค่าทางสังคมอย่างชัดเจน ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการกำหนดทิศทางงานวิจัยสมัยใหม่ว่า  จำเป็นต้องตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน  ซึ่งดีที่สุดคือการพัฒนาในระดับรากหญ้า       

รัฐบาลมองเห็นความจำเป็นนี้ จึงได้อนุมัติงบประมาณวิจัยเชิงพัฒนาจำนวนมากไปไว้ในชุมชนและในสายของกระบวนการผลิตเชิงการค้าในชุมชน ซึ่งวงเงินในแต่ละแห่งมากมายมหาศาล จนถ้าเรานักวิจัยยังคิดในกรอบเดิมคงไม่ทราบว่าจะเขียนโครงการวิจัยอย่างใด จึงจะไปของบประมาณส่วนนั้นมาได้ รัฐบาลจึงกำหนดคำสำคัญมาให้ใหม่ ซึ่งฟังแล้วยิ่งมองไม่เห็นทางที่จะพัฒนาโครงการวิจัยใหม่ได้เลย ถ้ายังยึดติดกรอบและวิธีการวิจัยแบบเดิม ๆ คำสำคัญนั้นคือ “บูรณาการ” และ Value Chain”

ในปัจจุบัน 2 คำนี้  เป็นตัวกำหนดนโยบายบริหารงานวิจัยยุคคิดใหม่ทำใหม่อย่างแท้จริง ในฐานะนักวิจัยเราเองก็คงต้องปรับตัวให้ทันกับการอยู่รอดใน “สังคมแห่งการเรียนรู้” เหมือนกัน  เรียนรู้ว่าทำอย่างไรเราจึงจะพัฒนาโครงการวิจัยไปของบประมาณตามนโยบายใหม่ได้ เรียนรู้ว่าเราจะเชื่อมโยงเครือข่าย (Cluster & Network) อย่างไรจึงจะบูรณาการองค์ความรู้และเพิ่มมูลค่าในแต่ละลำดับของกระบวนการผลิตได้ และเรียนรู้ว่าเราวิจัยคนเดียว (Stand alone) ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-02

ผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไย

สิคีริยา เรื่องยุทธิการณ์, ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

172-179