ผลของโปแตสเซียมต่อคุณภาพของฝรั่ง

Main Article Content

นิภาพร สอนสุด
ตระกูล ตันสุวรรณ

บทคัดย่อ

ผลของโปแตสเซียมต่อคุณภาพของฝรั่งพันธุ์กลมสาลี่ ที่ปลูกในกระถางดินเผาขนาดความจุ 50 ลิตร ซึ่งใช้ทรายละเอียดเป็นวัสดุปลูก โดยมีการควบคุมระดับความเข้มข้นของโปแตสเซียม 4 ระดับคือ 600, 800, 1000 และ 1200 meq/1 ทุกกรรมวิธีรดสารละลายประมาณ 1-2 ลิตรให้กับต้นฝรั่งทุกวัน ทำการทดลองตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541 ถึงเดือนกรกฎาคม 2542 ณ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า โปแตสเซียมทั้ง 4 ระดับไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักแห้งในแต่ละส่วนของต้น แต่จะมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตด้านความกว้างของทรงพุ่ม และการเจริญเติบโตของผล ที่ระดับความเข้มข้น 1200 และ 1000 meq/l มีการเจริญเติบโตดังกล่าวมากกว่าที่โปแตสเซียมระดับความเข้มข้น 600 และ 800 meq/1 โปแตสเซียมระดับความเข้มข้น 1200 meq/l มีผลทำให้ฝรั่งมีน้ำหนักผล ขนาดผล ความหนาของเนื้อ ปริมาณกรดรวม (TA) และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) เฉลี่ยมากกว่าระดับโปแตสเซียมที่ 1000, 800 และ 600 meq/I แต่ไม่มีผลต่อความแน่นเนื้อและปริมาณวิตามินซีระดับความเข้มข้นของโปแตสเซียมมีผลต่อการสะสมปริมาณธาตุแมกนีเซียมในใบฝรั่ง โดยใบฝรั่งจะมีการสะสมธาตุแมกนีเซียมปริมาณมากในโปแตสเซียมระดับความเข้มข้นต่ำและจะมีการสะสมปริมาณน้อยลงเมื่อระดับความเข้มข้นของโปแตสเซียมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียมแคลเซียม ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บีในใบของทุกระดับความเข้มข้นไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดา ศรศรีวิชัย. 2524. สรีรวิทยาภาคการเจริญเติบโต. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 280 น.
จิรดา เลิศปริสัญญู. 2539. ผลของ GA3 ที่มีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของฝรั่งพันธุ์กลมสาลี่. เคหการเกษตร 20(12) : 169-170.
เฉลิมพล แซมเพชร. 2535. สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 188 น.
ธนัท ธัญญาภา. 2538. หลักการทำสวนไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 54 น.
ระเบียบ มาลากาญ. 2535. ฝรั่ง ผลผลิตต่อเนื่องทำเงินทั้งปี. เมืองเกษตร 5(57): 76-79.
วิจิตร วังใน. 2532. ทองมณเทียร ฝรั่งพันธุ์ใหม่. เคหการเกษตร 13(4): 52-55.
สถานีการเกษตรเขตชลประทาน. 2541. รายงานอุตุนิยมวิทยาเกษตรประจำปี พ.ศ. 2541. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่, เชียงใหม่. 1 น.
สถานีการเกษตรเขตชลประทาน. 2542. รายงานอุตุนิยมวิทยาเกษตรประจำปี พ.ศ. 2542. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่, เชียงใหม่. 1 น.
สมชาญ เลิศปั่นณะพงษ์. 2522. ผลิตภัณฑ์อาหารจากผลฝรั่ง. วิทยาสารกองพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 81 น.
สมศักดิ์ ใจรักปรางพุธ. 2541. ผลผลิตและคุณภาพของท้อในต่างพื้นที่. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 20 น.
สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2518. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 274 น.
สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2536. เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับการผลิตฝรั่ง. เคหการเกษตร 17(1): 22-25.
สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์, ทวีเกียรติ ยิ้มสวัสดิ์ และโสฬส จินดาประเสริฐ. 2535. ผลของระยะปลูกต่อการเจริญเติบโตและมวลชีวภาพของฝรั่ง. แก่นเกษตร 20(5): 249-252.
สิทธิพร สุขเกษม. 2536. อุตุนิยมวิทยาเกษตรเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยาและอนุรักษ์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 89 น.
Berry, J. A. and J. K. Raison. 1989. Responses of macrophytes to temperature. p. 277-338. In O.L. Lange, P.S. Nobel, C. B. Osmond and H.Ziegler (eds), Physiological Plant Ecology. Encyclopedia of Plant Physiology. Springer-Verlag, Berlin.
Camp, A. F., H. D. Chapman, G. M. Bahrt and E. P. Parher. 1941. Symptoms of malnutrition. p. 307- 365. In F.E. Bear (ed). Hunger Signs in crop., Amer. Soc. Agron and the Note. Fertilizer ASSOC, Washington, D. C.
Embleton, T. W, W. W. Jones and G. R. Platt 1975. Plant nutrition and citrus fruit crop quality and yield. HortScience 10 : 48-49.