ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภค

Main Article Content

ธีรศักดิ์ ปั้นวิชัย
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภค โดยนำผักกาดหอมห่อมาหั่นชิ้นตามความยาวของก้านใบให้มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-25 เซนติเมตร แล้วแช่ในสารละลายกรดซิตริก 1.0 เปอร์เซ็น นาน 5 วินาที บรรจุในถุงโพลีโพรไพลีนหนา 40 และ 50 ไมครอน เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2, 5 และ 10 องศาเซลเซียส ผลการทดลองพบว่าผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภคที่บรรจุในถุงโพลีโพรไพลีนหนา 40 และ 50 ไมครอน เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2, 5 และ 10 องศาเซลเซียส มีอายุการเก็บรักษานาน 13, 10 และ 5 วันตามลำดับ โดยที่ความหนาของถุงโพลีโพรไพลีน 40 และ 50 ไมครอน ไม่มีผลต่ออายุการเก็บรักษา และเมื่อวัดกิจกรรมของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสในผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภคที่แช่ในสารละลายกรดซิตริก 1.0 เปอร์เซ็นต์ นาน 5 วินาที บรรจุใส่ถุงโพลีโพรไพลีนหนา 50 ไมครอน แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส พบว่าการเกิดสีน้ำตาลที่บริเวณรอยตัดและก้านใบเพิ่มมากขึ้นสัมพันธ์กับกิจกรรมของเอนไซม์โพลี    ฟีนอลออกซิเดสที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้น การแช่ผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภคในสารละลายกรดซิตริก 1.0 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดเมื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดการทดลองได้ประมาณ 3.10 – 4.76 เปอร์เซ็นต์ ผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภคมีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นสูงกว่าผักกาดหอมห่อทั้งหัวประมาณ 52.0 เปอร์เซ็นต์ และการแช่ผักกาดหอมห่อตัดแต่งพร้อมบริโภคในสารละลาย กรดซิตริก 1.0 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้อัตราการหายใจเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 64.0 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวนคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 364 น.
Albrecht, J.A. 1993. Ascorbic acid and retention in lettuce. J. Food Quality 16: 311-316.
Brackett, R.E. 1994. Microbiological spoilage and pathogens in minimally processed refrigerated fruits and vegetables. pp. 269-312. In R.C. Wiley (Ed.). Minimally Processed Refrigerated Fruit & Vegetables. Chapman & Hall Inc. New York
Bolin, H.R., A.E. Stafford, J.R. King and C.C. Huxsoll. 1977. Factors affecting the storage stability of shredded lettuce. J. Food Sci. 42(5) : 1319 1321.
Fujita, S., T. Tono, and H. Kawahara. 1991. Purification and properties of polyphenol oxidase in head lettuce (Lactuca sativa). J. Sci. Food Agric 55 : 643-651.
King, A.D. and H.R. Bolin. 1989. Physiological and microbiological storage stability of minimally of processed fruits and vegetables. Food Technol. 43(2): 132-139.
Kiss, I. 1984. Testing Method in Food Microbiology. Amsterdam, Elsevier Science. 447 p.
Lipton, W.J. 1987. Senescence of leafy vegetables. HortScience. 22 : 854-859.
Lopez-Galvez, G., M. Saltveit and M. Cantwell. 1996. The visual quality of minimally processed lettuces stored in air or controlled atmosphere with emphasis on romaine and iceberg types. Postharvest Biol. Technol. 8 : 179-190.
Selvarai, Y. and R. Kumar. 1989. Studies on fruit softening enzymes and polyphenol oxidase activity in ripening mango (Mangifera indica. L.) fruit. J. Ed. Sci Technol. 26(4): 218-22.
Siriphanich, J. and A.A. Kader. 1986. Effects of Co2 on total phenolics, phenylalanine ammonialyase, polyphenol oxidase in lettuce tissue. J. Amer. Soc. Hort Sci. 110: 249-253.
Vamos-Vigyazo, L. 1981. Polyphenol oxidase and peroxidase in fruits and vegetables. Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 15: 49 127.
Whitham, F.H., D.H. Blaydes, R.M. Devin and D. Van. 1971. Experiments in Plant Physiology. Nostrand company, New York., 245 p.
Wills, R.B.H., W.B. McGlasson, D. Graham and D. Joyce. 1998. Postharvest : An Introduction to the Physiology and Handling of Fruits, Vegetables and Ornamentals. 4th ed. New South Wales University Press, New South Wales, 262 p.