คุณภาพทางกายภาพและเคมีของผลพลับที่ผ่านการกำจัดความฝาด

Main Article Content

พิทยา วงษ์ช้าง
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

          การศึกษาคุณภาพทางกายภาพและเคมีของผลพลับพันธุ์ Xichu (P2) ที่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้ว โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ตอน  ตอนที่ 1 เป็นการศึกษาคุณภาพทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมีของผลพลับหลังการกำจัดความฝาด โดยการรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระดับความเข้มข้น 80 เปอร์เซ็นต์ และไม่เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิห้อง (37 องศาเซลเซียส) นาน 10 วัน ผลปรากฏว่า พลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส มีความแน่นเนื้อและปริมาณวิตามินซีสูงสุดคือ 5.27 กิโลกรัม และ 7.53 มิลลิกรัม/100 กรัม ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าพลับที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ของพลับ ที่ไม่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง มีค่าสูงสุดคือ 18.77 องศาบริกซ์ ส่วนปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ของพลับที่ไม่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส มีค่าสูงสุดคือ 0.27 เปอร์เซ็นต์และปริมาณแทนนินของพลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิทั้งสองระดับมีค่าต่ำสุดคือ 1.00 คะแนน


          ตอนที่ 2 เป็นการศึกษาคุณภาพทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมีของผลพลับหลังการกำจัดความฝาดโดยใช้สภาพสูญญากาศและบรรยากาศปกติแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง (37 องศาเซลเซียส) นาน 15 วัน พบว่า พลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสมี ความแน่นเนื้อสูงสุดคือ 5.47 กิโลกรัม พลับที่ไม่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณกรดที่ไตเตรทได้สูงสุดคือ 20.23 องศาบริกซ์ และ 0.24 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าพลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิทั้งสองระดับ ส่วนพลับที่ไม่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส มีปริมาณวิตามินซีสูงสุดคือ 4.97 มิลลิกรัม/100 กรัม และปริมาณแทนนินของพลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องมีค่าต่ำสุด


            ตอนที่ 3 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของผลพลับที่ผ่านวิธีการกำจัดความฝาด โดยการรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยวิธี CTSD (control temperature short duration) และโดยสภาพสูญญากาศ เมื่อเก็บรักษานาน 28 วัน พบว่า พลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดโดยใช้สภาพสูญญากาศมีความแน่นเนื้อสูงสุดเท่ากับ 6.07 กิโลกรัม แต่ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้  ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และปริมาณวิตามินซีของพลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดโดยใช้วิธี CTSD มีค่าสูงกว่าการกำจัดความฝาดโดยใช้วิธีอื่นซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.60 องศาบริกซ์ 0.19 เปอร์เซ็นต์ และ 5.30 มิลลิกรัม/100 กรัม ตามลำดับ ส่วนปริมาณแทนนินของพลับที่ผ่านการกำจัดความฝาดโดยใช้สภาพสูญญากาศมีปริมาณสูงสุดคือ 0.08 กรัม/100 กรัม และค่า L ค่า a และค่า b มีค่าสูงสุดเมื่อกำจัดความฝาดพลับโดยใช้สภาพสุญญากาศ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 59.73 20.87 และ 54.98 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดนัย บุณยเกียรติ สุรศักดิ์ ชาญชำนิ และมาโนช ปราครุฑ. 2540. คุณภาพของผลพลับพันธุ์ Xichu ที่กำจัดความฝาดโดยสภาพสูญญากาศ. วารสารเกษตร. 13(2) 117-126.
ปวิณ ปุณศรี สุรนันต์ สุภัทรพันธุ์ โอฬาร ตัณฑวิรุฬห์ นพชัย ธำรงเลาหะพันธุ์ และสิริกุล วะสี. 2525. ไม้ผลสำหรับที่สูง (ชนิดผลัดใบ). งานเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 48 น.
มานิตย์ โฆษิตตระกูล. 2525. การขจัดความฝาดในผลพลับด้วยแก๊ส CO และการเก็บรักษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 47 น.
วิลาวัลย์ คำปวน สุระศักดิ์ ชาญชำนิ และดนัย บุณยเกียรติ. 2538. เอกสารการวิจัยเรื่องการยืดอายุการเก็บ รักษาและการขจัดความฝาดของผลพลับ. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 8 น.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 364 น.
สังคม เตชะวงค์เสถียร. 2532. ไม้ผลเขตหนาว. วิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.144 น.
สุรินทร์ นิลสำราญจิต. 2534. เอกสารคำสอนไม้ผลเขตหนาว. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 155 น.
Dey, P.M. and J.B. Harborne. 1989. Methods in Plant Biochemistry. Plant Phenolics. London Academic Press, London. 552 p.
Helrich, K. 1990. Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists. Acidity of fruit products, vitamin C (ascorbic acid) in vitamin preparations and juices. The Association of Official Analytical Chemists Inc. 15 th ed. Vol. 2. , Arlington. 1230 p.
Ito, S. 1986. “Persimmon.” (p. 355-370) In Monselise, S.P. (ed.) , Handbook of Fruit Set and Development., Florida: CRC press.
Kosiyachinda, S. , S. Ketsa ,V. Vangnai, N. Visarathanonth, S. Sangchote, M.Kosittrakul, S. Sukprakarn, S. Tansiriyakul, A. Jitnuyanont, C. Lertrittipong T. Pankasemsuk, S. Thuwachote. 1979. Final Report Research on Postharvest Handling of Highland Agriculture Commodities. October 1979-September 1984. Highland Agriculture Project. Kasetsart University, Bangkok. 180 p.
Pesis, E., A. Levi and R. Ben-Arie. 1986. Deastringency of persimmom fruits by creating a modified atmosphere in polyethylene bags. J. Food Sci. 51(4): 1014-1016.
Pesis, E., A. Levi and R. Ben-Arie. 1988. Role of acetaldehyde production in the removal of astringency from persimmon fruits under various modified atmospheres. J. Food Sci. 53(1): 153-156.
Pesis, E. and R. Ben-Arie. 1984. Involvement of acetaldehyde and ethanol accumulation during induced deastringency of persimmon fruits. J. Food Sci. 49: 896-899.