การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลสตรอเบอรี่ก่อนการเก็บเกี่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยา คุณสมบัติทางกาย ภาพส่วนประกอบทางเคมี ของผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 และ 70 โดยวิเคราะห์ผลสตรอเบอรี่ที่ระยะการเจริญเติบโต 9 ระยะเริ่มจากวันที่ 10, 13, 16, 19, 22, 25, 28, 31, และวันที่ 34 หลังดอกบานเต็มที่ ผลการทดลองแสดงว่า ผล สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 มีรูปร่างส่วนใหญ่แบบทรงกรวยยาวมีคอ และในผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 70 พบรูปร่างส่วนใหญ่แบบทรงกรวย สีผิวของผลสตรอเบอรี่ทั้งพันธุ์พระราชทาน 50 และ 70 เปลี่ยนจากสีขาวอมเขียวไปเป็นสีชมพู และสีแด งและสีเนื้อเริ่มพัฒนาจากสีขาวไปเป็นสีชมพู และสีแดง ส่วนสีเมล็ดเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียว ไปเป็นสีชมพู และสีแดง ตำแหน่งของเมล็ดนูนสูงจากผิวผลในระยะแรก หลังจากนั้นตำแหน่งของเมล็ดมีลักษณะจมต่ำกว่าผิวผล ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณน้ำตาล รีดิวซิ่ง และปริมาณน้ำตาลรวมของสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 และ 70 มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงในระยะแรก แต่เพิ่มขึ้นในช่วงท้ายของการเจริญเติบโต ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ของผลสตรอเบอรี่ทั้งสองพันธุ์มีปริมาณเพิ่มขึ้น จนกระทั่งวันที่ 19 จนถึงวันที่ 34 หลังดอกบานเต็มที่ ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำตาลซูโครสของผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนกระทั่งวันที่ 25 หลังดอกบานเต็มที่ ส่วนปริมาณน้ำตาลซูโครสของผลสตรอเบอรี่พันพระราชทาน 70 พบว่าปริมาณน้ำตาลซูโครสไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างระยะการเจริญเติบโต วิตามินซีและแอนโธไซยานินของผล สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 และ 70 เพิ่มขึ้นในวันที่ 28 หลังดอกบานเต็มที่ ส่วนความแน่นเนื้อของผลสตรอเบอรี่ทั้งสองพันธุ์มีค่าลดลงตลอดระยะการเจริญเติบโต
Article Details
References
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2543. สตรอเบอรี่: พืชเศรษฐกิจใหม่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 158 น.
ดนัย บุณยเกียรติ, 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 น.
ดนัย บุณยเกียรติและนิธิยา รัตนาปนนท์. 2535. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 3.
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 142 น.
ทองใหม่ แพทย์ไชโย. 2541. คุณภาพทางกายภาพและเคมีหลังการเก็บเกี่ยวของสตรอเบอรี่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 113 น.
ประวัติ ตันบุญเอก. 2533. การเตรียมสตรอเบอรี่เพื่อตลาดต่างประเทศ. หนังสือพิมพ์กสิกร 6(1): 29-31. ลักขณา รุจนะไกรกานต์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. 2533. หลักการวิเคราะห์อาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 270 น.
สมคิด ใจตรง. 2544. คุณภาพผลและผลของแสงต่อการพัฒนาสีของสตรอเบอรีหลังการเก็บเกี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 88 น.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 364 น.
Avigdori-Avidov, H. 1986. Strawberry. P. 419-448. In Monelise, S.P. (ed.). Handbook of Fruit Set and Development. CRC Press, Inc. Boca Raton, Florida.
Beatriz R.C., J.R.O. Nascimento, M.I. Genovese and F.M. Lajolo. 2002. Influence of Cultivar on Quality Parameters and Chemical Composition of Strawberry Fruits Grown in Brazil. J. Agric. Food Chem. 50: 2581-2586.
Forney, C.F. and P.j. Breen. 1986. Sugar content and uptake in strawberry fruit. J.Amer.Soc.Hort. Sci. 111 (2): 241-247.
Greenfield, H., G.I. Hutchison, J. Arcot and R.B.H. Wills 1993. Laboratory Instruction Manual for Food Composition Studies. Department of Food Science and Technology, University of New South Wales. 54 p.
Manning, K. 1993. Soft Fruit. p. 347-384. In Seymour, G.B., J.E. Yalor and G.A. Tucker. (eds.) Biochemistry of Fruits Ripening. Chapman & Hall, London.
Montero, M.T., M.E. Moll’a, M.R. Esteban and J.F. Lo’pez-Andr’eu. 1996. Quality attributes of strawberry during ripening. Scientia Hort. 65: 239-250
Ranganna, S. 1977. Manual of Analysis of Fruit and Vegetable Products. Tats McGraw-Hill Publishing Company Limited, New Delhi. 634 p.
Ruck, J.A. 1956. Chemical Methods for Analysis of Fruit and Vegetable Product. Research Station Summerland, British Columbia. 25 p.
Spayd, S.E. and J.R. Morris, 1981. Physical and chemical characteristicsof puree from one-over harvested strawberries. J. Am. Soc. Hortic. Sci. 106 : 101-105.