การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม

Main Article Content

สมปอง สรวมศิริ

บทคัดย่อ

การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม ใช้โคทดลองเป็นโคนมพันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์ที่ตั้งท้องประมาณ 7 เดือน จำนวน 16 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลองตามแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design) โคทดลองได้รับอาหารหยาบอย่างเต็มที่ส่วนอาหารข้นมี 4 ชนิดคือ อาหารข้นที่มีกากถั่วเหลือง 8% อาหารข้นที่มีใบกระถินป่น 12.5% และอาหารข้นที่มีใบกระถินเทพาในระดับ 12.5% และ 25% จากการทดลองในระยะรีดนมเป็นเวลา 120 วัน หลังคลอดพบว่า ปริมาณการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งต่อตัวต่อวันของโคทดลองมีค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อได้รับอาหารข้นที่มีใบกระถินป่น 12.5% และใบกระถินเทพาในระดับ 12.5% และ 25% แต่ค่าเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ปริมาณน้ำนม 4%FCM มีค่าต่ำลง แต่ต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตน้ำนม 1 กิโลกรัม และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารมีค่าสูงขึ้นเมื่อใช้ใบกระถินเทพาในสูตรอาหารข้น ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนม 4% FCM มีค่าเท่ากับ 7.82, 6.98, 6.64 และ 6.47 ก.ก./ตัว/วัน ค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตน้ำนม 1 กิโลกรัม มีค่าเป็น 5.26, 5.11, 5.20 และ 5.44 บาท และค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารมีค่าเป็น 1.72, 1.84, 1.91, และ 1.98 สำหรับกลุ่มทดลองตามลำดับ กลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารข้นที่มีใบกระถินเทพาในระดับ 12.5% ในสูตรอาหารมีค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำนม 1 กก. ต่ำที่สุด และให้ผลตอบแทนต่อน้ำนม 1 กก. สูงที่สุด ผลตอบแทนค่าน้ำนมดิบหลังจากหักต้นทุนค่าอาหารในกลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารข้นที่มีกากถั่วเหลืองมีค่าสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำนมดิบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P> 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ จันทลักขณา. 2538. สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนการวิจัย. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัดกรุงเทพฯ .468 น.
บุญเสริม ชีวะอิสระกุล. 2531. การใช้กระถิ่นเสริมฟางข้าวเป็นอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง.รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการโครงการอาหารสัตว์ไทย-เยอรมัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 225-242.
เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง ภาควิชาสัตวศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น, 473 น.
เทอดชัย เวียรศิลป์. 2542. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง.ภาควิชาสัตวศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 343 น.
วรรณา ตั้งเจริญชัย. 2538. ปฏิบัติตรวจสอบคุณภาพน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม. สำนักพิมพ์โอเดียนโตร์. กรุงเทพฯ. 153 น.
สมคิด พรหมมา. 2538. การจัดการอาหารโคนมให้ผลผลิตสูง. วารสารสัตวบาล ปีที่ 5 ฉบับที่ 29 หน้า 57-61. อิทธิฤทธิ์ อึ้งวิเชียร สุทธิเจตน์ จันทรศิริ วินัย สุพัฒนกุล โกวิทย์ อันตศาสตร์ พนัส บุรณศิลปิน และประพันธ์ บุญกลิ่นขจร. 2528.กระถินเทพาไม้โตเร็วที่น่าสนใจ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน. กรุงเทพฯ. 22 น.
AOAC 1985. Official Methods of Analysis. Association ofOfficial Analytical Chemists, Washington, D.C. U.S.A.
Goering, H.K. and P.J. Van Soest. 1970. Forage fiber analysis. ARS Handbook NO. 379. United States. Department of Agriculture Washington, D.C. U.S.A
Kirchgessner, M., G. Roehrmoser and H. L. Mueller. 1983. Energy balance and energy utilization of lactation cows under restricted energy supply and subsequent realimentation (in German).Z. Tierphysiol, tierernaehr. U. futtermittelkunde. 49:228-238.
National Research Council. 1988. Nutrient Requirement of Dairy Cattle. 6th Ed. National Academy of Science. Washington D.C. U.S.A. 157 p.
Pond, W.G., D.C. Church and K.R. Pond. 1995. Basic Animal Nutrition and Feeding. John Wiley & Sons. New York. 615 p.
Orskov, E. R. and M.Ryle. (1990). Energy Nutrition in Ruminats. Elsevier Science Publishers, Ltd., London. 149 p.
Van Keulen, J. and B.A. Young. 1977. Evaluation of acid insoluble ash as a natural marker in ruminant digestibility studies. J. Anim. Sci. 44:282-287.