การปรับปรุงพันธุ์เห็ดหอมโดยการผสมพันธุ์ระหว่างเส้นใยนิวเคลียสคู่กับเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยว

Main Article Content

ศิริพร เดชะอูป
วิเชียร ภู่สว่าง

บทคัดย่อ

ได้มีการศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดหอมโดยวิธีการผสมข้ามแบบไดมอน ระยะการเติบโตของดอกเห็ดหอมที่เหมาะสมสำหรับเก็บสปอร์ คือ ดอกที่เติบโตและบานเต็มที่แล้ว พันธุ์ที่ใช้เป็นเส้นใยนิวเคลียสคู่ คือ L1 ซึ่งเป็นพันธุ์ฤดูฝน และ L2 ซึ่งเป็นพันธุ์ฤดูหนาว ส่วนพวกเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวที่ใช้นั้น เพาะจากสปอร์สายพันธุ์ทั้งสอง ได้มีการผสมพันธุ์แบบไดมอนทั้งหมด 104 คู่ผสมได้ลูกผสม 28 ตัว มีลูกผสมเพียงสี่ตัวที่ไม่สามารถ เกิดดอกเห็ดบนอาหารวุ้นในหลอดทดลองได้ แต่ทั้งหมดสามารถเกิดดอกเห็ดได้ในถุงเพาะขี้เลื่อย      มีลูกผสมไดมอนตัวหนึ่ง (H18) ซึ่งเป็นเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวที่เจริญเร็วมากและเส้นใยเดินเรียบที่ได้จาก L2 ผสมข้ามกับเส้นใยนิวเคลียสคู่ของ L1 ทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่าผลผลิตของ L2 หลังการตัดแต่งแล้ว 14.57% แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ลูกผสมไดมอนที่ให้ผลผลิตสูงเกือบทั้งหมดจะมีแถบของไอโซไซม์เอสเทอเรส 4, 5, และ 7 แถบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏธยา คำบุญรัตน์. 2540. การปรับปรุงพันธุ์เห็ดนางรมชนิดฟลอลิดาโดยการผสมพันธุ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่, 75 หน้า.
ธวัชชัย ฑีฆชุณหสเถียร. 2542. เทคโนโลยีกระตุ้นเห็ดหอมออกดอก. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 7 กรกฎาคม. 2542. หน้า 7.
ปัญญา โพธ์ฐิติรัตน์. 2537. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.กรุงเทพฯ. 421 หน้า. ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 170 หน้า.
วสันต์ เพชรรัตน์. 2536. การผลิตเห็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่. สงขลา, 226 หน้า.
Bahl, N. 1994. Handbook on Mushroom; 3rd ed. Chaman Enterprise. Delhi. India. pp 133.
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 1990. Technical guidelines
Kawai, G., H. Kobayashi, Y. Fukushima and K. Ohsaki. 1995. Liquid culture induces early fruiting in Shiitake (Lentinula edodes), P 825-832. In; Elliott T.J. (ed.). Proceeding of the 14th Cultivation of Edible Fungi, Oxford / 17-22 September 1995. Wellesbourne, UK.
Miles, P.G. 1996. Genetics and breeding of mushroom from Bensaude and Kniep to molecular genetics. P11-23. In; Royse, D.J. (ed) Mushroom Biology and Mushroom Products. Proceeding of the 2nd International Conference June 9-12, 1996. University Park, Pennsylvania.
Peberdy, J.F., A.M. Hanifah and J.H. Jia. 1993. New perspectives on the genetics of Pleurotus. P 55- 69. In; Chang, S.T, J.A. Buswell and S.W. Chiu.(eds). Mushroom Biology and Mushroom Products. Proceeding of the First International Conference.
Tokimoto, K.and A. Kawai. 1975. Nutrition Aspects on Fruit Body Development inReplacement Culture of Lentinula edodes (Berk) Sing. Rep. Tottori Mycol Inst (Jpn). 1, 61-68.
Tokimoto, K. and M. Komatsu. 1978. Biological nature of Lentinus edodes. P 445-456 In Chang, S.T. and W.A. Hayes The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press. New York.