ความผันแปรลักษณะทางไอโซไซม์ของมะม่วงแก้วสายต้นคัด

Main Article Content

ปฐมา เดชะ
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ

บทคัดย่อ

การศึกษามะม่วงแก้วสายต้นคัดจำนวน 52 สายต้น จาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางชีวเคมีสำหรับการจำแนกกลุ่ม การศึกษารูปแบบไอโซไซม์โดยเทคนิคอิเล็กโทรโฟรีซิสจากใบแก่อายุ 7 เดือน ด้วยสารสกัด Tris-buffer 0.1 M, pH 8.2 ใช้ตัวกลาง โพลีอะคริลาไมด์เจล ความเข้มข้น 22 เปอร์เซ็นต์เหมาะสม สำหรับไอโซไซม์ acid phosphatase และ esterase ขณะที่ 7.5 เปอร์เซ็นต์สำหรับไอโซไซม์ peroxidase สามารถจำแนก สายต้นมะม่วงแก้วออกได้เป็น 10, 4 และ 15 กลุ่มตามลำดับ เมื่อนำไอโซไซม์ทั้ง 3 ชนิดมาร่วมวิเคราะห์ ทำให้สามารถ จำแนกมะม่วงแก้วทั้ง 52 สายต้น ออกได้เป็น 20 สายต้น และอีก 9 กลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2543. คู่มือพืชสวนเศรษฐกิจ. กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 314 น.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ. 2540. รายงานความก้าวหน้าของโครงการในรอบ 6 เดือนที่ 1 ระหว่าง 1 มีนาคม -31 สิงหาคม 2540. โครงการการคัดเลือกการพัฒนาและการขยายพันธุ์มะม่วงอุตสาหกรรมสายพันธุ์ดีที่ปรับตัวแล้วบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 32 น.
เปรมปรี ณ สงขลา. 2540. มะม่วงของเรา ณ วันนี้ และวันข้างหน้า. วารสารเคหการเกษตร 21 (6) : 46-50.
พิสสวรรณ เจียมสมบัติ. 2531. อิเลคโตรโฟรีซีส, น. 1-13. ในเอกสารประกอบการฝึกอบรมทางวิชาการเทคนิค ทางอิเลคโตรโฟรีซีสในการ จำแนกพันธุ์พืช. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
เพิ่มพงษ์ ศรีประเสริฐศักดิ์ สมนึก พรมแดง สุภาพร นทีวัฒนา และพิสสวรรณ เจียมสมบัติ. 2538. เปอร์ออกซิเดส ไอโซไซม์ในมะม่วง. น. 91-101. ในรายงานผลการวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. 2539. พ่อขุนฯ ต้นกำเนิด พันธุ์และเจ้าของมะม่วงสวนแรกของไทย. วารสารเคหการเกษตร 20(7): 46-52.
วิชาญ เอียดทอง. 2543. แหล่งพันธุกรรมของมะม่วงตอนที่ 1. วารสารเคหการเกษตร 24 (7): 81-89.
อาภัสสรา ชมิดท์. 2537. เทคนิคอิเล็กโทรโฟรีซิส. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 106 น.