ปัจจัยที่มีผลต่อการทำการเกษตรยั่งยืนในการส่งเสริมการปลูกและผลิตกาแฟอาราบิก้า : กรณีศึกษาหมู่บ้านมูเซอห้วยตาดตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

รำไพพรรณ อภิชาติพงศ์ชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกษตรยั่งยืน ในการส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าและพัฒนารูปแบบการเกษตรยั่งยืนเยืนของเกษตรกรชาวเขา หมู่บ้านมูเซอห้วยตาด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ศึกษาเป็นเกษตรกรชาวเขาเผ่ามูเซอทั้งสิ้น 32 ครอบครัว ที่ทำการปลูกกาแฟ ในระบบเกษตรยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ Yule's Q


            จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกษตรยั่งยืน โดยการส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้า ได้แก่ การได้รับการศึกษาระดับอายุของเกษตรกรชาวเขา ความหลากหลายของพืชที่ปลูกแซมในแปลงกาแฟประสบการณ์ในการปลูกกาแฟ และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกกาแฟ


            การที่เกษตรกรชาวเขายังคงรักษาต้นกาแฟไว้ในแปลงเกษตร เนื่องจากกาแฟยังคงเป็นพืชยืนต้นที่ทำรายได้ให้เกษตรกรทุกปี การดูแลรักษาต้นกาแฟง่ายไม่ต้องลงทุนมาก เพราะเกษตรกรบางรายมีการใช้สารเคมีน้อย การขายผลผลิตไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เนื่องจากมีพ่อค้ามาซื้อถึงหมู่บ้าน และนำไปขายต่อในเมือง ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการเกษตรยั่งยืน โดยมีกาแฟเป็นพืชหลักในการส่งเสริมน่าจะเป็นไปได้ หากเกษตรกรชาวเขาได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการผลิตกาแฟ ตลอดจนการประกันราคาจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชนปัจจุบันถ้าเกษตรกรสามารถผลิตสารกาแฟที่มีคุณภาพ เช่น กาแฟอินทรีย์ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉลองชัย แบบประเสริฐ. 2542. ไม้ผลกับการเกษตร ยั่งยืน. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องเกษตรยั่งยืน และทรัพยากร บนที่สูง. วันที่ 9-10 ธันวาคม 2542 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 34 ก-34ค.
เฉลิมพล แซมเพชร. 2542. การเกษตรเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม. ใน เกศิณี ระมิงค์วงศ์ ไสว บูรณพานิช พันธ์ และทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร (บรรณาธิการ). ประมวลผลงานวิชาการด้าน การเกษตรเนื่องใน วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง. หน้า 253-261.
ธีระเดช พรหมวงศ์, นริศ ยิ้มแย้ม และดุษฎี ณ ลำปาง. 2538. สภาพการณ์ผลิตและวิธีการปลูกกาแฟของ เกษตรกรชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานผลการวิจัย. ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีระเดช พรหมวงศ์, นิรศ ยิ้มแย้ม, วราพงษ์ บุญมา, นิธิ ไทยสันทัด และประเสริฐ คำออน. 2541. ผลกระทบ ของการปลูกกาแฟต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรบนที่สูงใน ภาคเหนือตอนบน. รายงานขผลการวิจัย. ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ 2542. บทนำ. ใน พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ และบัณฑูรย์ วาฤทธิ์ (บรรณาธิการ) การปลูกและผลิตกาแฟอาราบิก้าบนที่สูง. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง. หน้า 1-26.
พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. 2531. มาใช้ Yule's Q กันเถอะ. ในพิชิตพิทักษ์เทพสมบัติ (บรรณาธิการ)ปฏิบัติการเหนือตำรา: การวิจัยทางสังคม. กรุงเทพ : โครงการตำราวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม. หน้า 197 – 207.
พัฒนพันธุ์ ไพชยนต์ มปป. การปลูกกาแฟอาราบิก้าร่วมกับไม้บังร่มเงา บทความวิชาการโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วราพงษ์ บุญมา, ธีระเดช พรหมวงศ์, นริศ ยิ้มแย้ม, ประเสริฐ คำออน และนิธิ ไทยสันทัด. 2542. การศึกษาระบบการผลิตกาแฟอาราบิก้าบนที่สูงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระบบการเกษตรยั่งยืน. รายงานผลการวิจัย. ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.