การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อวัดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโคเลสเตอรอลสำหรับการวัดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น โดยวิธีเอนไซม์ลิงค์ อิมมูนโนซอร์เบนท์ แอสเซ (Enzyme-Linke Immunosorbent Assay, ELISA) แอนติเจนที่ใช้ได้จากการเชื่อมระหว่างโคเลสเตอรอลกับโบวาย ซีรั่มอัลบูมิน (Cholesterol-3-BSA) สำหรับกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีต่อโคเลสเตอรอลในหนูขาวตัวเล็กสายพันธุ์ Balb/c อายุ 6 สัปดาห์ การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเริ่มจากการฉีด Cholesterol-3-BSA ปริมาณ 100 μg โดยมี Freund's complete adjuvant เป็นสารช่วยการกระตุ้น ทำการฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุก 2 สัปดาห์ เป็นเวลา 3 ครั้ง ทำการเก็บเซลล์ม้าม (spleenocyte) จากหนูที่มีการผลิตแอนติบอดีต่อโคเลสเตอรอลเพื่อเชื่อมกับเซลล์ไมอิโลมา การเพาะเลี้ยงเซลล์ทำในไมโครเพลทชนิด 96 หลุม จำแนกชนิดของโมโนโคลนอลแอนติบอดีโดยวิธี direct ELISA โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ได้จะใช้สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณโคเลสเตอรอลโดยวิธี competitive ELISA โดยเปรียบเทียบกับวิธีของ Zak (1957) ใช้ไข่นกกระทาจำนวน 40 ฟอง สำหรับเป็นตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์หาปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าหนู Balb/c มีการผลิตแอนติบอดีต่อโคเลสเตอรอลในสัปดาห์ที่ 4 หลังการกระตุ้น เมื่อนำเซลล์ม้ามมาเชื่อมกับเซลไมอิโลมาพบว่ามีโคลนใน 35 หลุม จากทั้งหมด 352 หลุม ใน 35 หลุมพบ 20 หลุมที่โคลนสามารถผลิตแอนติบอดีต่อโคเลสเตอรอลโดยแยกโคลนเดี่ยวได้ 12 โคลนทั้งหมดเป็นแอนติบอดีชนิดอิมมูนโนโกลบูลิน จี (Immunoglobulin G, Ig G) จาก 12 โคลนมี 1 โคลนที่สามารถเจริญเติบโตต่อมาได้ ส่วนที่เหลือ 11 โคลนได้ตายไป ผลจากการวิเคราะห์ โคเลสเตรอลด้วยวิธี ELISA พบค่าความเข้มข้นที่ 50% binding เท่ากับ 7.2 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร เปรียบเทียบกับการวัดด้วยวิธีของ Zak (1957) มีค่าความเข้มข้นที่กึ่งกลางของกราฟมาตรฐานที่ 325.0 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ผลของโคเลสเตอรอลที่วัดด้วยวิธี ELISA และ Zak (1957) มีค่าเฉลี่ย ±S.E. (n)เท่ากับ 645.3±40.9 (40) และ 656.2±40.8 (40) mg/ไข่แดง 100 กรัม ตามลำดับ ความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าสามารถวิเคราะห์โคเลสเตอรอลได้ด้วยวิธี ELISA ที่มีความไวในการวัดมากกว่าวิธี Zak ถึง 45.14 x 106 เท่า (7.2 pg/ml VS 325 μg/ml)
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. 2538-2540. จำนวนตายตามเพศ และสาเหตุ ตามบัญชีตารางโรคพื้นฐานจากบัญชี จำแนกโรคระหว่างประเทศแก้ไขครั้งที่ 10 กับอัตราต่อประชากร 100,000 คน พ.ศ. 2538-2540. ส่วนข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. 2541. จำนวนตายตามเพศ และสาเหตุ ตามบัญชีตารางโรคพื้นฐานจากบัญชีจำแนก โรคระหว่างประเทศแก้ไขครั้งที่ 10 กับอัตราต่อประชากร 100,000 คนพ.ศ. 2541. ส่วนข้อมูลข่าวสาร สาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข.
ทิวารัตน์ ทุนอินทร์. 2543. การใช้ไลโปโซมเป็นสารช่วยกระตุ้นในการผลิตแอนติบอดีต่อโคเลสเตอรอลในนกกระทาไก่พื้นเมือง และหนูขาว. ปัญหาพิเศษปริญญาโท. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Abell, L. L., B. B. Levy, B. B. Brodie, and F. E. Kendall. 1951. A Simplified method for the estimation of total cholesterol in serum and demonstration of its specificity. J. Biol. Chem.195: 357-366. Arvieux, J., and A. F. Williums. 1988. Immunoaffinity chromatography. In: Antibody Volumn 1: a Practical approach. Catty, d. (ed).IRL Press, Oxford. P. 113-136.
Berrebeck, C.A.K. and S.A. Moller. 1986. In vitro immunization. Effect of growth and differentiation factors on antigen-specific B cell activation and production of monoclonal antibodies to autologous antigen and weak immunogen. J. Immunol. 136: 3710-3715.
Cambell, A. M. 1984. Monoclonal antibody technology. Elsever Scince Publishes B. V. 86-94.
Catty, D. 1990. Antibodies: Apractical Approach. 2 Vols. Informayion Press Ltd., Ozford, 97-157. D'Arienzo, A., F. Manguso, G. Scaglione, G. Vicnanza, R. Bennato, and G. Mazzacca. 1998. Prognostic value of progressive decrease in serum cholesterol in predicting survival in Child-Pugh C viral cirrhosis. Scand. J. Gastroenterol. 33 (11): 1213-1218.
Guyard-Dangremont, V., L. Lagrost, P. Gambert, and C. Lallemant. 1994. Competitive enzyme linked immunosorbent assay of human cholesteryl ester transfer protein (CETP). Clinica Chimica Acta. 231: 147-160.
Harlow, E. and D. Lane. 1988. Antibodies A Laboratory Manual. Cold Spring Harbor Laboratory, NY, USA.
Kiyohara, T., R. Kiriyama, S. Zamma, A. Inazu, J. Koizumi, and H. Mabuchi. 1998. Enzyme immunoassay for cholesterol ester transfer protein in human serum. Clin. Chem. Acta. 23; 271(2): 109-18.
Saito, K., I. Sakurabayashi and M. Manabe. 1998 Serum lipoprotein lipasein healthy subjects: effects of gender and age, and relationships to lipid parameter. Ann. Clin. Biochem. 35 (pt6):733-8.
Schelling, M.E. 1995. Methods of Immunization to enchance the immune response to specific antigens in vitro. In: Monoclonal Antibody Protocols. Davis W.C.
Statistical Analysis System Institute. 1988. SAS User's Guide Statistics. SAS Institute, Cary, NC. Wise, T., A. J. Robert, and R. K. Christenson. 1997. Relationships of light and heavy fetuses to uterine position, placental, weight, gestation age, and fetal cholesterol concentrations. J. Anim. Sci. 75: 2197-2207.
Wise, T., L. D. Young, anf W.G. Pond. 1993. Reproductive endrocine, and organ weight difference of swine selected for high and low serum cholesterol. J. Anim. Sci. 71: 2732.
Zak, B. 1957. Simple rapid microtechnic for serum total cholesterol. Clin. Chem. 27: 583-588.