นวัตกรรมกับการพัฒนาชุมชน: สองเป้าหมายหลักของงานวิจัยที่ต้องสมดุลกัน

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมนานาชาติที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปด้วยความหวังและเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ทางด้านการเกษตร เพราะคณะเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนี้มีชื่อเสียง ฝ่ายจัดการจัดให้ไปเยี่ยมชมกิจการของคณะดังกล่าวตามที่ได้ร้องขอไว้ แต่หลังจากหารือร่วมกันภาพที่ออกมาแตกต่างไปจากที่วาดหวังไว้โดยสิ้นเชิง งานวิจัยทางด้านการเกษตรของเขาเปลี่ยนไปเป็นวิทยาศาสตร์การเกษตรมากเสียจน เขาเลิกพูดเรื่องเกษตรยั่งยืน เกษตรพอเพียงไปแล้ว กลิ่นอายของ GMOs ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไปในทุกแล็ป ไม่ว่าจะเป็นทางสัตว์ ทางพืช การศึกษาทางยีน เอนไซม์เพื่ออุตสาหกรรมต่างๆเป็นสิ่งที่เขามุ่งเน้นมาก ตัวอย่างที่เบาที่สุดและยังอิงสภาพแวดล้อมอยู่บ้าง ได้แก่ การศึกษาเพื่อหาทางย้ายยืนที่สร้างสารไล่แมลงจากพืชหรือสาหร่ายทะเลไปใส่ในข้าวหรือพืชผักเพื่อลดการใช้สารเคมีเกษตรป้องกันกำจัดแมลง เป็นต้น

หันมามองประเทศไทยเราล้าหลังเขาจริง ๆ ถ้ามองประเด็นเหล่านี้ แต่บทเรียนด้านการมุ่งเน้น แต่นวัตกรรมและการฝากอนาคตไว้กับอุตสาหกรรมอย่างเดียวทำให้เราบาดเจ็บเกินไปจริง ๆ จนทำให้ต้องถามตัวเองว่าเราควรวิ่งตามญี่ปุ่นไปดี หรือเราควรจะร่วมมือกับชุมชนของเราทำวิจัย เพื่อพัฒนาระบบการผลิตรากหญ้าดียิ่งในสภาวะที่เสี่ยงต่อต้านอาหารปนเปื้อน GMOs ดังก้องอย่างทุกวันนี้

ความสมดุลของงานวิจัยเพื่อนวัตกรรมและเพื่องานพัฒนาชุมชนน่าจะเป็นคำตอบที่ดี…เดินสายกลางนั่นแหล่ะ

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-08

ผลของโปแตสเซียมต่อคุณภาพของฝรั่ง

นิภาพร สอนสุด, ตระกูล ตันสุวรรณ

29-37

วงจรการเจริญเติบโตของแกลดิโอลัส

บดินทร์ จันทร์คำ, ฉันทนา สุวรรณธาดา

38-42

รูปแบบจำลองอย่างง่ายของดุลยภาพน้ำในดินสำหรับกาแฟอราบิก้าสายพันธุ์คาร์ติมอร์

ดนัย ศุภโกศล, บัณฑรูย์ วาฤทธิ์, ชวลิต กอสัมพันธ์, ถนอม คลอดเพ็ง

66-74