ข้อสังเกตผลของการถอนไวตามินในอาหารต่อค่าภูมิคุ้มกันและสมรรถนะการผลิตในสุกรขุน

Main Article Content

รัตนา จิรารัตน์
จารึก เหลืองพฤกษชาติ
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์

บทคัดย่อ

ในการผลิตสุกรเพื่อเป็นการค้า การพยามยามลดต้นทุน โดยการปรับปรุงสูตรอาหารเป็นทางเลือกที่กระทำได้ง่าย จากการทดลองลดปริมาณไวตามินในสูตรอาหารสุกรขุนก่อนส่งตลาดเป็นช่วง ๆ เริ่มจากสุกรน้ำหนักแต่ละกลุ่ม (40 ตัว) เฉลี่ยที่ 60 กิโลกรัม แยกคอกเพศผู้ 20 ตัว เพศเมีย 20 ตัว เลี้ยงด้วย สูตรอาหารดังนี้ คือ สูตรอาหารปรกติ (T1) สูตรอาหารที่ถอนไวตามินออก 50% ของสูตรปรกติตั้งแต่ วันที่ 20-59 ของการทดลอง (T2) สูตรอาหารที่ถอนไวตามินออกทั้งหมดของสูตรปรกติตั้งแต่วันที่ 27-59 ของการทดลอง (T3) และสูตรอาหารที่ถอนไวตามินออกทั้งหมดของสูตรปรกติตั้งแต่วันที่ 33 ของการเลี้ยง (T4) โดยเลี้ยงประมาณ 59 วัน หรือน้ำหนักโดยเฉลี่ย 100 กิโลกรัม ในด้านภูมิคุ้มกัน ทำการเปรียบเทียบระหว่าง T1 กับ T2, T1 กับ T3 และ T1 กับ T4 โดยวัดจากค่าการตอบสนองต่อเม็ดเลือดแดงแกะ (Sheep Red Blood Cell, SRBC) โดยที่ T2, T3 และ T4 จะถูกกระตุ้นด้วย SRBC หลังจากกินอาหารนั้น ๆ ได้ 13, 6 และ 0 วัน ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดครั้งที่ 1 หลังการกระตุ้นได้ 7 วัน และครั้งที่ 2 และ 3 ห่างจากครั้งแรก 10 และ 20 วันตามลำดับพบว่าทุกการทดลองให้ผลค่าไตเตอร์ของการตอบสนองต่อ SRBC มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน แต่มีแนวโน้มว่า T2 จะให้ค่าไตเตอร์สูงกว่ากลุ่มควบคุม (T1) ในการวัดครั้งที่ 1 และ 2 คือ 45.00, 18.00 และ 29.50, 23.00 ตามลำดับและ T3 และ T4 พบว่าค่าไตเตอร์จากการวัดทั้ง 3 ครั้งมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังคงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมคือ T1: 18.00, 23.00 และ 44.00, T2: 45.00, 29.50 และ 38.50; T3: 14.85, 21.14 และ 34.28; T4: 18.28, 10.57 และ 24.57 ตาม ลำดับ สำหรับอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ของสุกรตั้งแต่เริ่มเลี้ยง-ส่งตลาดของ T1, T2, T3 และ T4 พบว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกันคือ 0.575, 0.564, 0.513 และ 0.564 กก./วัน ตามลำดับ แต่ T3 มีแนวโน้มต่ำกว่าเล็กน้อย และอัตราแลกเนื้อ (FCR) ของสุกรตั้งแต่เริ่มเลี้ยงส่งตลาดของ T1, 12, T3 และ T4 มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน คือ 3.812, 3,898, 4.289 และ 3.908 ตามลำดับ แต่ใน T3 มีแนวโน้มสูง กว่ากลุ่มอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Booth, A., M. Reid and T. Clark. 1987. Hypovitaminosis A in feedlot cattle. J Am. Vet Med. Assoc. 190 (10) : 1305-1308.
Brody, S. 1974. Biogenetics and Growth with Special Reference to the Efficiency Complex in Domestic Animals. HAFNER PRESS, A Division of Macmilla Publishing Co., Inc. 1023p.
Catty D. Antibodies Volume 1 APractical Appraoch. Department of Immunology, University of Birmingham Medical School, Vincent Drive, Birmingham B15 2TJ,UK.
McDonald, P., R.A. Edwards, J. F. D. Greenhalgh, and C.A. Morgan. 1995. Animal Nutrition. 5thed. Longman Singapore Pubplishers (Pte) Ltd. 607p.
Masse, P.G., J.P. Vuilleumier, and H. Weiser. 1991. Aspartate aminotranferase activity in experimen tally induced asymptomatic vitamin B 6 deficiency in chicks. Ann. Nutr. Metab 3: 25-33.
Onodera, K. and K. Kisara, 1978. Persistent erection in thiamin deficient rats. Nippon Yakurigaku Zasshi. 74 (5): 649-652. (Abstract).
Pond, 5vt W,G. Church and K.R. Pond. 1995. Basic Animal Nutrition and Feeding. 4th ed. John Wiley and Sons. New York. 615P.