แผนเชิงกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

พิชิต ธานี
พรทิพย์ เชียรธีรวิทย์
กาญจนา โชคถาวร

บทคัดย่อ

การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่จะทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่อยากจะเป็นในอนาคต การที่จะทำให้การวางแผนกลยุทธ์บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อที่จะหาแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมของเทศบาลตำบลอุโมงค์ จ.ลำพูน ซึ่งมีกระบวนการต่างๆ คือ การประเมินปัจจัยภายใน การประเมินปัจจัยภายนอก ทิศทางและเป้าหมายของกลยุทธ์ แล้วก็จะได้มาซึ่งแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นแผนที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงและให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่จะมากระทบองค์กร ซึ่งจะเป็นแผนที่มีความเป็นไปได้และดีที่สุด ข้อสรุปที่ได้แสดงให้เห็นว่าเทศบาลอุโมงค์ จ.ลำพูนควรใช้กลยุทธ์การรุกรานเพราะมีทั้งจุดแข็งและโอกาส แผนกลยุทธ์เปรียบเสมือนกับพิมพ์เขียวสำหรับกิจกรรมประจำวันขององค์กรได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอปรลักษณ์ อัจฉริยโสภณ. 2543. “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในโครงการสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษาเฉพาะกรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่. ” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบลอุโมง. 2545. “แผนพัฒนาเทศบาล 5 ปี (พ.ศ. 2545 - 2549)”. เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดเชียงใหม่
จิรศักดิ์ จิยะจันทน์, ชวลิต ประภวานนท์, พรพิมล วิริยะกุล, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, สมชาย หิรัญกิตติ, ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ องอาจ ปทะวานิช 2542. การบริหารเชิงกลยุทธ์ (ฉบับมาตรฐาน) พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด, กรุงเทพฯ.
ธวัชชัย งามสันติวงศ์. 2544. SPSS FOR WINDOWS ฉบับสมบูรณ์ : หลักการและวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ 4 โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, กรุงเทพฯ.
สมยศ นาวีการ. 2541. การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4 โรงพิมพ์ตะวันออก, กรุงเทพฯ.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และ ลัดดาวัลย์ รอดมณี, 2528. เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, กรุงเทพฯ.